ChatGPT คืออะไรทำไมเราถึงควรต้องทำความรู้จัก

ChatGPT คืออะไรทำไมเราถึงควรต้องทำความรู้จัก
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เราอาจคุ้นเคยกับเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งก็คือความฉลาดของคอมพิวเตอร์กันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะคุ้นเคยผ่านระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่เราได้ใช้งานในปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าที่สั่งการได้ด้วยเสียง การคัดกรองคอนเทนต์ในโซเชียวมีเดียให้เหมาะสมกับความสนใจ หรือจะเป็นการพูดคุย สั่งการ Device ใกล้ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็น Siri ใน iPhone หรือ Google AI ที่ทำให้สามารถสื่อสารกับ device เหล่านี้ได้ ซึ่งนอกจากจะสามารถเข้าใจคำสั่งของเราได้แล้ว ในบางครั้งอุปกรณ์เหล่านี้ยังสามารถโต้ตอบกับเราได้ด้วย อย่างที่เราเห็นคนทำคลิปคุยกับ Siri เมื่อสมัยที่เทคโนโลยีนี้ออกสู่ตลาด เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกเรียกรวม ๆ ว่า ChatBot ซึ่งก่อนหน้าอาจยังไม่สามารถโต้ตอบได้เป็นธรรมชาติอย่างมนุษย์จริง ๆ เท่าไหร่นัก แต่นับจากว่าที่ ChatBot ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกจนถึงตอนนี้ โลกได้พบกับ ChatBot อัจฉริยะตัวใหม่ ที่จะสั่นสะเทือนวงการด้วยความฉลาดคล้ายมนุษย์เข้าไปทุกที เทคโนโลยีนี้คือ ChatGPT

ChatGPT คืออะไร ?

ChatGPT คือ อีกหนึ่ง AI ChatBot ที่เพิ่งเปิดตัวในโลกนี้หมาด ๆ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา หลายคนอาจงงว่าทำไมต้องตื่นเต้นกับ ChatGPT ทั้ง ๆ ที่ก็เป็นแค่อีก 1 ChatBot ที่ถูกประกาศเปิดตัว แต่ถ้าใครลองได้เล่น ChatGPT แล้วจะรู้เลยว่านี่ไม่ใช่โปรแกรม ChatBot ทั่วไป เพราะ ChatGPT มีความพิเศษตรงที่สามารถโต้ตอบได้อย่างเป็นความเป็นธรรมชาติเหมือนมนุษย์จริง ๆ มาก ! เรียกได้ว่าอาจเข้ามา disrupt ในหลาย ๆ อาชีพได้เลยหากถูกพัฒนาไปมากกว่านี้ และนี่เองเป็นสาเหตุที่ ChatGPT โด่งดังมาก และหลายคนต่างตื่นเต้นกับโปรแกรมนี้

ChatGPT มาจากไหน ?

ระบบ ChatGPT เป็น software ที่ได้รับการพัฒนาจากบริษัท OpenAI องค์กรที่พัฒนางานวิจัยเกี่ยวปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในเมือง San Francisco เมืองหลวงแห่งเทคโนโลยีแห่งอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ Elon Musk, Sam Altman อดีตประธานกรรมการ VC ชื่อดังอย่าง Y Combinator ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI และคนในวงการไอทีอื่น ๆ ที่ร่วมกันลงขันบริจาคก่อตั้งองค์กรนี้ด้วยทุนถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยโปรเจกต์ ChatGPT เกิดจากความตั้งใจของ OpenAI เองที่ต้องการจะนำระบบ AI มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับมนุษย์โดยรวมในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด

ซึ่ง ChatGPT ตัวที่เราได้ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบหนึ่งของ GPT-3.5 Language Generation Software ซึ่งเกิดจากการพัฒนาระบบบอตด้วยการฝึกจากข้อมูลในรูปแบบของ “ข้อความ” จำนวนมหาศาล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Machine Learning ระบบจะถูกฝึกจนสามารถจดจำรูปแบบการเขียนข้อความ จนสามารถพัฒนาคำตอบที่เป็นรูปแบบของตัวเองในลักษณะเป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับการโต้ตอบแบบมนุษย์มากที่สุด ซึ่งแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ฝึกระบบ ChatGPT นั้น ทาง OpenAI ไม่ได้เปิดเผยออกมาอย่างแน่ชัด บอกแต่เพียงว่าใช้ข้อมูลที่เก็บมาจากหนังสือและ Wikipedia เท่านั้น

ทำไมต้องทำความรู้จัก ChatGPT ?

ที่ผ่านมาเราอาจมีความคิดว่า มีเพียงบ้างอาชีพเท่านั้นที่จะถูกแย่งงานโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนให้มักเป็นอาชีพสายแรงงานที่ต้องใช้แรงเป็นหลัก แต่กับอาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ความรู้สึกเช่นมนุษย์จริง ๆ ดูจะเป็นไปได้ยากที่จะถูกคอมพิวเตอร์แย่งงาน ซึ่งอาชีพเหล่านั้นก็อย่างเช่น นักเขียน นักโฆษณา Copywriter หรือแม้แต่ Programmer ที่เขียนโค้ด แต่ความเชื่อนี้อาจถูกลบล้างด้วยการมาของ ChatGPT เพราะความฉลาดของระบบนี้ ทำให้ ChatGPT สามารถช่วยเขียนโปรแกรมเบื้องต้นได้ แต่งกลอน เขียนอีเมล จดหมายตอบกลับ และเขียนบทความได้ หรือจะเป็นงานวิชาการ ChatGPT ก็สามารถเขียนออกมาได้ ซึ่งอาจจะเขียนข้อมูลได้อย่างถูกต้องมากกว่ามนุษย์จริง ๆ ด้วยซ้ำ เพราะมีถูกฝึกจากฐานข้อมูลจำนวนมหาศาล และคุณสมบัตืที่ทำให้ ChatGPT น่าตื่นตาตื่นใจก็คือ ความสามารถในการตอบกลับและการใช้ภาษาที่เหมือนมนุษย์ใช้การในชีวิตจริง ตัวอย่างจาก www.openai.com เช่น

User:

Tell me about when Christopher Columbus came to the US in 2015

ChatGPT:

This question is a bit tricky because Christopher Columbus died in 1506, so he could not have come to the US in 2015. But let’s pretend for a moment that he did!

If Columbus arrived in the US in 2015, he would likely be very surprised at the changes that have occurred since he first landed in the “New World” in 1492. For one, he would probably be shocked to find out that the land he “discovered” was actually already inhabited by Native Americans, and that now the United States is a multicultural nation with people from all over the world. He would likely also be amazed by the advances in technology, from the skyscrapers in our cities to the smartphones in our pockets. Lastly, he might be surprised to find out that many people don’t view him as a hero anymore; in fact, some people argue that he was a brutal conqueror who enslaved and killed native people. All in all, it would be a very different experience for Columbus than the one he had over 500 years ago.

จะเห็นได้ว่าวิธีการตอบคำถามของ ChatGPT ไม่ได้เป็นการจับเพียง Keyword บางคำแล้วนำมาตอบคำถามด้วยภาษาทื่อ ๆ แบบ ChatBot ทั่วไป แต่ ChatGPT มีการทบทวนคำถามที่มีความซับซ้อน สามารถวิเคราะห์คำตอบที่ถูกต้อง และที่สำคัญใช้ภาษาได้ทั้งสละสลวยใกล้เคียงกับมนุษย์จริง ๆ แบบที่แยกออกได้ยาก

นอกจากนี้ใน www.openai.com ยังมีการนำตัวอย่างการแก้โค้ดที่มีความผิดพลาดโดย ChatGPT มาให้ดูด้วย

User:

this code is not working like i expect — how do i fix it?

resultWorkerErr := make(chan error)
defer close(resultWorkerErr)
go func() {
defer cancel()
resultWorkerErr <- b.resultWorker(ctx)
}()

err := b.worker(ctx)
cancel()
if err == nil {
return <-resultWorkerErr
}
return multierror.Append(err, <-resultWorkerErr)

ChatGPT:

It’s difficult to say what’s wrong with the code without more context. Can you provide more information about what the code is supposed to do and what isn’t working as expected? Also, is this the entire code or just a part of it?

User:

just part of it — the error never surfaces. I think there is something wrong with the channel

ChatGPT:

It’s difficult to say without more information about what the code is supposed to do and what’s happening when it’s executed. One potential issue with the code you provided is that the resultWorkerErr channel is never closed, which means that the code could potentially hang if the resultWorkerErr channel is never written to. This could happen if b.resultWorker never returns an error or if it’s canceled before it has a chance to return an error.

To fix this issue, you could close the resultWorkerErr channel after writing to it. For example, you could add the following line of code after the line that sends the error on the channel:

close(resultworkerErr)

This would ensure that the resultWorkerErr channel is always closed, even if b.resultWorker never returns an error. Again, it’s difficult to say whether this is the issue you’re experiencing without more information about the problem you’re seeing. Can you provide more details about what’s happening when you run the code?

จะเห็นได้ว่า ChatGPT มีการคิดวิเคราะห์พร้อมทั้งถามข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อได้รับข้อมูลไม่เพียงพอที่จะตอบคำถาม ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจเข้ามาแทนที่ในหลาย ๆ อาชีพ เช่น โปรแกรมเมอร์ นักเขียนบทความ Customer Service เป็นต้น

แม้ว่าตอนนี้ ChatGPT จะมีความฉลาดมากกว่า ChatBot ทั่วไปอยู่มาก แต่ก็ยังมีจุดอ่อนหลายอย่างที่ต้องได้รับการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากแหล่งที่มาข้อมูลยังไม่เสถียรและยังมีการรวบรวมความคิดเห็นและการโต้ตอบของผู้ใช้งานในตอนนี้ในการฝึกความฉลาดของ AI ในระบบ ที่ทาง OpenAI เปิดให้ใช้งานโปรแกรมนี้ฟรี ทำให้การคัดกรองข้อมูลที่ถูกต้องเป็นความจริงเชื่อถือได้เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนในเรื่องของการใช้คำฟุ่มเฟือยเกินไป และการตอบคำถามง่าย ๆ ในทันทีไม่ได้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการฝึก AI ของ ChatGPT ให้ตอบคำถามอย่างระมัดระวังมากเกินไป

อย่างไรก็ดีเราก็ไม่ควรที่จะประมาทความสามารถของ AI เป็นอันขาด มนุษย์เช่นเราก็ต้องรู้จักปรับตัวให้ทันกับการมาของ AI รู้จัก upskill reskill ตัวเองอยู่เสมอ และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นแรงงานทักษะสูง เรียนรู้ที่จะอยู่เหนือ AI เพื่อจะได้ไม่โดน disrupt และสามารถที่จะมีงานมีอาชีพต่อไปได้ในโลกที่หุ่นยนต์ฉลาดเหมือนคนใม่ได้มีแค่เพียงในหนัง Sci-Fi อีกต่อไป

More from this category: งานแรก

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด