แก้ปัญหาธุรกิจ สร้างนวัตกรรมที่แตกต่างด้วย Design Thinking

แก้ปัญหาธุรกิจ สร้างนวัตกรรมที่แตกต่างด้วย Design Thinking
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

หลายครั้งที่โจทย์ทางธุรกิจก็ยากเกินกว่าที่แก้ไขด้วยวิธีเดิม ๆ แถมงานที่หนักอยู่แล้วก็อาจจะทำให้ความคิดไม่แล่น คิดหาทางออกใหม่ ๆ เพื่อ แก้ปัญหา ไม่ได้ และเมื่อไม่กี่ปีมานี้มีแนวคิดหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก และได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยสร้างกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการนำแนวทางของนักออกแบบมาใช้ และแนวคิดนั้นก็คือ Design Thinking

แก้ปัญหาธุรกิจ สร้างนวัตกรรมที่แตกต่างด้วย Design Thinking

Design Thinkingหรือการคิดเชิงออกแบบเป็น กระบวนการคิดรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการแก้ปัญหาแบบไม่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ ใช้สร้างสรรค์ และค้นหานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ทั้งทางด้านธุรกิจและชีวิตที่เปลี่ยนไปไม่ซ้ำในแต่ละวัน โดยเน้นไปที่การค้นหาปัญหาที่แท้จริงให้เจอก่อน แล้วเริ่มหาไอเดียที่สามารถนำมาเป็นทางออกของปัญหานั้น ๆ ได้ จากนั้นจึงเริ่มทดสอบและพัฒนาไอเดียนั้น ๆ ให้เกิดขึ้นจริงและนำไปใช้ต่อไป

แนวคิดเชิงออกแบบ โด่งดังมาจากการเป็นแนวคิดพื้นฐานของบริษัท Startup ที่เน้นการแบ่งรูปแบบการทำงานเป็นเฟสย่อย ๆ (Sprint) กระจายงานแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับคนในทีมเป็นส่วน ๆ แบบที่ไม่เน้นการจ่ายงานแบบเป็นทอด ๆ (Agile development) และลดขั้นตอนรวมถึงคน (Lean startup) เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและผลิตผลงานออกมาได้เร็วขึ้น ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจได้ทุกประเภท เพราะเน้นไปที่การแก้ปัญหา ค้นหาปัญหาที่แท้จริง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จะเป็นการสร้างสินค้าและบริการใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ตลาดในปัจจุบัน โดยที่แนวคิดหลักของ Design Thinking แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

  1. การเข้าใจปัญหา

หากคุณพบว่าสินค้าที่คุณเสนอขายกลับขายไม่ออก คุณต้องกลับมาตั้งคำถามแล้วว่าทำไมถึงขายไม่ออก และเริ่มทำความเข้าใจปัญหานั้นอย่างจริงจัง โดยการทำความเข้าใจปัญหานี้ต้องทำผ่านมุมมองของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด หรือถ้าเป็นปัญหาในการบริหารงานและการทำงาน ก็ลองเข้าไปทำความเข้าใจและคิดในมุมของพนักงานหรือคนที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ ด้วย ซึ่งสามารถทำได้ผ่านทางการสังเกต การสอบถาม หรือการหาประสบการณ์ร่วมเพื่อที่จะได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ และเข้าใจปัญหาได้ถึงแก่นมากขึ้น

  1. หาไอเดียแบบ “ไม่ติดกรอบ”

หลังจากที่เข้าใจปัญหาแล้ว ก็จะทำให้สามารถตั้งคำถามได้อย่างถูกต้อง เมื่อมาถึงขั้นตอนการหาคำตอบก็สามารถคิดหาไอเดียแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่ หัวใจหลักของแนวคิดเชิงออกแบบ คือความเชื่อที่ว่าทางออกของปัญหาไม่ได้มีทางเดียวเสมอไป ซึ่งเป็นที่มาของการคิดแบบ “ไม่มีกรอบ” ลอง brainstorming กับทีมและสนับสนุนให้ทุกคนโยนไอเดียที่คิดได้ออกมาก่อนโดยไม่ต้องสนว่าไอเดียนั้นจะแปลกใหม่แค่ไหน จากนั้นค่อยมาคัดเลือกความเป็นไปได้ที่จะในไปใช้ทีหลังผ่านปัจจัยทางด้าน “เวลา” และ “ค่าใช้จ่าย”

  1. ทดสอบและทำให้เกิดขึ้นจริงให้เร็ว

เมื่อได้แนวทางการแก้ปัญหาหรือไอเดียที่ผ่านการคัดเลือกมาจำนวนหนึ่งแล้ว ให้นำเอาไอเดียนั้น ๆ มาทำให้เกิดขึ้นจริงผ่านการสร้างต้นแบบ หรือ “Prototype” ซึ่งเป็นเหมือนการทำเดโม่เพื่อทดสอบฟีดแบคเบื้องต้นจากลูกค้า ยึดหลักการไม่กลัวพลาด เน้นทดสอบหลาย ๆ ครั้ง แม้จะต้องล้มเหลวก็ต้องกลับตัวลุกขึ้นมาทำใหม่ให้เร็วให้ได้ จะได้รู้ผลตอบรับให้มากที่สุด เพื่อเอามาพัฒนาปรับปรุงไอเดียทางแก้ปัญหาที่จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

ไม่ว่าตอนนี้คุณกำลังทำธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ เจอปัญหาภายในหรือจากภายนอกองค์กร หรือแม้แต่อยากคิดค้นผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ายุคดิจิทัล ก็สามารถนำเอาแนวคิดเชิงออกแบบไปปรับใช้ให้เหมาะกับปัญหาและโจทย์ที่คุณเจออยู่ได้ ไม่แน่คุณอาจเป็นคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า หรือหาวิธีการแก้ปัญหาในการทำงานภายในบริษัทของคุณเองที่เรื้อรังมานานด้วยเครื่องมือแนวคิดเชิงออกแบบที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทชั้นนำทั่วโลกมาแล้วก็ได้

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/problem-solving-skill/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/why-why-diagram/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด