ความสำคัญของ ที่ปรึกษาทางการเงิน และทำอย่างไรจึงจะได้เป็นวาณิชธนากร

ความสำคัญของ ที่ปรึกษาทางการเงิน และทำอย่างไรจึงจะได้เป็นวาณิชธนากร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

วาณิชธนากร(Investment Banking Division หรือ Corporate Finance Division) หรือที่เรียกกันว่า IB โดยจะทำหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาทางการเงิน หลายคนคงคิดว่าถ้าหากจะทำอาชีพนี้ต้องมีประสบการณ์การทำงานมาไม่ต่ำกว่า 7 ปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพียงแค่มีประสบการณ์ 2 ปี และผ่านหลักสูตรทดสอบ FA License ก็สามารถทำหน้าที่วาณิชธนากรได้แล้ว

หน้าที่ของ ที่ปรึกษาทางการเงิน (วาณิชธนากร)คืออะไร?

วาณิชธนากร ทำหน้าที่เป็นผู้ระดมทุน และให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าในด้านการหาเงินทุนในตลาดทุน ซื้อขายหลักทรัพย์ บริหารควบรวม และซื้อขายกิจการ รวมถึงธุรกรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ อาทิ การทำรายงานวิจัย ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุน จัดอันดับความน่าเชื่อถือ ประเมินมูลค่ากิจการ หรือหุ้น ปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างทุน และปรับโครงสร้างการถือหุ้น

ลักษณะการทำงาน

วาณิชธนากรจะต้องรู้จักธุรกิจ และเข้าใจความต้องการของลูกค้าที่ให้คำปรึกษาได้เป็นอย่างดี เพื่อนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการบริหารทางการเงินที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด ตลอดจนเล็งเห็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการตัดสินใจของลูกค้าได้ รวมถึงต้องจัดทำรายงานต่างๆ เช่น หนังสือความคิดเห็น รายงานการประเมินมูลค่ากิจการ หนังสือชี้ชวนการลงทุน และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องอย่าง ที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย ที่ปรึกษาทางด้านการบัญชี ตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

คุณลักษณะที่ดีของวาณิชธนากร

- มีทักษะในการเขียน และการนำเสนอที่ดี

- มีความละเอียดรอบคอบ เข้าใจกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี

- มีความรู้ทางด้านการเงิน และการบัญชี สามารถวิเคราะห์งบการเงิน ประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ รวมถึงสามารถใช้เครื่องมือสร้างแบบจำลองทางการเงินได้

- มีจรรยาบรรณในการทำงาน และมีความอิสระในการแสดงความคิดเห็นเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้า ผู้ลงทุน และตลาดทุนโดยรวมอย่างเป็นธรรม

- มีความอดทนต่อสภาวะที่มี ความกดดัน ได้ดี

หลักสูตรอบรมที่ปรึกษาทางการเงิน

ภายในหลักสูตรจะมีการอบรมให้เข้าใจถึงหลักการ กฎระเบียบ และความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้สามารถนำหลักการ และความรู้มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงในกรณีศึกษาต่างๆ เช่น การออกและการเสนอขายหลักทรัพย์, การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ, จรรยาบรรณและความรู้ด้านต่างๆ ของที่ปรึกษาทางการเงิน, แนวทางการทำ Due diligence สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน, ความรู้ทางด้านการบัญชีสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน, ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์, การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี

สำหรับการเป็นวาณิชธนากร (IB)ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตในการทำงาน เพราะเมื่อทำงานกับบริษัทครบ 2 ปี ทางบริษัทจะเป็นผู้ส่งไปอบรม และสอบหลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงิน (FA License) เพื่อก้าวไปสู่การเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงิน (FA) ซึ่งคุณสมบัติของการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินก็เปิดกว้างให้กับนักศึกษาจบใหม่เป็นอย่างมาก โดยไม่จำกัดสาขาปริญญาตรีที่เรียนจบ แต่ระบุว่าต้องมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินไม่น้อยกว่า 2 ปี ฉะนั้นใครที่มีความรู้แต่จบไม่ตรงสายก็สามารถเลือกมาทำหน้าที่วาณิชธนากร(ที่ปรึกาษาทางการเงิน)ก่อนก้าวไปสู่ตำแหน่งที่ปรึกษาทางด้านการเงินได้ สถาบันวาณิชธนกิจชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ ทิสโก้ ภัทร ทหารไทย ไทยพาณิชย์ กรุงเทพ เป็นต้น

สมัครงานวาณิชธนากรหรือที่ปรึกษาทางการเงินกับบริษัทชั้นนำที่น่าสนใจได้ที่jobsDB

#เพราะสิ่งสำคัญในชีวิตไม่ได้มีแค่เรื่องงาน
#jobsDB

ลงทะเบียน

หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด