Parkinson’s Law กฎการทำงานที่ช่วยให้เราเลิกไฟลนก้น เลิกเผางานใกล้เดดไลน์

Parkinson’s Law กฎการทำงานที่ช่วยให้เราเลิกไฟลนก้น เลิกเผางานใกล้เดดไลน์
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

“WORK EXPANDS SO AS TO FILL THE TIME AVAILABLE FOR ITS COMPLETION”หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “คนเราชอบขยายเวลาการทำงานออกไปตราบใดที่ยังมีเวลาอยู่” คือคำอธิบายของ Parkinson’s Law กฎที่ว่าด้วยเรื่องเวลาของการทำงาน ที่มีเท่าไหร่ก็มักไม่พอ เพราะคนส่วนใหญ่ชอบทำงานตอนใกล้เดดไลน์ กฎนี้ถูกนิยามขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Cyril Northcote Parkinson ผู้ซึ่งเริ่มศึกษาเรื่องนี้จากการสังเกตพฤติกรรมและวิธีการทำงานของคนรอบตัว แล้วเกิดตั้งคำถามขึ้นมาว่า ทำไมคนเราถึงใช้เวลาในการทำงานไม่เท่ากัน ทั้ง ๆ ที่งานนั้นก็เป็นงานชนิดเดียวกัน

Parkinson’s Law กฎการทำงานที่ช่วยให้เราเลิกไฟลนก้น เลิกเผางานใกล้เดดไลน์

กฎที่ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร The Economist ในปี 1955 กฎนี้ได้อธิบายพฤติกรรมของคนที่ชอบฟิตทำงานใกล้เดดไลน์ ถ้ายังไม่ถึงเดดไลน์สมองไม่แล่น พวกที่ชอบอ่านหนังสือสอบคืนสุดท้าย พวก One night miracle ที่แม้จะมีเวลาทำงานเป็นอาทิตย์ แต่ก็มักจะมาเร่งทำงานใกล้ ๆ วันที่ต้องส่งงาน แบบชนิดที่อดหลับอดนอนก็ได้เพื่อให้งานเสร็จทันเวลาส่ง เผางานส่งในทันเดดไลน์ หรือทำงานแบบไฟล้นก้นทุกโปรเจกต์ โดย Parkinson’s Law ได้อธิบายที่มาที่ไปที่คนชอบทำไว้ 2 ข้อ คือ

  1. ต้องการขยายเวลาออกไปเรื่อย ๆ เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด

หลายครั้งที่เราทำงานไม่เสร็จสักทีเพราะแก้งานไปเรื่อย ๆ รู้สึกว่างานยังดีได้กว่านี้อีก งานที่ควรจะใช้เวลาทำ 2 อาทิตย์ เลยต้องถูกขยายเวลาออกไป เพราะพอคุณอยากให้งานออกมาเพอร์เฟ็กที่สุด คุณก็จะเริ่มสร้างความซับซ้อนของงานให้มากขึ้น ขยายสโคปงานให้มากขึ้นตามไปด้วย หรือพอคุณทำงานไป คุณก็ยังไม่พอใจกับผลลัพธ์ของงานที่คุณทำอยู่สักที อยากแก้โน่นแก้นี่เพื่อให้ผลงงานออกมาดีที่สุด จนสุดท้ายงานก็ไม่เสร็จสักที จนสุดท้ายก็ต้องมาเร่งทำงานให้เสร็จตอนใกล้เดดไลน์

  1. ถ้ารู้ว่ายังมีเวลาเหลือ สมองก็พร้อมที่จะผัดวันประกันพรุ่งเสมอ

สมองของคนเราฉลาดกว่าที่เราคิด เพราะสมองมีเป้าหมายในการบริหารพลังงานให้ถูกใช้ออกไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นอะไรก็ตามที่สมองรู้สึกว่ายังมีเวลาเหลือ มันก็จะเริ่มสั่งการให้เราผลัดการทำงานนั้นออกไปก่อน และพอมารู้ตัวอีกทีว่าเวลาเหลือน้อยแล้ว ใกล้จะต้องส่งงานแล้ว สมองก็จะสั่งให้เราทำงานนั้น ๆ ทันที เราจะรู้สึก Productive อย่างมาก บางคนก็ไอเดียหลั่งไหล หัวไวแบบไม่มีสาเหตุ ไม่ว่าเราจะอดหลับอดนอนแค่ไหน ก็พร้อมมีพลังทำให้งานนั้นเสร็จตามเดดไลน์

วิธีเอาชนะกฎ Parkinson’s Law

เมื่อเรารู้แล้วว่าสมองทำงานยังไงผ่านการศึกษากฎ Parkinson’s Law ก็มาถึงเวลาที่เราจะต้องจัดการตัวเองให้รับมือกับความรู้สึกอยากผัดวันประกันพรุ่งหรือความรู้สึกอยากให้งานออกมาดีกว่านี้อีก จนทำงานไม่เสร็จสักที

  • ทำความเข้าใจสโคปงาน

ศึกษารายละเอียดของงานที่ต้องทำให้เข้าใจ ว่างานนี้ต้องทำอะไรบ้าง มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร ทำแค่ไหนถึงจะพอ เพื่อกำหนดสโคปและเป้าหมายของงานที่จะทำไว้ วิธีนี้จะทำให้เราไม่ทำงานเพลิน เผลอแก้งานไปเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องมาเผางานส่งใกล้เดดไลน์

  • แบ่งงานออกเป็น Task ย่อย ๆ

ถ้ากำลังทำงานที่เป็นโปรเจกต์ หรืองานชิ้นใหญ่ที่มีความซับซ้อนอยู่ แนะนำให้แบ่งงานออกเป็น Task ย่อย ๆ จะช่วยให้สามารถวางแผนการทำงาน บริหารเวลาและกำหนด Timeline ได้ดียิ่งขึ้น

  • จัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับงานที่ทำ

กำหนดเวลาในการทำงานแต่ละชิ้นให้ชัดเจน เช่น งานชิ้นนี้ควรใช้ทำ 3 วัน หรืองานนี้ควรทำให้เสร็จภายใน 1 อาทิตย์ และการกำหนดเวลาในการทำงานก็ควรอิงจากความเป็นจริงกับเวลาที่เราใช้ทำงานนั้นจริง ๆ ไม่ต้องเผื่อเวลาให้มาก เพราะสุดท้ายแล้วสมองก็จะสั่งให้ผลัดการทำงานนั้นออกไป ถ้ารู้ว่ายังมีเวลาเหลือ ดังนั้นควรกำหนดเวลาให้พอดีกับการทำงานแต่ละชิ้น

  • ลองกำหนดเดดไลน์ของตัวเองให้เร็วขึ้นอีก

นอกจากการสร้างเดดไลน์ให้พอดีกับความสามารถในการทำงานให้เสร็จของตัวเองแล้ว ลองวิธีที่ท้าทายตัวเองขึ้นมาอีกนิดด้วยการกำหนดเวลาให้สั้นกว่าเวลาที่ใช้ทำงานจริงเล็กน้อย เพื่อจะได้ดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เพราะสมองจะสามารถดึงทรัพยากรที่มีเพื่อมาทำงานให้เสร็จทันเดดไลน์ที่ตั้งไว้ เป็นการทริกสมองเล็กน้อยเพื่อพัฒนาขีดจำกัดของตัวเอง แต่วิธีไม่ควรกำหนดเดดไลน์ให้น้อยกว่าความเป็นจริงมากเกินไป และไม่แนะนำให้ทำบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้เกิดอาการ burn out ได้ง่าย

  • มีวินัยควบคุม Deadline ให้ได้

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราชนะกฎนี้ได้ก็คือ วินัย เพราะแม้ว่าจะกำหนด Timeline การทำงานไว้ดีแค่ไหน หรือ บริหารเวลา ได้ดีอย่างไร แต่หากไม่สามารถรักษาเวลาและทำให้เสร็จตาม Deadline ได้ สิ่งที่วางแผนมาก็คงศูนย์เปล่า ควบคุมตัวเองให้ได้ รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด พูดคำไหนคำนั้น วางแผนไว้ว่างานนี้ต้องเสร็จวันนี้ก็ต้องทำให้เสร็จวันนี้ ทำตามแผนที่วางไว้ให้ได้ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหาทำงานไม่ทัน เผางานใกล้เดดไลน์ อดหลับอดนอนทำงานให้เสร็จ จนเสียทั้งสุขภาพกายสุขภาพจิตไปด้วย

ลองนำ Roadmap นี้ไปประยุกต์ใช้กับตัวคุณเอง และ JobsDB หวังว่าทุกคนจะสามารถเลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง หรือแก้งานไม่เสร็จสักที เปลี่ยนมาเป็นทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด มีเวลาเหลือพักผ่อนหลังงานเสร็จอย่างสุขกายสบายใจ ไม่ต้องเครียดเมื่อถึงเวลาใกล้ส่งงานอีกต่อไป สำหรับใครที่พร้อมลุยงาน เปิดโอกาสให้ตัวเราได้ค้นพบงานที่ใช่ เข้าไปหางานโดนใจได้ที่แอปพลิเคชัน JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a-time-blocking/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/pomodoro-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a-%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/888%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b21%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2-time-boxing/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด