Key Takeaway
สำหรับลูกจ้างที่ทำงานโดยไม่มีสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษร การทราบสิทธิ์และแนวทางการจัดการเมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนเพราะไม่มีสัญญา เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถปกป้องสิทธิของตนเองและเรียกร้องค่าตอบแทนที่ควรได้รับตามกฎหมายแรงงานได้อย่างเหมาะสม
โดยบทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้าง วิธีการรวบรวมหลักฐานเพื่อยืนยันการทำงาน และแนวทางดำเนินการเมื่อนายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง เพื่อเรียกร้องค่าจ้างที่ค้างชำระได้อย่างเป็นธรรมมากที่สุด
สถานการณ์ที่ไม่มีสัญญาจ้าง คือการที่ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างโดยไม่มีการเซ็นหนังสือสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการจ้างงานอาจเกิดจากการตกลงด้วยปากเปล่าเพียงอย่างเดียว โดยมักพบได้บ่อยในงานที่ไม่เป็นทางการ เช่น งานพาร์ตไทม์ ฟรีแลนซ์ หรือธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีระบบเอกสาร มีเพียงข้อตกลงบางส่วนผ่านวาจา แชต หรืออีเมล ทำให้ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง วันจ่ายเงิน หรือสวัสดิการพื้นฐานที่ควรได้รับ
แม้ลูกจ้างจะไม่มีสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษร แต่กฎหมายแรงงานไทยยังคงคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในด้านสวัสดิการ การลา และการได้รับค่าจ้าง ดังนี้
กฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการและการลาต่างๆ ดังนี้
กฎหมายแรงงานได้กำหนดสิทธิ์ค่าจ้างและค่าตอบแทน เพื่อให้ลูกจ้างได้รับความเป็นธรรมในการจ้างงานไว้ ดังนี้
หากนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนตามที่ตกลง ลูกจ้างมีสิทธิ์เรียกร้องค่าจ้างที่ค้างชำระได้แม้ไม่มีสัญญาจ้าง ดังวิธีต่อไปนี้
เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่นายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนตามตกลง นายจ้างจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของจำนวนเงินค่าจ้างที่ค้างชำระนับจากวันที่ค่าจ้างถึงกำหนดจ่ายจนกว่าจะจ่ายครบถ้วน นอกจากนี้ หากนายจ้างเจตนาไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร อาจเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งโทษของนายจ้างที่ไม่จ่ายค่าจ้าง มีดังนี้
ทั้งนี้ หากนายจ้างยังคงเพิกเฉย ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือดำเนินคดีผ่านศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ของตนเองตามกฎหมายได้
เมื่อไม่มีสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรอาจมีความเสี่ยงที่นายจ้างจะไม่ชำระเงินค่าจ้างได้ หากเกิดปัญหาดังกล่าวลูกจ้างสามารถเรียกร้องค่าจ้างที่ควรได้รับโดยดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน สิ่งแรกที่ควรทำคือการพูดคุยหรือเจรจาโดยตรง เพื่อหาทางแก้ไขก่อนดำเนินการทางกฎหมาย โดยควรใช้คำพูดที่สุภาพและสื่อความหมายออกมาอย่างชัดเจน เพื่อให้นายจ้างทราบเกี่ยวกับค่าจ้างที่ค้าง พร้อมระบุรายละเอียด เช่น จำนวนเงินและวันที่ควรได้รับค่าจ้าง จากนั้นให้ติดตามผลเป็นระยะ หากไม่ได้รับการตอบสนองควรพิจารณาดำเนินการในขั้นตอนถัดไป
หากนายจ้างยังไม่จ่ายเงินเดือนตามที่มีการเจรจา ให้รวบรวมหลักฐานที่สามารถยืนยันการทำงานและการติดต่อกับนายจ้าง เพื่อใช้เป็นข้อพิสูจน์หากต้องดำเนินการทางกฎหมาย เช่น
ทั้งนี้ ควรจัดเก็บหลักฐานในรูปแบบที่สามารถใช้ต่อสู้ทางกฎหมายได้ เช่น การพิมพ์เป็นสำเนาเอกสาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานแนบประกอบกับเอกสารการร้องเรียนหรือการดำเนินคดีทางกฎหมาย นอกจากนี้ควรสำรองข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล เช่น ภาพหน้าจอหรือไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันการสูญหายและสามารถนำไปใช้ได้เมื่อต้องการ
หากนายจ้างยังคงเพิกเฉยและไม่จ่ายเงินเดือน ลูกจ้างสามารถใช้ช่องทางทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเองได้ ดังนี้
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนเพราะไม่มีสัญญา ลูกจ้างควรมีการป้องกันล่วงหน้า โดยใช้แนวทางดังต่อไปนี้
ลูกจ้างสามารถตรวจสอบประวัตินายจ้างได้ผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) เพื่อเช็กสถานะการจดทะเบียนของบริษัท หรือค้นหารีวิวจากพนักงานเก่าบนแพลตฟอร์มจัดหางาน เช่น Jobsdb, JobThai หรือ Pantip เพื่อดูความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานและการจ่ายค่าจ้าง นอกจากนี้ ควรตรวจสอบข่าวหรือประวัติข้อพิพาททางกฎหมายของบริษัท เช่น คดีฟ้องร้องเกี่ยวกับค่าจ้างหรือปัญหาด้านแรงงาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงการถูกเอาเปรียบในอนาคต
หากนายจ้างไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อตกลงจ้างงาน ลูกจ้างควรขอให้นายจ้างจัดทำเอกสารสัญญาจ้าง โดยระบุรายละเอียดที่ชัดเจน เช่น อัตราค่าจ้าง วันจ่ายเงิน เงื่อนไขการทำงาน การเลิกจ้าง หรือค่าชดเชย ทั้งนี้ ควรตรวจสอบเงื่อนไขทั้งหมดอย่างรอบคอบก่อนลงนาม และขอสำเนาสัญญาเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานสำคัญในกรณีที่เกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าจ้างหรือเงื่อนไขการทำงาน และลดความเสี่ยงในการถูกนายจ้างเอาเปรียบในอนาคต
การสื่อสารที่ชัดเจน ทั้งในส่วนความต้องการของลูกจ้างและนายจ้าง จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจข้อตกลงและเงื่อนไขการจ้างงานตรงกัน โดยการตกลงเงื่อนไขต่างๆ ควรมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลและป้องกันนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนในอนาคต
การทำงานโดยไม่มีสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร อาจทำให้นายจ้างปฏิเสธความรับผิดชอบหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ้างงานได้ตามอำเภอใจ ดังนั้น ลูกจ้างควรร้องขอให้มีสัญญาจ้างที่ชัดเจน หรือเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเรียกร้องสิทธิ์ตามกฎหมายได้เมื่อจำเป็น
หากใครที่ต้องเผชิญกับปัญหาบริษัทไม่จ่ายเงินเดือนซ้ำๆ และต้องการลาออกจากงาน การมองหางานใหม่ที่มั่นคงรองรับและมีเงื่อนไขการจ้างงานที่ชัดเจนอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า โดยสามารถค้นหางานจากบริษัทที่น่าเชื่อถือได้ที่ Jobsdb แพลตฟอร์มหางานที่จะช่วยให้คุณพบโอกาสใหม่ที่เหมาะสม สวัสดิการดี และมั่นใจในความเป็นธรรมของนายจ้างได้