วิธีปฏิเสธการร่วมงานกับบริษัทที่ตกลงรับเราเข้าทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ

วิธีปฏิเสธการร่วมงานกับบริษัทที่ตกลงรับเราเข้าทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ว่าด้วยของเรื่องการหางานหรืออยากเปลี่ยนงานใหม่ คงไม่มีใครหรอกที่จะส่งใบสมัครงานไปเพียงแค่ที่เดียว ทุกคนก็อยากเพิ่มโอกาสในหน้าที่การงานให้กับตัวเองทั้งนั้น ด้วยการส่งใบสมัครงานไปพร้อมกันหลายๆ ที่ ซึ่งในบางครั้งโอกาสดีๆ ก็เข้ามาพร้อมกันแบบไม่ได้นัดหมาย ในฐานะที่เป็นผู้สมัครงานก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองด้วยเช่นกัน

วิธีปฏิเสธการร่วมงาน

แต่ทีนี้จะทำอย่างไรล่ะ ถ้าหากสุดท้ายแล้วเราได้รับโอกาสจากหลายบริษัทในการสมัครงานครั้งนี้ แล้วถ้าเราตัดสินใจเลือกที่ทำงานกับบริษัทอันดับ 1 ในดวงใจที่ไปสัมภาษณ์มาได้แล้ว จะมีวิธีปฏิเสธการร่วมงานกับบริษัทอื่นๆ ที่หยิบยื่นโอกาสมาให้เราเช่นกันได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบให้แล้ว

จัดทำเช็คลิสต์เพื่อคิดทบทวน

อันดับแรกเลยก่อนการปฏิเสธเข้าทำงานกับบริษัทใดๆ ก็ตาม ควรนั่งคิดวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนอีกครั้ง ถามใจตัวเองให้หนักๆ ถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละบริษัทที่หยิบยื่นข้อเสนอมา ว่าบริษัทไหนโดนใจคุณมากที่สุด โดยหลักที่ควรพิจารณาคร่าวๆ ได้แก่ ลักษณะงาน, วัฒนธรรมองค์กร, สวัสดิการ, สถานที่ตั้ง และอื่นๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ยังต้องเผื่อใจยอมรับผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิเสธงานของเราในครั้งนี้ด้วย เช่น

- เราจะเปลี่ยนใจกลับมารับโอกาสนี้ไม่ได้แล้ว

- อาจมีผลต่อการสมัครงานกับบริษัทนี้ในอนาคต

- อาจได้รับคำพูดที่ไม่ดีจาก HR ที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ

- อาจมีการต่อรองเงินเดือนก่อนขึ้น หากบริษัทนั้นๆ อยากได้เราไปร่วมงานจริงๆ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ก็ไม่ได้จะเกิดขึ้นเสมอไป ดังนั้นจึงไม่ควรที่กังวลจนเกินไปในการปฏิเสธเข้าร่วมงานกับบริษัทนั้นๆ แต่หลักสำคัญคือต้องคิดให้รอบคอบที่สุดเท่านั้นเอง เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม จะเป็นไปได้ยากแล้ว

คิดให้รอบคอบ ใช้เวลาให้เหมาะสม

ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า เราควรคิดให้ถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนที่จะตอบตกลงหรือปฏิเสธการเข้าทำงานกับบริษัทใดๆ ก็ตาม เพราะเมื่อตอบตกลงไปแล้ว การจะเปลี่ยนแปลงอะไรภายหลังนั้น บอกเลยว่าเป็นไปได้ยากมาก ดังนั้นเมื่อได้รับแจ้งจากฝ่ายบุคคลว่าเขารับเราเข้าทำงานแล้ว ยังไม่ควรตอบตกลงในทันที แต่ควรขอเวลาจากเขาสักประมาณ 1 วัน หรือหากบริษัทนั้นรีบจริงๆ ก็ควรขอเวลาตัดสินใจอย่างน้อยสักประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เราใช้เวลานี้ในการพิจารณาถึงผลดีผลเสียต่างๆ ก่อนที่จะให้คำตอบกลับไป

แต่เราก็ไม่ควรที่จะทิ้งเวลาไว้ให้นานกว่าที่แนะนำไป เพราะต้องอย่าลืมว่าฝ่ายบุคคลของแต่ละบริษัทก็ย่อมที่จะวิธีการทำงานหรือกระบวนการรับสมัครงานในเวลาที่จำกัด พวกเขาต้องไปยกเลิกประกาศรับสมัครงาน ชะลอการเรียกสัมภาษณ์ผู้เข้าสมัครคนอื่น หรือแม้กระทั่งปฏิเสธผู้ที่ไม่ได้ถูกเลือก ดังนั้นการคิดให้รอบคอบนั้น ก็ควรอยู่ในพื้นฐานของเวลาที่เหมาะสมด้วย

ความเงียบไม่ได้ชนะทุกสิ่ง

บางคนกลัวการเผชิญหน้า จึงอาจตัดสินใจผิดในการเลือกใช้ความเงียบเพื่อสยบการปฏิเสธงาน ซึ่งขอบอกเลยว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมมากๆ เพราะอย่างที่บอกไปว่าฝ่ายบุคคลแต่ละบริษัท ก็ต้องมีกระบวนการหลายอย่างในการรับสมัครคนเข้าบริษัท หากเราเงียบไม่ให้คำตอบเขา อาจจะทำให้เขารอ หรือเกิดผลเสียหรือความเสียหายหลายๆ อย่างตามมาได้

นอกจากนี้การหายตัวไปยังอาจทำให้คุณติดแบล็คลิสต์ในกลับมาร่วมงานกลับบริษัทนี้ในอนาคต หรือาจจะรวมไปถึงโอกาสในบริษัทอื่นๆ ด้วย เพราะอย่าลืมโลกสมัยนี้กลมมาก เรื่องราวของคอนเนคชันเป็นสิ่งที่สำคัญ เฉกเช่นเดียวกับวงการ HR ในบริษัทต่างๆ ก็แคบมากเช่นกัน พวกเขาอาจส่งต่อข้อมูลถึงกัน จึงอาจส่งผลให้การสมัครงานในอนาคตของคุณยากขึ้นเป็น 2 เท่า

ดังนั้นให้คิดว่าการปฏิเสธไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ไม่ควรใช้เงียบในการแก้ปัญหานี้อย่างเด็ดขาด!

เลือกใช้คำพูดสุภาพและเป็นทางการ

ขึ้นชื่อว่าการปฏิเสธไม่ว่าเรื่องใดๆ ก็ตาม เราควรใช้คำพูดที่สุภาพและเหมาะสม เพื่อไม่ให้ผู้ถูกปฏิเสธเสียความรู้สึก และยิ่งโดยเฉพาะเรื่องงาน จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้คำพูด ไม่ว่าจะเป็นการตอบปฏิเสธทางอีเมลหรือว่าทางโทรศัพท์ ก็ควรเลือกใช้คำที่ดูสุภาพ เป็นทางการ และดูเป็นมืออาชีพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

โดยสรรพนามที่ใช้ควรเป็น ดิฉัน หรือ ผม ไม่ควรใช้คำว่า ฉัน เรา หรือหนู หากคุณเลือกตอบปฏิเสธงานทางอีเมล ควรมีการใช้คำขึ้นต้นและลงท้ายตามหลักการเขียนจดหมายด้วย เช่น เรียนฝ่ายบุคคล และลงท้ายด้วยคำว่าขอแสดงความนับถือ เป็นต้น

ส่วนการพูดคุยทางโทรศัพท์ ควรใช้น้ำเสียงที่ดูนุ่มนวล สุภาพ แสดงถึงการปฏิเสธอย่างจริงใจ กล่าวขอโทษ รวมถึงขอบคุณสำหรับโอกาสที่บริษัทนั้นหยิบยื่นมาให้

ขอโทษและขอบคุณ

การปฏิเสธงานไม่ใช่เรื่องผิด เพราะอย่างที่บอกว่าเรามีสิทธิ์เลือกสิ่งที่ใช่ที่สุดให้กับตัวเราได้เสมอ แต่จะทำอย่างไรล่ะให้ผู้ถูกปฏิเสธรู้สึกเสียความรู้สึกน้อยที่สุด อย่างแรกเลยคือการขอโทษ เราควรบอกกล่าวขอโทษฝ่ายบุคคลของบริษัทนั้นๆ อย่างจริงใจ ตามด้วยคำขอบคุณที่บริษัทนั้นๆ ได้หยิบยื่นโอกาสในด้านการงานมาให้ พร้อมถึงการเล็งเห็นถึงศักยภาพของเรา ในการเลือกเราเข้าไปทำงานด้วย เพราะถึงแม้พวกเขาจะรู้สึกไม่ดีกับคุณแค่ไหนก็ตาม อย่างน้อยการได้แสดงคำขอโทษและคำขอบคุณอย่างจริงใจ เราเชื่อว่าผู้ถูกปฏิเสธจะต้องเข้าใจคุณบ้างแหละ

เลือกใช้เหตุผลที่ดีและเหมาะสม

เมื่อกล่าวขอโทษและขอบคุณไปแล้ว ก็ควรตามมาด้วยการบอกเหตุผล ว่าทำไมเราถึงต้องปฏิเสธข้อเสนอในการทำงานครั้งนี้ แม้เหตุผลที่ต้องใช้บางครั้งอาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป แต่ก็เพื่อเป็นการแสดงความเป็นมืออาชีพและทำให้ผู้ฟังไม่รู้สึกแย่จนเกินไป โดยตัวอย่างของเหตุผลที่สามารถนำไปใช้ได้ เช่น

- อยากลองหาโอกาสในการหางานที่ตรงกับความสามารถมากที่สุดก่อน

- ได้รับข้อเสนอที่ตรงกับทักษะมากกว่า

- ได้รับข้อเสนอจากบริษัทที่การเดินทางสะดวกกว่า

ตอบกลับด้วยวิธีเดียวกัน

ในแต่ละบริษัทมักจะมีการแจ้งผลการรับเข้าทำงานที่แตกต่างกัน โดยหลักๆ แล้วจะเป็นช่องทา

งอีเมลหรือไม่ก็ไม่โทรศัพท์ ซึ่งถ้าคุณได้รับการแจ้งผลผ่านช่องทางใด ก็ควรแจ้งกลับผ่านช่องทางนั้นเช่นเดียวกัน ไม่ควรใช้ตอบการกลับผ่านช่องทางแตกต่าง เช่น บริษัทนี้แจ้งผลคุณทางโทรศัพท์ แต่คุณกลับไม่กล้าเผชิญหน้าด้วยการพูดคุย แล้วเลือกปฏิเสธด้วยการส่งอีเมลแทน แบบนี้ก็ดูจะไม่สมควรนัก แถมยังเป็นการเสียมารยาทกลายๆ อีกด้วย

ตอบกลับให้กระชับ เข้าใจง่าย

นอกจากการตอบปฏิเสธข้อเสนองานด้วยคำที่สุภาพแล้ว หากคุณต้องตอบข้อความผ่านทางอีเมลควรตอบด้วยถ้อยคำที่กระชับและเข้าใจง่าย โดยใจความหลักที่ระบุควรพูดถึงแต่การแสดงถึงความเสียใจต่อความไม่สะวดกที่เกิดขึ้นในการปฏิเสธการเข้าทำงานของคุณ ไม่ควรเจาะจงถึงเหตุผลที่ลงรายละเอียดลึกจนเกินไป รวมไปถึงถ้อยคำที่ห้ามใช้เด็ดขาด คือการพูดถึงแง่ลบของบริษัทที่คุณปฏิเสธ หรืออะไรอื่นๆ ที่เป็นข้อเสียก็อย่าไปพูดถึง ให้ผู้ถูกปฏิเสธคิดว่าเหตุผลหลักคือมาจากคุณเท่านั้น ก็จะดูเป็นมืออาชีพมากกว่า

ระมัดระวังเรื่องสัญญา

อีกหนึ่งข้อที่ต้องระวังในการปฏิเสธงานก็คือ อย่าไปเผลอเซ็นสัญญากับบริษัทไหน ถ้ายังไม่มั่นใจว่าจะทำงานกับที่นั้นจริงๆ เพราะสัญญาจ้างงานจะมีผลบังคับทางกฎหมาย อาจทำให้เกิดการฟ้องร้องทางกฎหมายได้ แต่ถ้าหากต้องการยกเลิกสัญญาจริงๆ ควรศึกษารายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญาให้ชัดเจนก่อนกระทำการใดๆ

แต่ทางที่ดีควรตัดสินใจให้รอบคอบว่าจะทำงานกับที่ไหน ถ้าคิดว่าชัวร์แล้วที่จะทำงานกับบริษัทนี้แน่ๆ ก็ค่อยเซ็นสัญญา เพราะถ้าเซ็นสัญญาไปแล้ว บอกเลยว่าการปฏิเสธจะยากมากขึ้นอีกเท่าตัวเลยล่ะ

แนะนำผู้สมัครคนอื่น

เมื่อทำตามวิธีข้างต้นไปจนครบแล้ว อาจลองแนะนำผู้สมัครคนอื่นที่คุณคิดว่ามีทักษะและคุณสมบัติที่ตรงกับตำแหน่งงานนี้ให้กับฝ่ายบุคคลของบริษัทนั้นด้วยก็ได้ อย่างน้อยก็เป็นการช่วยในการหาผู้สมัครคนใหม่ๆ มาแทนตำแหน่งที่คุณปฏิเสธไป ถ้าฝ่ายบุคคลถูกใจ เขาก็จะได้ไม่ต้องไปนั่งควาญหาคนใหม่ด้วยตัวเอง แถมยังอาจไม่เสียความรู้สึกกับเรามากไปอีกด้วย

รักษาคอนเนคชัน

นอกจากนี้อาจจะลองปิดท้ายการสัมภาษณ์ด้วยการลงท้ายข้อความว่า หากฝ่ายบุคคลของบริษัทนั้นต้องการความช่วยเหลือด้านใด สามารถติดต่อกันได้เสมอ หรือหากคุณสมัครงานกับบริษัทนั้นผ่านช่องทาง Linkedin ก็ลองเชื่อมต่อเป็นเพื่อนกับฝ่ายบุคคลหรือกด Follow บริษัทนั้นไว้ เพื่อเป็นรักษาคอนเนคชันไว้ในอนาคตด้วยก็ได้

สรุปวิธีปฏิเสธการร่วมงานกับบริษัทที่รับเราเข้าทำงาน

การปฏิเสธเข้าทำงานไม่ใช่เรื่องผิด เพราะทุกคนสามารถเลือกสิ่งที่ตรงใจตัวเองได้เสมอ อย่าไปกลัวว่าถ้าเราไม่รับข้อเสนอแล้วจะทำให้เราดูไม่ดี แต่การปฏิเสธต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นมืออาชีพ มีการเลือกใช้คำและวิธีที่เหมาะสม แค่นี้ก็จะทำให้บริษัทนั้นๆ เข้าใจถึงสาเหตุของเรา และ Happy Ending กันทั้งสองฝ่ายแน่นอน

อย่างไรก็ตามหากคุณมีคำตอบในใจแล้วว่า เป้าหมายของคุณคืออะไร โอกาสดี ๆ มากมายรอคุณอยู่แล้ววันนี้ที่ JobsDB แอปพลิเคชันหางานอันดับหนึ่งของไทย เลือกงานที่ใช่ องค์กรที่ชอบ สมัครเลย!

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a9%e0%b8%b1%e0%b8%97/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%9b/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด