ไม่ว่าผู้ประกันตนจะเป็นหญิงหรือชายก็ใช้สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตรได้ หากสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่สามารถเบิกค่าคลอดบุตรรวมกัน ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ประกันตนที่ต้องการรับสิทธิต้องจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร จึงจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ในอัตราเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (เริ่มจ่ายวันที่ 1 มกราคม 2554 - ปัจจุบัน)
ทั้งนี้ คำว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือน คือ เดือนที่คลอดไม่นับสิทธิ การนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน ตัวอย่างเช่น ประกันตนใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรคนแรกไปเมื่อปี 2547 หลังจากนั้น ออกจากงาน และได้กลับเข้ามาทำงานอีกครั้งเดือนธันวาคม 2550 ตั้งครรภ์มา 5 เดือน และมาคลอดเมื่อเดือนมีนาคม 2551 นับย้อนไป 15 เดือนจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผู้ประกันตนรายนี้มีเงินสมทบเพียง 3 เดือน จึงไม่มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรคนที่ 2
การตรวจสอบสิทธิกรณีคลอดบุตร:
หากคลอดบุตรก่อนวันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2550
1. หากคลอดบุตรในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ของผู้ประกันตนหรือของคู่สมรสหรือของสามีแล้ว ไม่สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้
2. หากไม่ใช่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ หรือเครือข่าย สามารถเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตรา 6,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
หากคลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2550เวลา 00.00น.
หมายเหตุ : กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก
หากคลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2554เป็นต้นไป
หมายเหตุ : กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกัน ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก
กรณีสงเคราะห์บุตร
ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554)
เงื่อนไขที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร
- เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
- ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ บุตรยังคงได้รับเงินสงเคราะห์บุตรต่อไปจนกว่าจะมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร
- เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ขวบปีบริบูรณ์
- บุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
Q&A
1. เราส่งเงินประกันตนเองมา 2 เดือนแล้วแต่ทำไมเงินสงเคราะห์บุตรเราไม่ได้รับละคะจากที่เคยได้เมื่อตอนทำงานบริษัท
ตอบ:ผู้ประกันตนทั้งในมาตรา 39 และมาตรา 33 มีสิทธิได้รับเงินกรณีเงินสงเคราะห์บุตรค่ะ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลกับประกันสังคมเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบค่ะ โดยหลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิ คือ จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554)
2. อยากทราบข่าวอัพเดทล่าสุด เรื่องกรณีคลอดบุตร
ตอบ:สามารถเข้าไปดู รายละเอียดกรณีคลอดบุตร อัพเดทล่าสุด จาก website ประกันสังคม อัพเดท ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2557
3. ดิฉันขาดส่งประกันสังคมมา 1 ปี แล้วดิฉันมาทำงานโรงงานได้ส่งประกันสังคมแล้ว 1 ปีอยากทราบว่าพอดิฉันยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตรดิฉันจะได้เงินกี่เดือนคะ
ตอบ:เงื่อนไขการรับเงินสงเคราะห์บุตร คือ ต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน และเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554)
4. ทำงานไป 7 เดือนแต่นายจ้างขาดส่งไป 3 เดือน แต่ทางเงินสมทบกำลังดำเนินเรื่องให้นายจ้างมาชำระเงินที่ตกไป 3 เดือนเราจะมีสิทธิได้เงินอยู่ไหม
ตอบ:อาจเกิดปัญหาได้ในเวลาที่มาเบิกประโยชน์ทดแทนต่าง ๆ แต่โดยปรกติ หากสำนักงานพิสูจน์ได้หรือผปต.มีหลักฐานยืนยันได้ว่า มีการถูกหักเงินสมทบอย่างถูกต้องแล้วจริง สปส.จะไม่ปฏิเสธการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผปต.นะครับ แต่อาจมีผลกระทบเรื่องความล่าช้าอยู่บ้าง ถ้าสปส.เพิ่งรู้เรื่องในตอนนั้น ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่ง ถ้าท่านทราบว่า นายจ้างท่านหักเงินแล้วไม่ได้นำส่งให้กับสปส. ให้แจ้งสปส.โดยเร็ว เพื่อสปส.จักได้ดำเนินการต่อไป และเมื่อท่านต้องมาเบิกประโยชน์ทดแทน ความล่าช้าต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้น โดยที่ท่านก็ยังคงมีสิทธิได้ประโยชน์ทดแทนนั้นๆตามสิทธิ มิได้ถูกตัดสิทธิแต่อย่างใด ถึงแม้เงินสมทบของท่านที่นายจ้างหักไว้จะยังไม่ได้ถูกนำส่งสปส.ก็ตาม
5. ท้องที่ 3 แล้วแต่ไม่เคยใช้สิทธิประกันสังคมท้องนี้สามารถใช้สิทธิได้ไหมคะ
ตอบ:หากต้องการใช้สิทธิ์ กรณีเงินสงเคราะห์บุตร ต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ แต่จำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน (หมายความว่าไม่เกี่ยวกับว่าท้องที่เท่าไหร่ แต่ได้คราวละไม่เกิน 2 คน)
หากต้องการใช้สิทธิ์ กรณีคลอดบุตร ต้องจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน คือ เดือนที่คลอดบุตรไม่นับสิทธิ การนับจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน (หมายความว่าไม่เกี่ยวกับว่าท้องที่เท่าไหร่ แต่ได้คราวละไม่เกิน 2 คนเหมือนกันค่ะ)
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
ภาพประกอบโดย David Castillo Dominici เว็บไซต์ freedigitalphotos.net
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ