ช่วงเวลานี้หลายคนคงมีการปรับเปลี่ยนโยกย้าย ได้เริ่มงานที่ใหม่กันบ้าง ทำให้ต้องเริ่มปรับตัวให้เข้ากับงานใหม่ สังคมใหม่ เจ้านายใหม่ ออฟฟิศใหม่และสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ซึ่งรวมไปถึงความท้าทายใหม่ ๆ ด้วย และความท้าทายนี้เอง อาจจะนำมาซึ่งปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเราเป็นคนใหม่ที่เข้าไปเริ่มงาน ทำให้เราต้องใช้เวลาเรียนรู้และปรับตัวมากกว่าเดิม และอาจมีผลให้เรา ทำงานไม่ทัน ได้ ถ้าประเมินบวกกับวิเคราะห์แล้วว่าเพิ่งเริ่มเข้าทำงานที่ใหม่ แต่งานเยอะเกินกว่าที่เราทำไหวจริง ๆ มาดูกันว่าถ้า งานเยอะปฏิเสธอย่างไรดี เราควรคุยกับหัวหน้าอย่างไรดี เพื่อให้ทุกอย่างออกมาสวยแบบไร้กังวล
ศึกษาหัวหน้า
งานเยอะควรทำอย่างไร หนึ่งในปัญหาที่กวนใจคนทำงานหลาย ๆ คน เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการลองทำความเข้าใจหัวหน้าใหม่ของเราก่อน เริ่มจากวิเคราะห์สไตล์การทำงาน ว่าหัวหน้าใหม่ของเรามีเป้าหมายอย่างไร ชอบข้อมูลแบบไหน ชอบลูกน้องที่ทำงานอย่างไร มีความคาดหวังในตัวลูกน้อง และการส่งงานอย่างไรบ้าง รวมถึงมีวิธีทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างไร ที่สำคัญที่สุดคือ หัวหน้าใหม่ของเรามีบุคลิกแบบไหน ชอบคนแบบไหน และชอบวิธีการสื่อสารแบบไหน สไตล์ไหน เพื่อที่จะได้วางแผนพูดคุยได้ถูกต้องเหมาะสม
เตรียมข้อมูลภาระหน้าที่
เมื่อรู้แน่แล้วว่าหัวหน้าของเราสไตล์แบบไหน สิ่งที่ต้องเตรียมเป็นอย่างต่อไป ก่อนที่จะเริ่มเข้าไปคุยกับหัวหน้าก็คือ “ข้อมูล” เริ่มจากการลิสต์ภาระงานของเราตอนนี้ แล้วเริ่มจัดลำดับความสำคัญ โดยเริ่มจากงานประจำตำแหน่งที่สำคัญไม่ทำไม่ได้ และมีระยะเวลาที่ต้องทำให้เสร็จชัดเจน ซึ่งนี่จะถือว่าเป็นหน้าที่หลักที่เราต้องรับผิดชอบ ต่อมาลองลิสต์งานแทรก (ถ้ามี) หรืองานที่อาจจะได้รับไหว้วานให้ทำ ซึ่งอาจจะไม่ใช่งานที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเราโดยตรง ซึ่งงานส่วนนี้แหละที่อาจจะทำให้เรารู้สึกว่าได้รับมอบหมายงานให้เยอะเกินไป การลิสต์งานที่เราต้องทำออกมาแบบนี้ จะให้เห็นปริมาณงานที่เราต้องทำได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
เตรียมข้อมูลปัญหาที่เจอ
ลองลิสต์ปัญหาของเราดู ว่าอะไรทำให้เราประเมินแล้วว่า ได้รับงานเยอะเกินไป อาจจะเป็นตารางงานที่แน่นเกินไป หรือระยะเวลาในการทำงานนาน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่เราเป็นคนใหม่ ต้องใช้เวลาเรียนรู้ระบบงานมากกว่านี้หน่อย เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น หรืองานที่เราทำอยู่ ต้องอาศัยการศึกษาข้อมูลที่เราไม่คุ้นเคย ทำให้เราส่งมอบงานได้ช้า หรืองานที่ได้รับมอบหมาย มีลักษณะงานใหม่ที่เราไม่เคยทำมาก่อนหรือไม่ชำนาญ ทำให้เราต้องใช้เวลาศึกษาทำความเข้าใจก่อนเพื่อจะเริ่มทำงาน หรือจะเป็นปัญหาที่ว่า เราได้รับงานแทรกงานด่วนอยู่บ่อย ๆ ทำให้กระทบงานหลักที่เราต้องทำ
เตรียมทางออก พร้อมเสนอ
เมื่อรู้ปัญหาแล้ว ให้เราเตรียมคิดหาทางออกไว้พร้อมเสนอหัวหน้าเผื่อเค้าถามไว้ด้วย เช่น ถ้าปัญหาคือเรายังไม่ชำนาญในงานนั้น ต้องขอเวลาศึกษาเพิ่มเติม หรืออยากขอการเข้าถึงข้อมูลมากกว่านี้ เพื่อที่เราจะเข้าใจข้อมูลและระบบการทำงานมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นทางออกให้เราทำงานได้เร็วขึ้นได้ ในส่วนของปัญหาเรื่องงานแทรก อาจจะลองเสนอว่าขอจัดสรรช่วงเวลาที่เราจะขอโฟกัสงานหลักของเราในแต่ละวัน หรืออาจจะลองเสนอว่า งานแทรกทั้งหลายขอเวลาในการทำมากกว่านี้หน่อย เพื่อให้พอเคลียร์งานหลักแล้วมาทำงานแทรกได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น แนะนำในเตรียมทางแก้เหล่านี้ไว้ในใจก่อน ถ้าตอนคุยกับหัวหน้าแล้วเห็นจังหวะที่จะเสนอทางแก้ที่เราเตรียมมาได้ ค่อยลองเสนอออกไป เพราะบางทีหัวหน้าอาจจะมีการเตรียมทางแก้ไว้ให้เราแล้วเหมือนกัน
คุยกับหัวหน้า
เมื่อมีข้อมูลทุกอย่างครบแล้ว ก็ถึงเวลาเปิดอกคุยกับหัวหน้าแล้ว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสไตล์ของหัวหน้าเป็นสำคัญ ถ้าหัวหน้าใหม่ของเราเป็นคนชอบคนอ้อมค้อมนิดหน่อย อาจจะลองหาเวลาที่หัวหน้าผ่อนคลาย เช่น โอกาสตอนพัก หรือช่วงทานข้าวกลางวันเกริ่นนำก่อนก็ได้ ว่าเรารู้สึกมีปัญหากับงานนิดหน่อย อยากขอปรึกษาถ้าพอมีเวลา แล้วค่อยนัดเวลาเข้าพบ แต่ถ้าหัวหน้าของเราเป็นคนชอบคนพูดตรง ๆ พร้อมเปิดรับความคิดเห็นลูกน้องอย่างเต็มที่ ก็สามารถจัดการนัดแนะเวลาขอเข้าพบ แล้วเดินเข้าไปคุยได้เลย ตอนที่เข้าไปคุย ก็ลองใช้วิธีคุยแบบปรึกษา อธิบายว่าเรามีปัญหาอะไร เอาลิสต์งานที่เราต้องทำตอนนี้ และปัญหาตอนนี้ที่เราลิสต์ไว้ เข้าไปอธิบายให้หัวหน้าฟัง ว่างานและปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเราอย่างไรบ้าง และนำมาซึ่งปัญหาที่อาจจะกระทบไปถึงเพื่อนร่วมงานและองค์กรอย่างไร สอบถามและรอฟังความคิดเห็นของหัวหน้า และถ้ามีโอกาสก็นำเสนอวิธีการแก้ไขที่เราคิดมาไว้แล้ว เพื่อประกอบการตัดสินใจของหัวหน้าก็ได้ หัวหน้าจะได้สัมผัสได้ถึงความเป็นคนคิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบคอบ มีเหตุผล และมีการเตรียมทางแก้ไว้ด้วย
สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดก็คือ อย่าพูดว่างานของเราควรแบ่งให้ใครหรือบอกหัวหน้าว่าเพื่อนร่วมทีมบางคนงานเบาเกินไป เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ที่เราต้องตัดสินใจหรือแสดงความคิดเห็น นอกจากจะทำให้เราดูไม่ดีด้วย ยังเป็นการพาดพิงถึงคนอื่น ในปัญหาที่เป็นของเรา
อย่างไรก็ตามหลังจากการปรึกษากับหัวหน้าแล้วไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็ขอให้พยายามคิดแง่บวกเข้าไว้ ทั้งระหว่างเตรียมการก่อนไปคุยกับหัวหน้า และหลังปรึกษาหัวหน้าแล้ว ถ้าปริมาณงานยังเยอะอยู่ อาจจะลองคิดว่านี่เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ฝึกฝนพัฒนาตัวเองอย่างเข้มข้น เพื่อเป็นการ unlock ขีดความสามารถของเราเอง ให้สามารถทำงานที่ยากและกดดันมากขึ้นได้ในอนาคต และคิดว่าเพราะหัวหน้าเล็งเห็นในขีดความสามารถของเราที่จะพัฒนาไปได้อีก จึงหยิบยื่นความท้าทายเหล่านี้มาให้ เพื่อเป็นประโยชน์ที่นำไปต่อยอดได้ในอนาคต
แต่ถ้าประเมินแล้วว่างานใหม่ที่ทำมีปริมาณเยอะเกินความสามารถเราจริง ๆ จนมีผลกระทบกับชีวิตด้านอื่นมากเกินไป อาจจะลองพิจารณาทางเลือกอื่น ลองมองหางานใหม่ไว้บ้าง เผื่อจะเจองานที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของเรา ทาง JobsDB ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ
สามารถเข้ามาค้นหางานในสายอาชีพของคุณ ตำแหน่งงานที่คุณต้องการ ในบริษัทที่ให้ผลตอบแทนดีและมี work-life balance แบบที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณได้ที่ แอปพลิเคชั่นหางาน JobsDB โหลดเลย !
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8b%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/