4 วิธีการรับมือเมื่อต้องตกงานแบบไม่ทันตั้งตัว

4 วิธีการรับมือเมื่อต้องตกงานแบบไม่ทันตั้งตัว
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

นับว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงที่ทำให้โรงงาน รวมไปถึงบริษัทต่างๆ ทยอยปลดคนและปิดตัวจำนวนมาก เคราะห์ซ้ำยังต้องเจอการระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโรค Covid-19อีก เมื่อต้องรับมือกับศึก 2 ทางและยังไม่มีนโยบายของภาครัฐมารองรับปัญหาตรงนี้ การลดต้นทุนที่ง่ายที่สุดของผู้ประกอบการก็คือ ‘การปลดคน’

อย่างไรก็ตามเมื่อบริษัทปลดคนทำงานออกมาจำนวนมาก ย่อมเกิดปัญหาว่างงานตามมา ซึ่งการตกงานกะทันหันแบบนี้ย่อมสร้างความตระหนกและความเครียดให้กับพนักงานที่ถูกปลดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้เราก็มาหาวิธีการรับมือกับการตกงานแบบไม่ทันตั้งตัวดีกว่า

วิธีการรับมือกับการตกงานแบบไม่ทันตั้งตัว

  1. ตั้งสติ

หลังจากที่ได้รับแจ้งจาก ฝ่ายบุคคล ว่าจะได้รับซองขาวหลายคนก็ตกใจไม่น้อย อันดับต้องตั้งสติเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้า เพราะเมื่อได้รับซองขาวก็คงไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงความจริงที่ต้องออกจากงานไม่ได้ ดังนั้นหายใจเข้าลึกๆ เรียกสติก่อนจัดการตัวเองต่อไป

  1. ดูรายละเอียดการได้รับ เงินชดเชย จากบริษัท

อย่างที่บอกว่าต้องตั้งสติให้ดี โดยเฉพาะในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะถ้าถูกเลิกจ้างลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากบริษัทตามสัญญาได้ ตรงนี้ต้องดูรายละเอียดให้ดีเพราะมีรายละเอียดตามข้อกฎหมายที่นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คือ

- ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี: จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือ 1 เดือน

- ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี: จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 หรือ 3 เดือน

- ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี: จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือน

- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี: จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้าย 240 วัน หรือ 8 เดือน

- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี: จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้าย 300 วัน หรือ 10 เดือน

- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป: จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400

วัน หรือประมาณ 13 เดือน

หากเราไม่รู้ข้อกฎหมายตรงนี้บริษัทอาจใช้วิธีการให้ลูกจ้างเซ็นลาออกแทนการเชิญออก เพราะบริษัทจะไม่ต้องเสียค่าชดเชยรายได้ตรงนี้

  1. เงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินประกันสังคม

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินทุนก้อนใหญ่พอสมควรที่จะมาใช้รองรับการใช้ชีวิตช่วงหลังตกงาน หากบริษัทที่ทำอยู่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ตอนเป็นพนักงานเมื่อออกจากบริษัทแล้วก็จะได้เงินตรงนี้มาใช้เป็นเงินฉุกเฉินชั่วคราวได้ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของเงินประกันสังคมที่เมื่อออกจากงานแล้วต้องไปขึ้นทะเบียนคนว่างงาน เพื่อรับเงินชดเชยรายได้เป็นเงิน 30% ของเงินเดือน ซึ่งหากถูกเชิญออกจากงานก็จะได้รับเงินชดเชยต่อเนื่องถึง 6 เดือนเลยทีเดียว

  1. หางานใหม่

เมื่อทำเรื่องในส่วนของเงินชดเชยที่ควรจะได้รับเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเดินหน้าหางานใหม่ต่อไป ระหว่างที่รอการตอบกลับจากบริษัท อาจลงเรียนคอร์สเพิ่มเติมเพื่อ พัฒนาทักษะการทำงาน หรือลงเรียนคอร์สที่เป็นงานอดิเรกเพื่อว่าจะสามารถนำมาหารายได้ชั่วคราวระหว่างการว่างงานได้อีกด้วย

สิ่งสำคัญเมื่อต้องกลายเป็นคนตกงานแบบกะทันหันก็คือสติ ที่จะต้องวางแผนจัดการปัญหาที่อยู่ตรงหน้าให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เพราะไม่ใช่แค่การวางแผนอนาคตที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา ยังมีเรื่องของเอกสารการเงินที่ต้องจัดการให้เรียบร้อยตามสิทธิประโยชน์ที่เราควรจะได้รับอีกด้วย ฉะนั้นใครที่ตกงานอยู่อย่าเพิ่งเป็นกังวล และอย่าละทิ้งความหวังเพราะมันอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว ลองพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เปลี่ยนงานใหม่ สมัครงานใหม่ เพราะสุดท้ายแล้วผู้ประกอบการก็ยังต้องการบุคลากรมาเติมเต็มในองคกรของตัวเองอยู่เสมอ ไม่เชื่อก็ลอง สมัครงานผ่าน jobsDB ดู

#คว้าโอกาสที่ใช่ให้ชีวิตได้เรียนรู้
#jobsDB
ลงทะเบียนเพื่อสมัครงาน

หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

More from this category: สมัครงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สำรวจหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เลือกสิ่งที่สนใจเพื่อเรียกดูอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด