Software Engineer คืออะไร พร้อมทักษะที่วิศวกรซอฟแวร์ต้องมีติดตัว

Software Engineer คืออะไร พร้อมทักษะที่วิศวกรซอฟแวร์ต้องมีติดตัว
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทสำคัญในโลกการทำงานแบบเต็มร้อย ดังจะเห็นได้จากบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่นำเรื่องราวของเทคโนโลยีเข้าผสมผสานกับการทำงานมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงคนทั่วไปที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตถือเป็นปัจจัยที่ 6 ในการดำรงชีวิต ซึ่งแอปพลิเคชันหรือซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนถูกสร้างขึ้นและได้รับการพัฒนาจากอาชีพ Software Engineer แทบทั้งสิ้น นี่จึงให้อาชีพนี้ก้าวขึ้นแท่นเป็นอีกหนึ่งสายอาชีพยอดฮิตแห่งยุค โดยบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึง Software Engineer กันให้มากขึ้น ว่าพวกเขาทำหน้าที่อะไร และต้องใช้ทักษะแบบไหนในการทำงานบ้าง

Software Engineer คืออะไร

อาชีพ Software Engineer หรือที่เราเรียกกันในภาษาไทยว่า “วิศวกรซอฟต์แวร์” คือหนึ่งใน สายงานวิศวกรรม เป็นคนที่สามารถนำโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผสานกับความสามารถในการพัฒนาระบบเพื่อช่วยเรื่องการประเมินคุณภาพและปฏิบัติการภายในองค์กร ซึ่งคนที่จะทำตำแหน่งนี้ได้นั้น ต้องมีความรู้ด้านซอฟต์แวร์และวิศวกรรม เพราะระบบต่าง ๆ ขององค์กรจะอยู่ภายในมือของพวกเขา ทั้งในส่วนของการผลิต จัดเก็บข้อมูล พัฒนา หรือออกแบบ เป็นต้น

นี่จึงถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในบริษัทไม่แพ้ตำแหน่งอื่น ๆ เลยทีเดียว เพราะทุกองค์กรจะต้องมีการใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเกี่ยวกับด้านระบบซอฟต์แวร์ เพื่อป้องกันความเสียหายมูลค่ามหาศาลที่อาจเกิดขึ้นได้ โดย Software Engineer จะต้องมีการนำหลักการและทฤษฎีทางวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การมองและวิเคราะห์ปัญหาด้วยแนวคิดเชิงวิศวกรรม หรือการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเดิมก่อนสร้างสิ่งใหม่ เป็นต้น

จากนั้นก็ต้องทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่องค์กรหรือลูกค้า เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เขาทำงานให้ ผสานกับการทำงานร่วมกันกับ Programmer ซึ่งการทำงานกับโปรแกรมเมอร์นี่แหละที่ทำให้ Software Engineer จะต้องมีความรู้ด้าน Coding ติดตัวไว้ด้วย

Associate Software Engineer คืออะไร

นอกจากตำแหน่ง Software Engineer แล้ว หลายคนคงอาจเคยเห็นตำแหน่ง Associate Software Engineer กันมาด้วย ซึ่งความแตกต่างกันก็คือตัว Associate นั้นว่าง่าย ๆ ก็คือระดับ Entry Level ที่กำหนดไว้สำหรับเด็กจบใหม่หรือผู้ที่ยังมีประสบการณ์ในอาชีพนี้มาไม่มากนัก เมื่อสั่งสมประสบการณ์ไปได้ประมาณ 1-3 ปี ก็อาจมีการปรับชื่อตำแหน่งเป็น Software Engineer

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างหรือการกำหนดชื่อตำแหน่งภายในองค์กรด้วย เพราะบางองค์กรก็ไม่ได้มีการระบุคำว่า Associate เอาไว้ในตำแหน่งของผู้ที่เพิ่งเริ่มงานหรือในระดับ Entry Level โดยบางที่ก็อาจใช้ชื่อว่า Junior Software Engineer หรือบางทีก็ใช้ว่า Software Engineer ไปเลย

โดย Associate Software Engineer นั้น จะต้องทำงานร่วมกับ Software Engineer ที่มีประสบการณ์มาแล้ว เพื่อช่วยกันพัฒนาและปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ภายในองค์กร พร้อมทั้งร่วมกันออกแบบหรือดีไซน์แอปพลิเคชันต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนความรู้ที่ต้องมีติดตัว เรียกได้ว่าก็ต้องมีแบบอัดแน่นไม่แพ้ Software Engineer เลย

Software Developer กับ Software Engineer ต่างกันอย่างไร

อีกตำแหน่งที่หลายคนก็ยังเคยได้ยินกันมาก็คือ Software Developer จนอาจสงสัยว่ามีความแตกต่างจาก Software Engineer อย่างไร สำหรับ Software Developer หรือเรียกกันในภาษาไทยว่า “นักพัฒนาซอฟต์แวร์” นั้นคือผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ วางแผนพัฒนา การเขียนโปรแกรม ตลอดจนถึงการบริหารโปรเจกต์หรือออกแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า Software Engineer ที่จะดูเป็นภาพกว้าง

โดยหน้าที่หลักของ Software Developer เช่น

  • วิจัย วิเคราะห์ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
  • เรียนรู้กระบวนการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  • ดูแลขั้นตอนของระบบซอฟต์แวร์ให้อยู่ในมาตรฐาน
  • แก้ไขข้อมูลซอฟต์แวร์ภายในบริษัท

วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ต้องเรียนจบคณะอะไร

ในปัจจุบันมีมากกว่า 20 มหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดสอนรายวิชาต่าง ๆ เพื่อรองรับการทำงานในตำแหน่ง Software Engineer ซึ่งส่วนใหญ่จะมีบรรจุหลักสูตรอยู่ในคณะต่าง ๆ เช่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดว่าอยู่ในคณะไหน แต่ส่วนใหญ่ในทุกคณะที่กล่าวไป จะวิชาเอกเป็นชื่อ “สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์” ทั้งหมด

โดยจะมีการสอนในด้านความรู้พื้นฐานของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ไล่ตั้งแต่การวิเคราะห์ออกแบบไปจนถึงขั้นตอนของการทดสอบ นอกจากนี้ยังมีการสอนเกี่ยวกับด้านวิศวกรรมความรู้ และวิชาเลือกด้านปัญญาประดิษฐ์เสริมเข้ามาอีกด้วย

Hard skill ที่สำคัญต่ออาชีพ Software engineer

หน้าที่ของ Software Engineer คือการออกแบบ พัฒนา และดูแลรักษาระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ตลอดไปจนถึงการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้ จากนั้นจึงลงมือทำการออกแบบ พัฒนา และทดสอบระบบ ก่อนจะดำเนินการส่งถึงมือผู้ใช้งาน เมื่อขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้น ก็ยังต้องคอยมีการปรับปรุงและแก้ไขระบบ เพื่อสนับสนุนการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดย ทักษะ ด้านแบบ Hard Skill ที่สำคัญของ Software Engineer ได้แก่

ทักษะทางด้านเทคนิค

อันดับแรกเลยคงหนีไม่พ้นทักษะเกี่ยวกับเทคนิค ที่จำเป็นต้องมีอย่างยิ่ง เช่น

  • Coding
  • Programming Paradigms
  • Software Architecture Styles
  • Data Patterns
  • Data Structures และ Algorithms
  • Database
  • Testing
  • Version Control Systems
  • Build Tools
  • Web Security
  • Caching
  • Cloud Computing

ทักษะด้าน Transferable Skills

ยกตัวอย่างเช่น จะต้องมีความรู้ด้านการออกแบบสำหรับ Software Engineer ที่รับผิดชอบในส่วนของมือถือและเว็บไซต์ ซึ่งจะต่อยอดไปถึงการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ หรือในส่วนของ Software Engineer ที่รับผิดชอบในด้านความปลอดภัย ก็ต้องเป็นคนที่ความรอบคอบ กล้าตัดสินใจ ผสานกับการมีวิจารณญาณที่ดีเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบให้ได้มากที่สุด

Soft skill ที่สำคัญต่อ Software engineer

การเป็น Software Engineer นั้น แม้หลักๆ แล้วจะต้องอาศัย Hard Skill ที่เน้นทักษะด้านเทคนิคในการทำงานเป็นหลักแล้ว แต่ Soft Skill ก็ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกันสำหรับการทำงานตำแหน่งนี้ เพราะอย่างไรเสียก็ต้องมีการร่วมงานกับคนอื่น และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผ่านทักษะเหล่านี้

มีความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา

ไม่ว่าใครหรือทำงานตำแหน่งไหน ก็ไม่ควรทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เพราะทุกคนย่อมมีประสบการณ์และความรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเรื่องราวของ Intellectual Humility หรือความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา จึงถือเป็นทักษะที่จะช่วยให้คุณพัฒนาตัวเอง เพราะแม้ว่าคุณจะมีประสบการณ์อัดแน่นมาเพียงไหน แต่บางครั้งคุณก็อาจจะพลาดรายละเอียดเล็กน้อยในบางเรื่องไป ในขณะที่คนอื่นกลับไม่พลาดในเรื่องนี้ ดังนั้นการเรียนรู้พร้อมทั้งยอมรับคำวิจารณ์ ก็จะช่วยให้คุณได้ปรับปรุงชิ้นงานและพัฒนาตัวเองได้เช่นกัน

ใช้ประโยชน์จากความรู้รอบด้าน

การเป็น Software Engineer ต้องพร้อมที่จะปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นหากอยากประสบความสำเร็จในสายอาชีพนี้ อาจต้องใช้ความรู้จากหลายๆ ด้านเข้ามาประกอบ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับคนในบริษัทหรือลูกค้าที่อาจไม่ได้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากนัก เพราะฉะนั้นคุณนี่แหละที่จะเป็นตัวช่วยให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จได้ การนำความรู้ด้านอื่น ๆ ที่คุณมีมาเสริมทัพกับทักษะด้านเทคนิค ก็จะช่วยเพิ่มคุณค่าและช่วยให้คุณเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ดียิ่งขึ้นได้

มองภาพรวมเป็นหลัก

เรื่องของวิสัยทัศน์ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ต้องเป็นคนที่มองภาพรวมเป็นหลัก ผสานกับการทำความเข้าว่าทำไมบริษัทจึงต้องสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ขึ้นมา ต้องเข้าใจภาพใหญ่ของบริษัท คอยศึกษาอยู่เสมอว่างานที่กำลังพัฒนาอยู่เป็นธุรกิจแบบไหน พร้อมกับการนำเอาเรื่องของเทคโนโลยีมีผสมผสาน ว่าจะช่วนสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

พัฒนาทักษะตัวเองอยู่เสมอ

การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ดังนั้นการเป็น Software Engineer ก็ต้องหมั่นพัฒนาทักษะตนเองอยู่เสมอ คอยหาความรู้หรือ เทคคอร์ส เพิ่มเติม เพื่อดึงสิ่งเหล่านี้มาช่วยเสริมให้งานของคุณออกมาดียิ่งขึ้น อาจลองรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือลองเขียนโค้ดที่ไม่เคยใช้มาก่อน ลองพัฒนาความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมด้วยการใช้อัลกอริธึมหรือโครงสร้างข้อมูลที่แตกต่างกัน ก็ช่วยให้คุณได้พัฒนาและสร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ ได้

ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง

เรื่องของ การตั้งเป้าหมายในการทำงาน จริง ๆ แล้วควรมีในทุกสายอาชีพ เพราะการที่คุณกำหนด Career Path ให้ตัวเองไว้อย่างชัดเจน ว่าอยากไปถึงจุดไหนในเส้นทางอาชีพ ก็จะช่วยเป็นแรงผลักดันให้เราอยากเดินทางไปถึงจุดนั้นได้ โดยอาศัยทักษะต่าง ๆ ที่คุณมี ประกอบกับความพยายามและความสำเร็จที่ผ่านมา ให้เป็นตัวขับเคลื่อนและสร้างกำลังใจ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นประโยชน์แก่ตัวคุณเองทั้งสิ้น ทั้งนี้หากไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมายให้ออกมาอย่างไรดี สามารถใช้เทคนิค Smart Goal ได้ เพื่อให้เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ค้นหางานตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)

ทักษะต่าง ๆ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ที่กล่าวไปนั้น ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งจะที่ช่วยทำให้คนที่สนใจกลายเป็น Software Engineer ประสบความสำเร็จได้ แต่นอกจากนี้ยังต้องอาศัยทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน ผสานกับความรักและความมุ่งมั่นในอาชีพนี้ด้วย อีกทั้งการอยู่ในสายงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ถือเป็นอีกอาชีพที่มีส่วนช่วยให้ผู้คนใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

Software Engineer ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะความรู้มากพอสมควร โดยในตลาดแรงงาน อาชีพนี้ยังคงต้องเป็นที่ต้องการของหลายบริษัท และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ใครที่กำลังมองหางาน Software Engineer อยู่ สามารถค้นหาบริษัทที่โดนใจผ่านทาง JobsDB ได้เลย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%a3/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%b5/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้