เรียนต่อสายอาชีพ ทางเลือกที่กำลังมาแรงสำหรับน้อง ๆ ที่จบม. 3 และกำลังตัดสินใจเส้นทางการเรียนต่อ เพราะนอกจากผู้จบการศึกษาจากการ เรียนต่อสายอาชีพ จะเป็นที่ต้องการของตลาดงานอย่างสูงแล้ว หลักสูตรสายอาชีพยังถูกออกแบบมาให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจริงและลงมือปฏิบัติจริง เพื่อมีประสบการณ์ทำงานจริง รวมไปถึงสาขาวิชาที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นสายตรงของอาชีพ สมชื่อสายอาชีพ และยังมีสาขาให้เลือกหลากหลาย ซึ่งแต่ละสาขาก็จะมีวิชาเรียนไม่เหมือนกัน เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้ผู้เรียน และเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของตลาดงานในยุคปัจจุบัน
มาทำความรู้จักสาขาของสายอาชีพกันดีกว่า ว่ามีสาขาอะไรให้เลือกเรียนบ้าง
- อุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเครื่องกล แบ่งออกเป็น สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร ตัวถังและสีรถยนต์
- สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง แบ่งออกเป็น สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
- สาขาวิชาโลหะการ แบ่งออกเป็น สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
- สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
- สาขาวิชาการพิมพ์ แบ่งออกเป็น สาขางานการพิมพ์
- สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์ แบ่งออกเป็น สาขางานแว่นตาและเลนส์
- สาขาวิชาการต่อเรือ แบ่งออกเป็น สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
- สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งออกเป็น สาขางานผลิตภัณฑ์ยา
อาชีพตอนเรียนจบ : งานด้านเครื่องกล เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง โลหะ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้าง สิ่งพิมพ์ แว่นตาและเลนส์ การต่อเรือ ผลิตภัณฑ์ยาง
- พาณิชยกรรม บริหารธุรกิจ
- สาขาวิชาพณิชยการ แบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
- สาขาวิชาธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด
อาชีพตอนเรียนจบ : งานการบัญชี การขาย เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก การประชาสัมพันธ์ งานจัดการ
- ศิลปกรรม
- สาขาวิชาศิลปกรรม แบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรม การพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตถกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ ดนตรีสากล เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ช่างทันตกรรม
อาชีพตอนเรียนจบ : งานวิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตกรรม เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรมการพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ เทคโนโลยีนิเทศศิลป์
- คหกรรม
- สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย แบ่งออกเป็น สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ แบ่งออกเป็น สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
- สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็น สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
- สาขาวิชาเสริมสวย แบ่งออกเป็น สาขางาน เสริมสวย
อาชีพตอนเรียนจบ : งานผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ เสริมสวย
- เกษตรกรรม
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง
อาชีพตอนเรียนจบ : งานด้านพืช – สัตว์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป
- ประมง
- สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
- สาขาวิชาประมงทะเล แบ่งออกเป็น สาขางาน ประมงทะเล
อาชีพตอนเรียนจบ : การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แปรรูป สัตว์น้ำ ประมงทะเล
- อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว
อาชีพตอนเรียนจบ : การโรงแรมและการท่องเที่ยว
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
- สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เคมีสิ่งทอ
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น สาขางานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
อาชีพตอนเรียนจบ : เทคโนโลยีสิ่งทอ เคมีสิ่งทอ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียง แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีระบบเสียง
อาชีพตอนเรียนจบ : เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีระบบเสียง
จุดเด่นของการเรียนสายอาชีพ
นอกจากจุดเด่นด้านความเฉพาะเจาะจงของวิชาเรียนที่เน้นให้ทำงานเป็นจริง ๆ ได้ใช้อุปกรณ์จริง อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ ที่ถ้าได้เรียนซ่อมคอม ก็จะได้แกะเครื่องคอมพิวเตอร์จริง ๆ หรือการเรียนเครื่องกล เครื่องจักรต่าง ๆ ก็จะได้จับเครื่องจักร เครื่องมือจริง ๆ ที่ใช้ทำงานด้วย เรียกได้ว่าในห้องเรียนมีอุปกรณ์เหมือนกับห้องทำงานจริง ๆ เลยก็ว่าได้ และยังรวมไปถึงความนิยมจากตลาดงานที่พร้อมอ้าแขนรับบุคลากรวิชาชีพที่มีทักษะเชี่ยวชาญจากการเรียนจบสายอาชีพมา
ระหว่างที่เรียนสายอาชีพอยู่ คุณยังมีโอกาสได้ทำงานจริง ๆ พร้อมกับได้มีรายได้จริง ๆ จากการทำงานพาร์ทไทม์ระหว่างเรียนไปด้วย และยังได้สร้างเสริมประสบการณ์ทำงาน ความรู้และทักษะความชำนาญ ไปพร้อม ๆ กับการเรียนที่เน้นการปฏิบัติจริงของสายอาชีพ เรียกได้ว่าให้โอกาสคุณได้มีประสบการณ์การใช้ชีวิตผ่านการทำงานจริงในระหว่างเรียน ฝึกความรับผิดชอบแบบผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้ว และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานจริงหลังเรียนจบให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย
เรื่องระยะเวลาของหลักสูตรก็เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจ เพราะถ้าเรียน ปวช. (หลักสูตร 3 ปี) ต่อ ปวส. ซึ่งเป็นหลักสูตร 2 ปี ก็จะทำให้คุณสามารถมีวุฒิออกมาหางานทำได้เร็วกว่าคนที่เรียนสายสามัญ 2 – 4 ปีเลย แต่ถ้าใครเปลี่ยนใจอยากได้วุฒิป.ตรีด้วย ก็สามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา เพราะสามารถเทียบโอนหลังจากจบ ปวส. เพื่อมาเรียนต่อหลักสูตรปริญญาตรีอีก 2 ปี ก็จะได้วุฒิ ป.ตรี เหมือนกับคนที่เรียนสายสามัญแล้ว
ถ้ารู้ความชอบของตัวเองชัดเจน รู้แล้วว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไรในอนาคต การเลือกเรียนสายอาชีพที่ใช่ ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยติดจรวดให้กับเส้นทางอาชีพของคุณได้เลย
สนใจหางานเฉพาะทาง งานสายอาชีพ งานที่ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญสูง งานโรงงาน มาค้นหางานกับเราได้ที่แอปพลิเคชัน JobsDB แอปหางานที่มีงานทุกตำแหน่งให้คุณได้เลือกสมัคร
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
คำถามสู่ความสำเร็จในอนาคต: เด็กรุ่นใหม่ เรียนสายอาชีพดีไหม ?
Checklists สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อน เลือกเรียนสายอาชีพ
เรียนต่อ ปวส. และ เรียนต่อปริญญาตรี ทางเลือกไหนที่ใช่สำหรับเรา