Key Takeaway
ในยุคที่เศรษฐกิจกำลังเจอกับความผันผวนและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินที่มีอยู่ จนจำนวนเงินมีมูลค่าลดลง ทำให้ผู้บริโภคจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่แพงขึ้น บmความนี้จะพามาทำความรู้จักว่าค่าครองชีพคืออะไร ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าครองชีพมีอะไรบ้าง และวิธีบริหารจัดการรายได้เพื่อให้พอเพียงกับค่าใช้จ่าย
ค่าครองชีพ (Cost of living) คือค่าใช้จ่ายพื้นฐานทั้งหมดต่อเดือนที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าอาหาร ค่าที่อยู่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ค่าครองชีพสูงหรือต่ำนั้นจะแตกต่างไปตามสถานที่ ความต้องการของผู้บริโภค สภาพเศรษฐกิจ รวมถึงค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับ หากมีรายได้ขั้นต่ำสูง ก็จะทำให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย แต่ถ้ามีรายได้ขั้นต่ำน้อย ก็อาจทำให้ต้องทำงานหลายงานเพื่อให้ได้ค่าแรงที่เพียงพอต่อค่าครองชีพ
สิ่งที่มีผลกระทบหลักๆ ต่อค่าครองชีพ จนทำให้ค่าครองชีพสูง ได้แก่
หากเปรียบเทียบค่าครองชีพหรือเงินเดือนของคนในกรุงเทพกับจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทยนั้น พบว่ากรุงเทพมีค่าครองชีพที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ เนื่องจากกรุงเทพเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ห้างสรรพสินค้ามากมายที่ให้บริการ ร้านอาหารตั้งแต่ราคาสูงจนถึงราคาประหยัด ราคาบ้าน คอนโด หรือราคาค่าเช่าย่านใจกลางเมืองที่สูงกว่าที่อื่นๆ
รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ต่างจากจังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ใช่จังหวัดท่องเที่ยว มักจะมีค่าครองชีพหรือเงินเดือนที่ต่ำกว่า เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่มีค่าใช้จ่ายที่น้อยลงตามไปด้วย
รวม 10 จังหวัดที่มีค่าครองชีพหรือเงินเดือนสูงสุดในประเทศไทย (ไม่รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
รวม 10 จังหวัดที่มีค่าครองชีพหรือเงินเดือนต่ำสุดในประเทศไทย (ไม่รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
เงินค่าครองชีพของพนักงาน คือเงินที่องค์กรให้พนักงานเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน โดยสามารถแบ่งประเภทของเงินค่าครองชีพได้เป็น 2 อย่าง คือ
การให้เงินค่าครองชีพแยกจากเงินเดือน เป็นแนวทางที่หลายบริษัทเลือกใช้เพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ของพนักงาน ให้สามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ ทำได้โดยกำหนดการจ่ายเงินให้กับพนักงานในรูปแบบเงินค่าครองชีพเพิ่มเติมในแต่ละเดือน ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าโทรศัพท์ และค่าน้ำมันรถ เป็นต้น
การให้เงินค่าครองชีพเป็นกรณีพิเศษ คือการมอบเงินค่าครองชีพเพิ่มเติมหรือสวัสดิการให้กับพนักงานในกรณีพิเศษ หรือกรณีเฉพาะที่บริษัทต้องการให้ความช่วยเหลือพนักงานเป็นครั้งคราว เช่น การเกิดโรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การทำงานช่วงวันหยุดเทศกาล ทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง และการทำงานช่วงเวลาเร่งด่วน เป็นต้น
ไม่ว่าจะมีเงินเดือนมั่นคงหรือไม่มั่นคง เช่น เงินเดือนข้าราชการ เงินเดือนพนักงานบริษัท หรือเงินเดือนจากอาชีพอิสระ เราก็สามารถจัดการรายได้และวางแผนปรับตัว เพื่อรับมือค่าครองชีพที่สูงขึ้นในทุกปีๆ เช่น
ถึงแม้ว่าจะมีรายได้หรือเงินเดือนมากแค่ไหน แต่ถ้าขาดวินัยในการออมเงินก็จะทำให้เงินที่มีอยู่หมดลงได้ จึงควรออมเงินให้เป็นนิสัยและสร้างวินัยในการเก็บเงิน โดยการตั้งเป้าหมายการออมต่อเดือนหรือหักเงินเดือนอัตโนมัติก็จะช่วยให้มีเงินสำรองในการใช้จ่ายที่มากขึ้น และสามารถรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในอนาคตได้
เมื่อเงินเดือนออกหรือมีรายได้เสริมเข้ามา หลายคนก็มักใช้จ่ายไปกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะค่าครองชีพที่สูงขึ้นในทุกๆ ปีจนทำให้ไม่มีเงินเหลือเก็บ การวางแผนทางการเงินช่วยให้ใช้จ่ายอย่างมีระเบียบมากขึ้น โดยกำหนดได้ว่าในแต่ละเดือนควรใช้จ่ายกับสิ่งของจำเป็นแบบไหนบ้าง และควรหลีกเลี่ยงของฟุ่มเฟือยอะไรบ้าง เพื่อให้คุณสามารถเก็บเงินได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ
การซื้อของที่ได้มาตรฐาน มีความทนทาน มีการรับรองคุณภาพและการรับประกันจากผู้ผลิต จะช่วยให้มั่นใจว่าสินค้าชนิดนั้นๆ จะได้ใช้งานได้ยาวนาน หากเกิดปัญหาระหว่างใช้งาน ก็จะได้รับการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าได้ทันที โดยที่ไม่ต้องเสียเงินซ่อมหรือเสียเงินซื้อใหม่บ่อยๆ ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ทำให้มีเงินเก็บและสามารถรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้มั่นคง
เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้สามารถรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ ด้วยการลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็น เช่น งดการซื้อของที่ไม่ค่อยได้ใช้ หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรทานอาหารนอกบ้านบ่อยๆ รวมถึงยกเลิกการสมัครสมาชิกที่ไม่ได้ใช้บริการ ซึ่งการลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ทำให้มีเงินเก็บเพียงพอสำหรับอนาคตอีกด้วย
หลายครั้งที่คนเรามักยอมใช้จ่ายไปกับค่าครองชีพ อย่างสินค้าหรือบริการที่แพงขึ้น เพื่อให้ได้ของที่มีคุณภาพ แต่การเลือกสิ่งของราคาแพงก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะการเลือกสินค้าหรือบริการในราคาที่เหมาะสม ก็สามารถทำให้ได้ของที่มีคุณภาพเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเลือกซื้อใช่ช่วงลดราคา จัดโปรโมชัน ก็ทำให้ได้สินค้าในราคาคุ้มค่าโดยไม่ต้องจ่ายแพงเกินไป
นอกจากจะจัดการรายได้ที่มีอยู่เพื่อให้สามารถปรับตัวกับค่าครองชีพสูงแล้ว เรายังสามารถเพิ่มสกิลหรือพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำงาน และทำอาชีพพิเศษอื่นๆ นอกจากงานประจำ อย่างรายได้เสริมจากงานออนไลน์ได้ เช่น การขายของออนไลน์ หรือการทำฟรีแลนซ์ เพื่อเพิ่มโอกาสหารายได้เสริม และนำเงินที่ได้ไปลงทุนเพื่อสร้างรายได้จากPassive Income ได้อีกทางหนึ่งด้วย
ค่าครองชีพ คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวัน โดยปัจจัยที่ทำให้แต่ละพื้นที่มีค่าครองชีพสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ส่งผลต่อสินค้าและบริการในพื้นที่นั้นๆ การจัดการกับค่าใช้จ่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรวางแผนและจัดการเงินเดือนในแต่ละเดือนอย่างมีระเบียบ ทั้งการเก็บออม งดซื้อของที่ฟุ่มเฟือยหรือของที่ไม่จำเป็น จัดการค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจากการสมัครสมาชิกต่างๆ รวมถึงหากมีเวลาว่างจากงานประจำ การหารายได้เสริมจากการทำงานอื่นๆ ก็ช่วยให้สามารถรับมือกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงมากขึ้นได้
หากคุณกำลังมองหางานที่รายได้สูงและมีความมั่นคง ก็อย่าลืมมาหางานที่ Jobsdb มีทั้งงานประจำ งานออนไลน์ และอาชีพเสริมต่างๆ ที่ตรงกับทักษะ ความสามารถ และความต้องการของคุณได้ง่ายๆ