เชื่อว่าในแวดวงชาวออฟฟิศช่วงหลังมานี้ ต้องเคยได้ยินเรื่อง Work Life Balance ผ่านหูกันอยู่บ้าง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเทรนด์การทำงานมาแรงแห่งปี อย่างไรก็ตามถึงจะอยู่ในกระแสมาหลายปีแล้ว ทว่ายังเป็นสิ่งครองใจพนักงาน Gen ใหม่ได้อย่างดี ทั้งยังมีแนวโน้มความนิยมไปในทางบวกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนบางองค์กรนำเอาเทรนด์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในจุดขายของบริษัท เพื่อจูงใจ Candidate วัยหนุ่มสาวกันเลยทีเดียว
Work Life Balance เป็นอีกหนึ่งค่านิยมการทำงานแบบใหม่ โดยมีเป้าหมายชัดเจนเพื่อมุ่งเน้น “ความสมดุล” ระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต โดยไม่เชื่อว่าการทำงานหนักแบบถวายหัวคือสิ่งที่น่ายกย่องอีกต่อไป ในทางตรงกันข้าม การทำงานในรูปแบบ Work Life Balance เชื่อว่า การ Work ที่ดีจะนำมาซึ่ง Balance ที่ลงตัวให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง รวมถึงมีเวลาอยู่กับคนที่คุณรัก คือสิ่งสำคัญที่ควรให้คุณค่ามากกว่า
แน่นอนว่าการทำงานแบบมีสมดุลชีวิต “ความรับผิดชอบ” ยังคงเป็นหัวใจหลักสำหรับการทำงานเหมือนเดิม ในชั่วโมงทำงาน การ Work Hard ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่พอเลิกงานแล้วการ Play Hard หรือการมีเวลาให้กับสิ่งอื่น ๆ ที่เรารัก ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยกำจัดความเหนื่อยจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน ดังนั้น การที่พนักงานมี Work Life Balance ที่ดี ย่อมส่งผลถึงผลลัพธ์ทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากใจไม่แข็งแรง จะเอาแรงจากไหนไปสร้างสรรค์งานได้
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คนทำงานส่วนใหญ่เริ่มมองความสุขเป็นที่ตั้งสำคัญ ให้คุณค่ากับสิ่งที่รักมากขึ้น รวมถึงใช้เวลาไปกับสิ่งที่อยากทำ เพราะการที่คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ไม่ได้หมายความคุณประสบความสำเร็จในการในใช้ชีวิต หรือการันตีว่าสิ่งนั้นคือความสุขที่แท้จริงเสมอไป ลองจินตนาการดูว่า ขณะที่คุณก้าวเข้าเส้นชัยอย่างสง่างาม แต่จุดหมายนั้นกลับไม่มีใครยืนเคียงข้างสักคน ความสำเร็จที่เดียวดายจะมีความหมายอะไร หากปราศจากคนยินดีอยู่ข้างกาย
ทุก ๆ วันที่ผ่านไป อย่าลืมว่าเวลาคือต้นทุนสำคัญในชีวิตของคุณที่ไม่สามารถเรียกคืน หรือย้อนกลับไปแก้ไขได้ ดังนั้น การทำชีวิตให้มีสมดุลในทุกด้าน ให้เวลากับตัวเองและคนที่คุณรักบ้าง จึงเป็นเทรนด์ใหม่ที่ได้หัวใจคนในยุคนี้ ทำสิ่งต้องการในวันที่ยังมีโอกาส หรือที่ในภาษาอังกฤษพูดว่า You only have one life.
จริง ๆ แล้ว Work Life Balance ไม่ได้เป็นประโยชน์กับคนทำงานเพียงเท่านั้น ในมุมขององค์กรเอง อยากให้มองเรื่องนี้ให้กว้าง ทำความเข้าใจกับเทรนด์นี้อย่างถี่ถ้วน แล้วจะพบว่าการที่พนักงานมีบาลานซ์ชีวิตที่ดี ไม่ได้หมายความว่า ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลง ตรงกันข้าม ถ้าคนทำงานแฮปปี้ ทำด้วยสุขภาพกายที่ดี สุขภาพจิตที่สดใส งานย่อมออกมายอดเยี่ยมอยู่แล้ว การทำงานแบบทุ่มเทจน Workload เกินไป ผลลัพธ์ที่ได้บ่อยครั้งก็ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง
ประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำเสมอไป จริงอยู่บางงานที่มีรายละเอียดมาก เวลาเป็นปัจจัยสำคัญก็จริง แต่การรังสรรค์ชิ้นงานบางชิ้นโดยใช้เวลาที่มากเกินไป หรือล่วงเลยจนต้องเบิกโอที นั่นไม่ได้การันตีว่าสิ่งนั้นจะทำให้งานออกมามีคุณภาพแต่อย่างใด การที่พนักงานทำงานจนถึงดึกดื่น หรือทำหลังเวลางานเป็นสิ่งที่ดี เพราะหลังเวลางาน ทุกคนมีสิทธิ์ไปใช้ชีวิตส่วนตัวในด้านต่าง ๆ ที่อยากใช้
องค์กรเองต้องเข้าใจก่อนว่า ระยะเวลาไม่ได้เป็นตัวตัดสินเนื้องาน บางทีปัญหาอาจเป็นไปได้ว่า พนักงานคนนั้นบริหารเวลาไม่ดีเอง หรือระบบขององค์กรที่มีปัญหา ส่งผลให้ Flow งานไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ การวัดความทุ่มเทเรื่องงานจากระยะเวลาการทำงาน อาจจะไม่ใช่วิธีการวัดผลที่แฟร์สักเท่าไร ประสิทธิภาพและผลลัพธ์คือสิ่งสำคัญมากกว่า
การที่องค์กรมีสวัสดิการส่งเสริมการทำงานแบบ Work Life Balance ไม่ว่าจะเป็น การมีงบให้พนักงานเบิกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชอบ จะเกี่ยวกับงานหรือไม่เกี่ยวกับงานก็ได้ ก็เป็นหนึ่งในนโยบายที่ดี
ยกตัวอย่างเช่น งบสำหรับบัตรคอนเสิร์ตปีละ 1 ครั้ง สนับสนุนค่าฟิตเนสบางส่วน หรือบุฟเฟ่ต์ร้านอาหาร ไปจนถึงการมีวันหยุดพิเศษ ผู้ชายลาไปช่วยภรรยาเลี้ยงลูกได้หนึ่งเดือน หรือลาในโอกาสพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น วันเกิด วันครอบรอบแต่งงาน วันเกิดพ่อแม่ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานผ่อนคลายจากความตึงเครียดระหว่างการทำงาน ในบางบริษัทอาจมีห้องนอนไว้ให้ระหว่างวัน ห้องออกกำลังกาย มุมน้ำมุมขนม ห้องเกมส์ ให้คนทำงานรู้สึกว่าได้เติมคำว่า Life Balance ในด้านอื่นของชีวิต จะได้มีแรงกลับมาทำงานต่อ
นโยบาย Work from Home สนับสนุนการทำงานแบบ Work Life Balance ได้ดี เพราะคนทำงานได้เวลาที่มากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเหนื่อยล้าจากการจราจร ในบ้านเรา โดยให้พนักงานเอาเวลาตรงนั้นไปใช้กับสิ่งอื่นที่สนใจ รวมทั้งมีเวลาโฟกัสกับตัวงานมากขึ้น แต่ถ้าบริษัทไหนไม่ comfort กับการทำงานระบบนี้ จะเลือกทางสายกลาง ใช้ระบบการทำงานแบบ Hybrid สลับวันเข้าออฟฟิศก็ได้ อย่าลืมว่าการจะทำงานได้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น หัวใจและความสุขของพนักงานเองก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทางองค์กรต้องถนอมไว้
การสร้าง Work Life Balance ในองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ในภาพรวมนั้นไม่แตกต่างกันเท่าไร ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการสร้างสมดุลในด้านอื่น ๆ ของชีวิตให้กับพนักงาน โดยทั้งหมดนั้นตั้งอยู่บนความสุขของคนทำงานเป็นหลัก
แนวทางทั้งสามข้อด้านบนที่ JobsDB แนะนำไปนั้น เอาไปใช้เป็นไกด์ไลน์การสร้าง Work Life Balance ในที่ทำงานของคุณได้ ยิ่งเป็นองค์กรขนาดเล็กที่ไม่ได้มีโครงสร้างซับซ้อน การจัดการยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ ตกลงกันง่ายเป็นรายบุคคล ไม่ต้องผ่านการพิจารณาเป็นขั้นตอนมากมายเหมือนองค์กรใหญ่ ในเรื่องของสวัสดิการ โบนัส อาจจะไม่เท่าบริษัทใหญ่ แต่ความจริงใจสะท้อนผ่านระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น รวมถึงการเคารพเวลาส่วนตัว ไม่ติดต่อกันหลังเลิกงานถ้าไม่จำเป็น สิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ก็เติมความสบายใจให้กับพนักงานได้
หากองค์กรไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับเทรนด์นี้ ก็อาจจะต้องเสียโอกาสเจอคนทำงานเก่ง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง Work Life Balance เพราะในมุมคนทำงาน หลาย ๆ ให้ความใส่ใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
ถ้าใครรู้สึกว่างานที่ทำตอนนี้มีแต่ Work ไร้ซึ่งคำว่า Life Balance อย่ารอช้า อัปเดตเรซูเมให้พร้อม เปิดโอกาสให้ตัวเองวันนี้! ที่ JobsDB แอปพลิเคชันหางานชั้นนำของไทย! ที่สนับสนุนการทำงานแบบมีสมดุลรอคุณอยู่มากมาย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/work-life-balance-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a-time-blocking/