“เช้านี้ไม่อยากลุกขึ้นไปทำงาน ไม่อยากพบหน้าเพื่อนร่วมงาน ไม่อยากไปหาลูกค้า ไม่อยากรีพอร์ตงานกับหัวหน้า” ความรู้สึกเหล่านี้ ถ้าวนเวียนอยู่ในความคิดของคุณอยู่เรื่อย ๆ มาสักพัก ก็อาจไม่ใช่เพียงแค่อาการ หมดไฟในการทำงาน ที่เกิดจากการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย ไม่ได้พัก แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของอาการหมดใจในการทำงาน หรือ Brownout Syndrome ที่ได้รับการรับรองจาก WHO ว่าเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ และอาการนี้ส่งผลให้มีพนักงาน ลาออก จากงานมากถึง 40% (ข้อมูลจาก Corporate Balance Concepts)
นอกจากคนทำงานที่ต้องรู้จักโรค Brownout Syndrome แล้ว องค์กรเองก็ควรที่จะต้องทราบ เพราะอาการนี้กำลังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พนักงานเก่ง ๆ ตัดสินใจลาออกจากองค์กร ทำให้องค์กรต้องสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถไป ดังนั้นควรทราบถึงสาเหตุและหนทางแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไป
เช็กลิสต์อาการ Brownout
ก่อนอื่นมาเช็กอาการกันสักนิด ว่าคุณเข้าข่ายภาวะหมดใจ หมดพลัง ในการทำงานอยู่หรือเปล่า
- ความกระตือรือร้นในการทำงานลดลง
- ไม่อยากทำงานนอกเหนือเวลางาน เช่น ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานเสาร์ อาทิตย์ จากที่เมื่อก่อนเคยทำได้
- มีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอ ป่วยบ่อย ๆ ซึมลง ใส่ใจตัวเองน้อยลง
- ไม่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร
- ปลีกตัวจากสังคม เพื่อนร่วมงาน
- ขาดความสนใจในเรื่องทั่วไป ยกเว้นเรื่องงาน
- รู้สึกกดดันจากการทำงาน เหมือนองค์กรคอยเพ่งเล็ง จับผิด
สาเหตุ vs ทางแก้
เมื่อเช็กอาการแล้วว่าตัวคุณหรือพนักงานในองค์กรมีแนวโน้มจะเป็น Brownout Syndrome ก็ควรหาสาเหตุของโรค ว่ามาจากอะไรบ้าง และจะสามารถแก้ไขได้อย่างไร
สาเหตุ : องค์กรมีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากจนเกินไป
บางองค์กรมีกฎระเบียบที่จุกจิกยิบย่อยมาก จนทำให้พนักงานรู้สึกอึดอัด เช่น มาสาย 1 นาที หักเงินตั้งแต่ครั้งแรก หรือห้ามพนักงานพักเบรกนอกจากเวลาทานข้าว เป็นต้น
แก้ไข : ปรับกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่น
ยิ่งสถานการณ์โควิดแบบนี้ทำให้หลายองค์กรต้องให้พนักงาน Work from Home ฉะนั้นกฎระเบียบก็ควรปรับให้สอดคล้องกัน เช่น หากเข้างานสายเกิน 3 ครั้ง เรียกตักเตือนก่อน แล้วจึงค่อยหักเงินในครั้งต่อไป หรือควรมีพักเบรกระหว่างวัน 10 นาที เป็นต้น
สาเหตุ :ความไม่เท่าเทียมกันในการทำงาน
ไม่ว่าพนักงานจะทำงานดีแค่ไหน หรือทำงานแย่เพียงใด ก็จะได้รับผลตอบแทนเหมือน ๆ กัน เช่น การปรับขึ้นเงินเดือน และการปรับตำแหน่ง ทำให้พนักงานที่ทำงานดีหมดไฟ และหมดพลังลงได้ง่ายมาก คุณภาพงานก็จะค่อย ๆ ลดลงตามไปด้วย
แก้ไข : มีการประเมินผลการทำงานตามจริง
สิ่งที่จะช่วยให้องค์กรยังสามารถรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้ได้ก็คือ การประเมินผลงาน ตามจริง ตามผลการปฏิบัติงาน เช่น โบนัสพนักงานอาจได้เท่ากันทุกคน คนละ 1 เดือน แต่เมื่อถึงการประเมินปรับตำแหน่งและปรับขึ้นเงินเดือนให้ประเมินจากผลของการทำงาน เป็นต้น
สาเหตุ : ขาดความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร
การทำงานแบบหัวหน้าสั่งงาน ลูกน้องปฏิบัติตาม ขาดการแลกเปลี่ยนทางความคิด จะทำให้ขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไป พนักงานก็จะทำงานตามคำสั่ง ไม่มีการพัฒนาตัวเอง
แก้ไข : เพิ่มการสื่อสารระหว่างกันให้มากขึ้น
ปรับรูปแบบการทำงานให้มีการสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น เช่น หัวหน้างานมีการแชร์ไอเดียร่วมกับลูกน้องในทีมมากขึ้น เป็นต้น
สาเหตุ : องค์กรไม่มีทิศทางการทำงาน
หลายองค์กรไม่เคยมีการแจ้งนโยบายในแต่ละปีให้กับพนักงานได้ทราบ ทำให้พนักงานรู้สึกว่า แล้วจะทำงานไปเพื่ออะไรในแต่ละวัน
แก้ไข : กำหนด Goal ที่ชัดเจน
แต่ละปี หน้าที่ขององค์กรที่มีต่อพนักงาน คือ การกำหนดเป้าหมาย ว่าปีนี้จะไปในทิศทางใด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย
องค์กรควรให้ความสำคัญในการดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้ปัญหาสะสมจนกลายเป็นภาวะ Brownout Syndrome ขณะที่พนักงานเองก็ไม่ควรเก็บปัญหาเอาไว้กับตัวเอง ควรเริ่มจากปรึกษาหัวหน้างาน ปรึกษาฝ่ายบุคคล ไม่เก็บกดความรู้สึกเอาไว้คนเดียว แต่สุดท้าย หากไม่สามารถปรับใจกลับมาสู้ต่อได้ ก็อาจถึงเวลาต้องมองหาองค์กรใหม่ที่มีความยืดหยุ่น และมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน เริ่มต้นค้นหาองค์กรที่จะตอบโจทย์ชีวิตของคุณได้ที่ JobsDB
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
คอร์สเรียนออนไลน์ ที่เกิดจากการจับมือกันระหว่าง JobsDB และ FutureLearn ภายใต้ชื่อแคมเปญ "ยกระดับความรู้ ก้าวสู่งานที่ใช่" ให้คุณปลดล็อกศักยภาพ กับคอร์สฟรี!ที่จะอัพตัวคุณให้ก้าวล้ำนำใครในทุกเกมการแข่งขันกับเรา พันธมิตรด้านการหางานที่ดีที่สุดของคุณ และ FutureLearn ผู้ให้บริการคอร์สออนไลน์จากประเทศอังกฤษที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ไร้พรมแดนที่ดำเนินการมานานกว่า 9 ปี ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ทั้งด้าน Emerging Skills และ Transferrable Skills ที่สามารถนำไป reskill หรือ upskill ใช้ในชีวิตการทำงานปัจจุบันได้
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/3-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%88-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-burnout/