Digital Detox ปิดมืดถือแล้วอยู่กับตัวเอง เทรนด์พักใจของคนวัยทำงาน

Digital Detox ปิดมืดถือแล้วอยู่กับตัวเอง เทรนด์พักใจของคนวัยทำงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ใครเป็นบ้าง ว่างไม่ได้เลยเป็นต้องจับมือถือขึ้นมาไถฟีด เช็ก Facebook เช็กไลน์ เช็กอีเมลตลอดเวลา มีมือถือเป็นอวัยวะที่ 33 ขนาดเข้าห้องน้ำไปอาบน้ำ ก็ต้องพกไปด้วย เรียกว่าห่างจากมือถือแล้วใจคอไม่ค่อยดี ถ้าคุณมีอาการแบบนี้บางทีคุณอาจกำลังมีอาการเสพติดมือถือขั้นหนัก จนบางทีก็มีอาการรู้สึกแย่จากการเสพติดโซเชียลมีเดีย หรือรู้เครียดจากเรื่องงานที่ติดเช็กอีเมลหรือตอบแชทตลอดเวลา ถ้ามีอาการแบบนี้คุณอาจต้องการการทำ Digital Detox เป็นตัวช่วยให้คุณได้คลายกังวล

Digital Detox ปิดมืดถือแล้วอยู่กับตัวเอง เทรนด์พักใจของคนวัยทำงาน

รู้จัก Digital Detox

วิธีการทำ Digital Detox คือ การบำบัดอาการเสพติดเทคโนโลยีผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือถือ แทปเล็ท ไปจนถึงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค แก้ไขอาการเสพติดโซเชียลมีเดีย ด้วยวิธีการ “พัก” หรือ “เว้น” จากการใช้เทคโนโลยีหรือโซเชียลมีเดีย “ชั่วคราว” หยุดแชท หยุดเล่น หยุดไลฟ์ หยุดไถฟีด Facebook Twitter เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้ว่า ไม่ต้องเล่นมือถือบ้างก็ได้

ทำไมต้องบำบัดอาการเสพติดเทคโนโลยี

จากการศึกษาของ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน พบว่า เกือบ 1 ใน 5 ของคน พูดว่าเทคโนโลยีเป็นแหล่งความเครียด ส่งผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพ จากอาการปวดคอ ริ้วรอย ไปจนถึงความดันโลหิตสูง เราลองมาแยกผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเล่นมือถือมากเกินไปทีละข้อกันดีกว่า

  1. ผลเสียต่อสุขภาพจิต

มีผลการสำรวจจากหลายสำนักพบว่า มีหลายคนที่มีความคิดเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นผ่านการดูโซเซียลมีเดีย ซึ่งจำนวนมากมักมีภาวะซึมเศร้าตามมา และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย นอกจากนี้คนที่ติดการเช็กอีเมล ตอบแชทงานตลอดเวลายังทำให้คนทำงานมีอาการ burnout เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

  1. ผลเสียต่อสุขภาพกาย

ท่านั่งเล่นโทรศัพท์มือถือหรือนั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ ทำให้คนส่วนใหญ่นั่งผิดท่าโดยไม่รู้ตัว อวัยวะหลายอย่างถูกใช้งานอย่างหนัก ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ เช่น ต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง ข้อมือ อาจมีอาการนิ้วล็อก office syndrome หรือสายตาล้าจากการเพ่งจอเป็นเวลานาน ถ้าหนักเข้าอาจทำให้จอประสาทตามีปัญหาได้

  1. ภาวะการนอนไม่ดี

การเล่นมือถือ โซเชียลมีเดียส่งผลต่อภาวการณ์นอนในคนจำนวนมาก มีงานศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียมากกว่า 1 ชม. ต่อวัน มักมีปัญหาด้านการนอน อาจจะทำให้นอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับไม่สนิท ทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลโดยตรงให้ร่างการอ่อนแอ รู้สึกเหนื่อย เพลีย ไปจนถึงรู้สึกเครียดได้ง่าย

  1. อาการรอไม่ได้

เทคโนโลยีเดี๋ยวนี้เน้นความเร็วเป็นหลัก ต้อง google ได้เร็ว เปิดโปรแกรมได้เร็ว แชทหาเพื่อนได้เร็ว อยากรู้อะไรต้องได้รู้เดี๋ยวนี้ตอนนี้ เมื่อเคยชินมาก ๆ เข้า ก็จะทำให้คนใจร้อนมากขึ้น ไม่สามารถอดทนรออะไรนาน ๆ ได้อีกต่อไป

  1. อาการโนโมโฟเบีย (Nomophobia)

Nomophobia ย่อมาจาก No mobile phone phobia ใช้สำหรับเรียกอาการขาดโทรศัพท์มือถือไม่ได้ ต้องเอามือถือไปด้วยทุกที่ ไม่ว่าจะกินข้าว เข้าห้องน้ำ อาบน้ำ นอน เมื่อไม่มีมือถือจะเกิดอาหารวิตกกังวล กระวนกระวาย หวาดกลัว หงุดหงิดเมื่อขาดมือถือ รู้สึกเหมือนขาดการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก

วิธีทำ Digital Detox

  • ปิดแจ้งเตือนมือถือ

เริ่มจากการปิดเสียงปิดสั่นแจ้งเตือนมือถือหรือ Notification ในเวลาที่ต้องการซะ เพื่อเป็นการตัดวงจรความอยากรู้ อยากหยิบมือถือขึ้นมาดูเมื่อได้ยินเสียงเตือน หรือถ้าอยู่ในเวลางานแล้วจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกับคนอื่นอยู่ แนะนำให้ลองเลือกช่วงเวลาที่มักจะเป็นช่วงว่าง ๆ ไม่ค่อยมีใครติดต่อเข้ามา ลองใช้เวลาสัก 15 – 30 นาทีเพื่อปิดแจ้งเตือน แล้วไปโฟกัสกับงานที่ต้องใช้สมาธิทำมาก ๆ แทน

  • กำหนดช่วงเวลาเล่นมือถือ

ลองฝึกวินัยให้กับการเล่นมือถือของตัวเอง เช่น อนุญาตให้ตัวเองเล่นมือถือได้ตั้งแต่เวลา 20.00 – 21.00 น. ไม่เล่นมือถือก่อนเวลาที่ตั้งใจจะเข้านอน 1 ชั่วโมง หรือถ้าต้องเปิดคอมทำงาน ก็ลองกำหนดว่าจะทำงานถึงหนึ่งทุ่มเท่านั้น หรือจะทำงานช่วง 13.00 – 15.00 น. เท่านั้นในวันหยุด ที่สำคัญคือ เมื่อตั้งเวลาไว้แล้ว ก็ต้องทำตามกันที่สัญญาไว้กับตัวเองอย่างเคร่งครัด

  • หากิจกรรมอย่างอื่นทำยามว่าง

แทนที่จะนั่งเล่นนอนเล่นมือถือตอนว่าง ๆ ลองหากิจกรรมอื่นทำดู ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ เล่นกับน้องหมาหรือสัตว์เลี้ยงตัวโปรด พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวแบบตัวเป็น ๆ แต่ถ้าอยากแก้อาการว่างไม่ได้ต้องจับมือถือ ก็ลองหันมาพกหนังสือสักเล่ม แล้วว่างเมื่อไหร่ก็เปลี่ยนมาหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน แทนการหยิบมือถือขึ้นมาสไลด์หน้าฟีด

  • ชาร์จมือถือไว้นอนห้องนอน

มีหลายงานวิจัยพบว่า ห้องนอนเป็นพื้นที่ที่ไม่ควรมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ มือถือก็เช่นกัน ถ้าคนใช้มือถือเป็นนาฬิกาปลุกล่ะก็ เราแนะนำให้คุณเปลี่ยนมาใช้นาฬิกาปลุกจริง ๆ ดีกว่าแล้วชาร์ตมือถือไว้นอกห้องนอนไปเลย เพราะทุกเช้าที่คุณเอื้อมมือไปกด snooze หรือกดปิดเสียงปลุก มันจะทำให้คุณเผลอกดเปิดแอปโซเชียลมีเดียต่าง ๆ โดยที่คุณแทบไม่ต้องใช้ความคิด และรู้สึกเคยชินได้อย่างง่ายดาย

ถ้าอยากรู้สึกดีกับชีวิต แก้ไขอาการปวดหลังปวดไหล่ หรืออ่อนเพลียจากการนอนไม่พอ เครียดเกินไปจากการทำงานหนักโดยไม่รู้ตัว ลองเอาวิธีทำ Digital Detox ที่เราแนะนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตัวเองดู หวังว่าทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และ Social media อยากสูงสุดโดยที่ยังรักษาสมดุลให้ชีวิต มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตลอดไป

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a-time-blocking/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9d%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b4-mindfulness/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/stress-management/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/nomophobia-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%96%e0%b8%b7%e0%b8%ad/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด