มากกว่าหมดไฟคือหมดใจ Brownout Syndrome คนทำงานต้องรู้

มากกว่าหมดไฟคือหมดใจ Brownout Syndrome คนทำงานต้องรู้
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

“เช้านี้ไม่อยากลุกขึ้นไปทำงาน ไม่อยากพบหน้าเพื่อนร่วมงาน ไม่อยากไปหาลูกค้า ไม่อยากรีพอร์ตงานกับหัวหน้า” ความรู้สึกเหล่านี้ ถ้าวนเวียนอยู่ในความคิดของคุณอยู่เรื่อย ๆ มาสักพัก ก็อาจไม่ใช่เพียงแค่อาการ หมดไฟในการทำงาน ที่เกิดจากการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย ไม่ได้พัก แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของอาการหมดใจในการทำงาน หรือ Brownout Syndrome ที่ได้รับการรับรองจาก WHO ว่าเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ และอาการนี้ส่งผลให้มีพนักงาน ลาออก จากงานมากถึง 40% (ข้อมูลจาก Corporate Balance Concepts)

Brownout Syndrome

นอกจากคนทำงานที่ต้องรู้จักโรค Brownout Syndrome แล้ว องค์กรเองก็ควรที่จะต้องทราบ เพราะอาการนี้กำลังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พนักงานเก่ง ๆ ตัดสินใจลาออกจากองค์กร ทำให้องค์กรต้องสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถไป ดังนั้นควรทราบถึงสาเหตุและหนทางแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไป

เช็กลิสต์อาการ Brownout

ก่อนอื่นมาเช็กอาการกันสักนิด ว่าคุณเข้าข่ายภาวะหมดใจ หมดพลัง ในการทำงานอยู่หรือเปล่า

- ความกระตือรือร้นในการทำงานลดลง

- ไม่อยากทำงานนอกเหนือเวลางาน เช่น ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานเสาร์ อาทิตย์ จากที่เมื่อก่อนเคยทำได้

- มีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอ ป่วยบ่อย ๆ ซึมลง ใส่ใจตัวเองน้อยลง

- ไม่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร

- ปลีกตัวจากสังคม เพื่อนร่วมงาน

- ขาดความสนใจในเรื่องทั่วไป ยกเว้นเรื่องงาน

- รู้สึกกดดันจากการทำงาน เหมือนองค์กรคอยเพ่งเล็ง จับผิด

สาเหตุ vs ทางแก้

เมื่อเช็กอาการแล้วว่าตัวคุณหรือพนักงานในองค์กรมีแนวโน้มจะเป็น Brownout Syndrome ก็ควรหาสาเหตุของโรค ว่ามาจากอะไรบ้าง และจะสามารถแก้ไขได้อย่างไร

สาเหตุ : องค์กรมีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากจนเกินไป

บางองค์กรมีกฎระเบียบที่จุกจิกยิบย่อยมาก  จนทำให้พนักงานรู้สึกอึดอัด เช่น มาสาย 1 นาที หักเงินตั้งแต่ครั้งแรก หรือห้ามพนักงานพักเบรกนอกจากเวลาทานข้าว เป็นต้น

แก้ไข : ปรับกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่น

ยิ่งสถานการณ์โควิดแบบนี้ทำให้หลายองค์กรต้องให้พนักงาน Work from Home ฉะนั้นกฎระเบียบก็ควรปรับให้สอดคล้องกัน เช่น หากเข้างานสายเกิน 3 ครั้ง เรียกตักเตือนก่อน แล้วจึงค่อยหักเงินในครั้งต่อไป หรือควรมีพักเบรกระหว่างวัน 10 นาที เป็นต้น

สาเหตุ :ความไม่เท่าเทียมกันในการทำงาน

ไม่ว่าพนักงานจะทำงานดีแค่ไหน หรือทำงานแย่เพียงใด ก็จะได้รับผลตอบแทนเหมือน ๆ กัน เช่น การปรับขึ้นเงินเดือน และการปรับตำแหน่ง ทำให้พนักงานที่ทำงานดีหมดไฟ และหมดพลังลงได้ง่ายมาก คุณภาพงานก็จะค่อย ๆ ลดลงตามไปด้วย

แก้ไข : มีการประเมินผลการทำงานตามจริง

สิ่งที่จะช่วยให้องค์กรยังสามารถรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้ได้ก็คือ การประเมินผลงาน ตามจริง ตามผลการปฏิบัติงาน เช่น โบนัสพนักงานอาจได้เท่ากันทุกคน คนละ 1 เดือน แต่เมื่อถึงการประเมินปรับตำแหน่งและปรับขึ้นเงินเดือนให้ประเมินจากผลของการทำงาน เป็นต้น

สาเหตุ : ขาดความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร

การทำงานแบบหัวหน้าสั่งงาน ลูกน้องปฏิบัติตาม ขาดการแลกเปลี่ยนทางความคิด จะทำให้ขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไป พนักงานก็จะทำงานตามคำสั่ง ไม่มีการพัฒนาตัวเอง

แก้ไข : เพิ่มการสื่อสารระหว่างกันให้มากขึ้น

ปรับรูปแบบการทำงานให้มีการสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น เช่น หัวหน้างานมีการแชร์ไอเดียร่วมกับลูกน้องในทีมมากขึ้น เป็นต้น

สาเหตุ : องค์กรไม่มีทิศทางการทำงาน

หลายองค์กรไม่เคยมีการแจ้งนโยบายในแต่ละปีให้กับพนักงานได้ทราบ ทำให้พนักงานรู้สึกว่า แล้วจะทำงานไปเพื่ออะไรในแต่ละวัน

แก้ไข : กำหนด Goal ที่ชัดเจน

แต่ละปี หน้าที่ขององค์กรที่มีต่อพนักงาน คือ การกำหนดเป้าหมาย ว่าปีนี้จะไปในทิศทางใด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย

องค์กรควรให้ความสำคัญในการดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้ปัญหาสะสมจนกลายเป็นภาวะ Brownout Syndrome ขณะที่พนักงานเองก็ไม่ควรเก็บปัญหาเอาไว้กับตัวเอง ควรเริ่มจากปรึกษาหัวหน้างาน ปรึกษาฝ่ายบุคคล ไม่เก็บกดความรู้สึกเอาไว้คนเดียว แต่สุดท้าย หากไม่สามารถปรับใจกลับมาสู้ต่อได้ ก็อาจถึงเวลาต้องมองหาองค์กรใหม่ที่มีความยืดหยุ่น และมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน เริ่มต้นค้นหาองค์กรที่จะตอบโจทย์ชีวิตของคุณได้ที่ JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

และหากคุณต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน หรือต้องการเพิ่มพูนความรู้และทักษะใหม่ ๆ ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะสามารถเสริมความรู้เพิ่มเติมได้จากการเรียนออนไลน์กับ FutureLearn x JobsDB จาก JobsDB มีคอร์สที่สอนความรู้ด้านนี้ให้คุณเพิ่มทักษะการทำงานโดยเฉพาะ

FutureLearn x JobsDB

Level Up Your Career ยกระดับความรู้ก้าวสู้งานที่ใช่

คอร์สเรียนออนไลน์ ที่เกิดจากการจับมือกันระหว่าง JobsDB และ FutureLearn ภายใต้ชื่อแคมเปญ "ยกระดับความรู้ ก้าวสู่งานที่ใช่" ให้คุณปลดล็อกศักยภาพ กับคอร์สฟรี!ที่จะอัพตัวคุณให้ก้าวล้ำนำใครในทุกเกมการแข่งขันกับเรา พันธมิตรด้านการหางานที่ดีที่สุดของคุณ และ FutureLearn ผู้ให้บริการคอร์สออนไลน์จากประเทศอังกฤษที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ไร้พรมแดนที่ดำเนินการมานานกว่า 9 ปี ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ทั้งด้าน Emerging Skills และ Transferrable Skills ที่สามารถนำไป reskill หรือ upskill ใช้ในชีวิตการทำงานปัจจุบันได้

เราพร้อมเคียงข้างคุณเสมอ เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ และสนับสนุนให้คุณประสบความสำเร็จในสายอาชีพ
หากคุณพร้อมออกจากกรอบ ติดปีกความรู้ และยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นกับเราแล้ว ลงทะเบียนฟรี ที่นี่

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/3-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%88-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-burnout/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด