Coaching and Mentoring ระบบไหนที่เหมาะสำหรับทีมของคุณ

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

           ระบบการทำงานเป็นทีมทำให้ “ทักษะความเป็นผู้นำ” (Leadership skill) เป็นอีกหนึ่งทักษะที่นับวันก็ยิ่งทวีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นผลงานหรือผลประกอบการของบริษัทก็สามารถแปรผันตรงได้กับทักษะความเป็นผู้นำที่ดี เพราะถ้าหัวขบวนสามารถนำลูกน้องในทีมทำงานไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว งานต่าง ๆ ก็จะออกมาดีได้ไม่ยาก ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ของทักษะความเป็นผู้นำสามารถแบบคร่าว ๆ ได้ 2 ลักษณะ นั้นก็คือ “ผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช” (Coaching) และ “ผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง” (Mentoring) ซึ่งแม้ทั้งสองแบบจะสามารถใช้นำทีมได้เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียดและผลลัพธ์อยู่ไม่น้อย มาดูกันว่าระหว่างการนำทั้งสองแบบมีความต่างกันอย่างไร และเลือก lead ลูกทีมแบบไหนให้เหมาะกับงานและลูกน้องของคุณ

Coaching and Mentoring ระบบไหนที่เหมาะสำหรับทีมของคุณ

ผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช และผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง คืออะไร

           นิยามของผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช คือ การแนะนำลูกน้องผ่านวิธีการที่จะช่วยทำให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมาย เป็นเหมือนการแนะนำวิธีการ Guideline หรือคำถามแบบ Supportive ที่จะช่วยให้ลูกทีมกลับไปคิดต่อเพื่อสะท้อนความคิด และดึงความสามารถสูงสุดของลูกทีมออกมาใช้ในการทำงานและแก้ปัญหา

           ส่วนนิยามของผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง หมายถึง การเป็นพี่เลี้ยงที่ร่วมแชร์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของตนเอง เพื่อช่วยให้ลูกทีมสามารถหาทางพัฒนาตนเองและเติบโตต่อไปได้ ผ่านการชี้แนะแนวทางแบบ Directive ด้วยการพูดคุยที่ตรงประเด็น

 

6 ข้อแตกต่างของผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ชและพี่น้อง

  1.     จุดประสงค์ (Focus)

          ผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช เน้นไปที่การพัฒนาทักษะ (skills) และ กลยุทธ์ (strategies) เพื่อให้สามารถสร้างผลงานและทำเป้าหมายระยะสั้นได้สำเร็จตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้

          ผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเฉพาะบุคคล เพื่อให้สามารถพัฒนาวิธีคิดและวิธีการทำงานผ่านพื้นฐานและความสามารถเฉพาะตัวของบุคคลนั้น ๆ

 

  1.     บทบาท (Function)

          ผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช มีหน้าที่ช่วยทำให้พนักงานสามารถทำงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายและเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงของงานได้สำเร็จ

          ผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง มีหน้าที่พัฒนาศักยภาพพื้นฐานของพนังงานแต่ละคน เพื่อให้พวกเข้าเหล่านั้นสามารถพัฒนาตัวเองไปถึงจุดที่จะสร้างความเติบโตระยะยาวให้กับอาชีพการงาน รวมไปถึงการตัดสินใจต่าง ๆ ให้กับตัวเองได้ดีขึ้น

 

  1.     ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและลูกทีม (Relationship)

          ผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช คนที่ถูกโค้ชมักจะถูกเลือกเพื่อให้เหมาะสมกับตัวโค้ชเอง จะได้สามารถดึงความสามารถมาทำงานและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

          ผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง ผู้ที่ได้รับคำแนะนำ (Mentee) มักจะเป็นคนเลือกพี่เลี้ยง (Mentor) เอง โดยเลือกจากประสบการณ์ ความรู้และแนวทางการทำงานที่จะสามารถให้คำแนะนำตัว Mentee ให้ต่อยอดและเติบโตทางอาชีพการงานได้

 

  1.     อำนาจในการจัดการ (Authority)

          ผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช ตัวโค้ชเองจะมีอำนาจและหน้าที่เพื่อที่จะจัดการบริหารจุดประสงค์ของการโค้ชในแต่ละครั้ง

          ผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง ส่วนใหญ่แล้วตัว Mentor หรือพี่เลี้ยงมักจะเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าในองค์กร แต่เรื่องอำนาจในการควบคุมและการให้คำแนะนำมักขึ้นอยู่กับนิสัยส่วนตัวของ Mentor คนนั้น ๆ

 

  1.     ผลที่ได้จากการเทรน (Reward)

          ผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช ผลตอบแทนที่ได้จากการเทรนผ่านวิธีโค้ชที่นอกเหนือไปจากการทำเป้าหมายระยะสั้นสำเร็จแล้ว ยังมีคุณค่าในตัวเองที่ตัวผู้ถูกโค้ชจะได้รับเมื่อทำงานนั้น ๆ สำเร็จ ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นการเรียนรู้ทางเดียวที่ผู้ถูกโค้ชมักได้รับบทเรียนจากโค้ชเท่านั้น

          ผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง ความสัมพันธ์ระหว่างการเทรนของ Mentor และ Mentee มักเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากกว่าแบบ coaching และมักมีแนวโน้มที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเติบโตในการอาชีพการงาน และพัฒนาความสามารถได้อย่างเป็นมืออาชีพ

 

  1.     ขอบเขตของกิจกรรม (Area of Activity)

          ผู้นำที่เป็นเหมือนโค้ช มักเป็นโปรแกรมที่องค์กรตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงตามเนื้องานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ

          ผู้นำที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง มักถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่า เช่น การพัฒนา soft skills ที่จะสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับอาชีพได้ในระยะยาว เหมือนเป็นการปลูกฝังแนวคิดและจิตวิญญาณในการทำงานเพื่อให้สามารถเติบโตไปในทิศทางที่เหมาะสมได้

 

           ทั้งการ Coaching และ Mentoring สามารถที่จะจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาฝึกฝนพนักงานในบริษัทได้ โปรแกรมการโค้ชสามารถใช้ฝึกผู้บริหารให้มี Mindset และภาวะผู้นำที่ดีกว่าเก่า หรือจะจ้างที่ปรึกษา เพื่อให้มาเป็น Mentor ประจำบริษัทที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าไปปรึกษาได้ และไม่ว่าจะเป็นการโค้ชหรือว่า Mentoring คุณก็สามารถเลือกวิธีการที่เหมาะสม หรือจะประยุกต์ใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกันก็ได้เพื่อนำไปใช้พัฒนาศักยภาพการทำงาน แนวคิด รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กรที่จะช่วยส่งเสริมให้การทำงานในบริษัทมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

Coaching อย่างไรให้ได้เลือดใหม่ที่ดี

“Coaching” พนักงานให้เรียนรู้งานเร็ว

เทคนิคการทำงานเป็นทีมให้เกิดประสิทธิภาพ

คุณบริหารลูกน้องแบบไหน เพื่อนร่วมงานหรือบ่าวรับใช้
บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023Coaching and Mentoring ระบบไหนที่เหมาะสำหรับทีมของคุณ

อีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังกระแสและเป็นที่น่าจับตามองในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้น SMEs รวมไปถึงบรรดา Startup ทั้งหลาย เพราะปัจจุบัน...
ในยุคนี้นอกจากที่บริษัทจะต้องสร้างกลยุทธ์เพื่อมัดใจลูกค้าให้ยังซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ แล้ว การมัดใจพนักงานคนรุ่นใหม่...
ช่วงนี้มนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานออฟฟิศทั้งหลายเรียกได้ว่าเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลยื่นภาษีกันแล้ว ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธ...

คำค้นหายอดนิยม

Scroll to Top