เมื่อเอ่ยถึง “เศรษฐศาสตร์” หลายคนจะนึกไปถึงเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งตามหลักแล้ว “เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด” (เรย์มอนด์ บารร์) ปัจจุบันในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาลและเอกชนที่เปิดสอนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ โดยส่วนใหญ่การเรียนการสอน จะเน้นศึกษาเศรษฐกิจมหภาค จุลภาค การเงิน การลงทุน การบริหารจัดการการลงทุน โดยเน้นที่การคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ และสำหรับบัณฑิตจบใหม่ที่เพิ่งเรียน จบเศรษฐศาสตร์ มาหมาด ๆ อาจยังสงสัยว่า เรียนจบมาแล้วสามารถทำงานตำแหน่งใดได้บ้าง ควรเริ่มสมัครงาน- หางาน อย่างไร วันนี้ JobsDB มีคำตอบมาฝากกัน
จบเศรษฐศาสตร์ สามารถทำงานในสายงานใดได้บ้าง?
แน่นอนว่าเมื่อเอ่ยถึงคณะเศรษฐศาสตร์ หลายคนจะมองว่าเมื่อเรียนจบไปแล้วก็ต้องไปทำ งานธนาคาร งานการเงิน หรือ งานการลงทุน อย่างแน่นอน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ที่เรียนจบเศรษฐศาสตร์มานั้น สามารถทำงานได้หลากหลายมากกว่านั้น ดังนี้
งานที่เกี่ยวกับการศึกษา
สำหรับคนที่จบจากคณะเศรษฐศาสตร์แล้วต้องการทำงานในสายการศึกษา สามารถเป็นอาจารย์ในสาขาเศรษฐศาสตร์ได้ หรือทำงานเป็นนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ อาจจะทำงานนักวิเคราะห์ หรือนักวิจัยเศรษฐกิจซึ่งถือเป็นงานที่มีความท้าทาย แต่ก็ต้องมีความรู้ในเรื่องทฤษฎีที่ค่อนข้างแน่นพอสมควร
งานตามสาขาที่เรียนมา ซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ซึ่งหากผู้ที่จบมามีความสามารถทางภาษาที่ดีในระดับสื่อสารด้วยจะถือว่าได้เปรียบมาก เพราะสามารถทำงานประสานงานระหว่างประเทศ หรือสามารถสมัครงานเป็น นักวิเคราะห์สินเชื่อ ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักลงทุน นายธนาคาร เจ้าหน้าที่บริหารกองทุน หรือ ที่ปรึกษาด้านการเงิน
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ซึ่งเน้นไปที่การมองภาพเศรษฐกิจในมุมกว้าง สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจได้ อาชีพที่สามารถสมัครงานได้ได้แก่ ผู้จัดซื้อ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทหรือหน่วยงาน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ ( งานอนุมัติสินเชื่อ ) นักวิเคราะห์ตลาด นักวางแผนการตลาด
เห็นไหมคะ เรียนเศรษฐศาสตร์จบมาแล้วมีงานรองรับมากมาย นอกจากงานข้างต้นแล้วยังมีงานอื่น ๆ ที่สาขาเศรษฐศาสตร์สามารถทำได้อีก เนื่องจากสาขาเศรษฐศาสตร์นั้นมีการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ดังนั้นหากผู้ที่เรียนจบคณะนี้แต่ไม่อยากทำงานที่เกี่ยวกับการลงทุนก็สามารถทำงานในสายที่เน้นการวิเคราะห์ (Analysis) ได้เช่นกัน
สิ่งสำคัญคือ ผู้ที่จบเศรษฐศาสตร์มาสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตนเองได้ว่า มีความชอบหรือสนใจในงานลักษณะไหน เช่น ชอบคิดวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีต่าง ๆ ชอบวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินในแต่ละวัน หรือว่าชอบการทำงานโปรเจ็กต์ใหญ่ ๆ ที่ต้องบริการทั้งต้นทุน เวลา และกำลังคนซึ่งถ้าคุณสามารถตอบตัวเองได้ว่ามีความชอบแบบไหนจะเป็นตัวช่วยให้การมองหางานที่ใช่อาชีพที่ชอบได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
http://th.jobsdb.com/th-th/articles/เด็กจบใหม่ว่างงาน
http://th.jobsdb.com/th-th/articles/10-สิ่งที่ไม่เคยมีใครบอก