หนึ่งในปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทำให้คนตัดสินใจเปลี่ยนงาน เห็นจะมีอยู่ไม่กี่เรื่อง ไม่เบื่องานก็เบื่อคน หรือยิ่งทำไปเรื่อย ๆ ยิ่งรู้สึกว่าผลตอบแทนที่ได้ไม่นั้นคุ้มค่า งานเยอะเงินน้อย ทำเกิน Job Description ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งตรงนี้ถ้ามองว่าเป็นเรื่องของการได้พัฒนาตัวเอง หรือสั่งสมประสบการณ์ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าสิ่งเหล่านั้นมากเกินความจำเป็น แถมรายรับไม่สัมพันธ์กับสิ่งกับแรงกายแรงใจ
เรียกเงินเดือนเพิ่มเท่าไหร่
ในฐานะคนทำงานเองคงต้องเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งเกิดขึ้น ว่าเราอยู่ถูกที่ถูกทางหรือไม่?
บางทีการเปลี่ยนงานอาจจะเป็นคำตอบที่คุณกำลังตามหาก็เป็นได้
การเปลี่ยนงานเป็นช่องทางของการเรียกเงินเดือนเพิ่มก็จริง แต่ปัจจัยอะไรบ้างละ ที่คุณควรจะนำมาประมวลผลเพื่อแปรออกมาเป็นตัวเลข ว่าควรเรียกเพิ่มในจำนวนเท่าไร มากน้อยแค่ไหนจากงานเดิม ไม่ใช่เรียกไปโดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าใด ๆ เดี๋ยวจะเป็นการหนีเสือปะจระเข้เอาได้
สิ่งแรกที่คุณต้องนำมาประเมินในการเรียกเงินเดือนเพิ่มคือ “เรตเงินเดือนพื้นฐาน” ในสายงานที่คุณทำ หากไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนก่อน แนะนำให้ตั้งต้นจากสิ่งนี้เป็นอย่างแรก ลองดูราคากลางในตลาดทั่วไปว่า ปกติแล้วมีเรตอยู่ที่ประมาณเท่าไร เพราะถ้าคุณตั้งสูงไปก็อาจจะทำให้ทางบริษัทที่คุณยื่นสมัครไปลังเลได้ หรือหากตั้งน้อยไป คุณเองก็เป็นฝ่ายเสียโอกาส
อย่างไรก็ตาม การเรียกเงินเดือนยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันไปด้วย ไม่ได้มีสูตรอะไรตายตัว ถึงคุณเรียกเงินไปสูงแต่หากคุณมีประสบการณ์ แล้วงาน ๆ นั้นต้องอาศัยความเฉพาะด้านแบบลงลึก มีสกิลต่าง ๆ แบบพร้อมทำงาน คุณเองก็สามารถเอา “จุดแข็ง” ส่วนนี้ มาใช้เรียกเงินได้สูงกว่าราคาตลาดได้
นอกจาก “ตัวเลขรายได้” ที่คุณต้องพิจารณาแล้ว สวัสดิการและค่าตอบแทนส่วนต่าง ๆ ยังต้องนำมาคิดประกอบกัน บางที่อาจจะแลกมากับระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เน้นการ Work from home หรือทำงานแบบ Hybrid เข้าออฟฟิศ 2-3 วัน เบิกค่าเดินทางและค่าอินเทอร์เนตได้ หรือมีอาหารกลางวันให้รับประทานฟรี รวมถึงสามารถเบิกค่าเรียนคอร์สต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เมื่อนำมาคำนวณรวม ๆ แล้ว น่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ คุณก็อาจจะลดตัวเลขเงินเดือนที่เรียกไปลงได้
ส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่บางคนอาจมองข้าม การย้ายที่ทำงานใหม่ เสมือนเป็นการเปลี่ยนสังคมใหม่ไปในตัว โดยสังคมที่ว่านั้นเป็นเรื่องของค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าภาษีสังคม ค่ากินค่าอยู่ต่าง ๆ หากออฟฟิศนั้นมีทำเลอยู่ย่านใจกลางเมือง ค่าครองชีพต่าง ๆ ย่อมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตย่อมเปลี่ยนไป ทั้งเพื่อนร่วมงาน การสังสรรค์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็น Fix cost ที่ควรนำมาคิดด้วย เพราะมีผลต่อการคิดคำนวณการขึ้นเงินเดือน
ใครที่เพิ่งจบใหม่หรือทำงานมาได้ไม่กี่ปี อาจจะให้น้ำหนักในการพิจารณาข้อนี้น้อยหน่อย เพราะส่วนนี้เป็นเรื่องของประสบการณ์ ความช่ำชองในสายงานล้วน ๆ ยิ่งคุณมีทักษะมาก เรียกว่าคลุกคลีกับงานจนพร้อมเริ่มงานได้ทันทีแบบไม่ต้องเรียนรู้อะไรมาก ยิ่งเป็นจุดแข็งในการเรียกเงินเดือนเพิ่ม
ทั้งนี้การเรียนเพิ่มเติมและฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ รวมถึงผลงานชิ้นโบแดงอันสุดแสนจะภูมิใจ สามารถนำมาพิจารณาแปรเปลี่ยนเป็นค่าเงินได้เช่นเดียวกัน เพราะทั้งหมดนั้นแสดงถึงคุณค่าและความสามารถของเรา ทั้งยังเป็นการแสดงให้เจ้านายใหม่เห็นว่า เงินเดือนที่เราเรียกไปนั้นเหมาะสมกับความสามารถที่เรามี
เป็นธรรมดาในโลกธุรกิจ เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นย่อมตามมาด้วยภาระงานที่มากขึ้น ยากขึ้นและชาเลนจ์กว่าเดิม คงไม่มีใครเพิ่มเงินเดือนให้คุณง่าย ๆ โดยไม่แลกกับอะไร เพราะฉะนั้นอย่าลืมพิจารณาและสอบถามถึงสโคปงานให้ชัดเจนถี่ถ้วน ก่อนที่คุณจะตัดสินใจย้ายไป
เนื้องานเป็นอย่างไร มีทีมซัพพอร์ตคุณหรือไม่ หรือคุณเป็นคนเดียวที่ต้อง Hold งานนี้เองทั้งหมด ดูแล้วต้องใช้ความทุ่มเทในการทำงานสูงกว่างานเก่ามากน้อยแค่ไหน เพราะรายละเอียดเหล่านั้น เป็นสิ่งที่คุณต้องนำมาประเมินถึงความคุ้มค่ากับเงินเดือนที่จะเรียกไปด้วย ในทางกลับกัน หากคุณมองว่าความท้าทาย หรืออะไรที่ชาเลนจ์ เป็นสิ่งที่ทำให้คุณเติบโตในสายงาน หรือเป็นโอกาสที่ดีได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาจจะพอมองข้ามเรื่องเหล่านี้ได้
เมื่อไตร่ตรองทั้ง 5 ปัจจัยด้านบนมาอย่างรอบด้านแล้ว ถึงเวลาเข้าสู่เรื่องของตัวเลขกันบ้าง ปกติแล้วอัตราการเรียกเงินเดือนเมื่อย้ายงานใหม่ จะอยู่ราว 10-30% ของเงินเดือนเก่า โดยเงินเดือนเก่าที่ว่านั้นรวมรายได้ทั้งหมดที่คุณได้รับ ทั้งฐานเดือนและค่าคอมมิชชัน หรือรายได้อื่น ๆ ที่คุณได้รับจากทางบริษัท
สูตรที่ JobsDB นำเสนอคือ เงินเดือนปัจจุบัน x 12 (เดือน) กรณีมีโบนัสประจำ ให้นำมาคิดรวมกับเงินเดือน เช่น เงินเดือน 20,000 บาท มีโบนัสประจำ 3 เดือน ก็จะเป็น 20,000 x 15 = 300,000 บาท ก็จะเท่ากับเงินเดือนทั้งปีของเรา
สำหรับใครที่มีเงินพิเศษ เบี้ยเลี้ยงอื่น ๆ ที่จ่ายไม่เท่ากันในแต่ละครั้ง ให้นำเงินพิเศษส่วนนี้มารวมกันทั้งหมดแล้วหารจำนวนปีที่เราทำงาน เช่น คุณทำงาน 3 ปี มีโบนัสพิเศษตามนี้ 10,000+20,000+20,000 = 50,000 หาร 3 จะได้ 16,667 แล้วค่อยนำยอดที่ได้มารวมกับเงินเดือนทั้งปีของเรา แล้วหารด้วย 12 เดือน
จะได้ 300,000 (รายได้หลักแต่ละปี) + 16,667 (รายได้พิเศษ )= 316,667 / 12 = 26,388 และนี่คือเงินเดือนขั้นต่ำที่เราควรได้รับ
สุดท้ายนี้อย่าลืมนำค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามา อย่างการเดินทาง ค่ากินค่าอยู่ ค่าภาษีสังคมอื่นใด มาหักลบเพิ่มเติมในตัวเลขของเงินเดือนที่เรียกไปด้วย รวมถึงสวัสดิการและค่าตอบแทนต่าง ๆ ที่จะได้เพิ่มมา หากหักลบดูแล้วคุณพอใจที่ตัวเลขเท่าไร ก็ยืนไปได้เลย
เข้าใจว่าอะไรที่เกี่ยวกับตัวเลขเป็นอะไรที่ชวนปวดหัวอยู่ไม่น้อย แต่พอเป็นเรื่องค่าตอบแทน JobsDB อยากให้ทุกคนได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ที่สำคัญการประเมินเงินเดือนไว้คร่าว ๆ ยังเป็นการเตรียมพร้อมรับโอกาสดี ๆ อยู่เสมอ
ค้นหาตำแหน่งงานเงินเดือนดีได้ที่ JobsDB แอปพลิเคชันหางานที่ให้คุณเจองานใหม่ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%94/