รับมือกับ 7 ปัญหาโลกแตกในที่ทำงาน

รับมือกับ 7 ปัญหาโลกแตกในที่ทำงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ปัญหาชวนปวดหัวในทุกทีทำงานไม่ว่าจะการมีปัญหาระหว่างเพื่อนร่วมงานหรือแม้แต่หัวหน้างาน คุณไม่ต้องตกใจหรือแปลกใจไปเพราะทุกที่ก็มีปัญหาแบบนี้เช่นเดียวกันทั้งหมด
สิ่งที่แตกต่างคือแต่ละที่จะมีลักษณะปัญหาที่แตกต่างกันไป เช่น การ ยุติการเลิกจ้าง บางตำแหน่งทำให้คุณต้องมีภาระงานมากกว่าเดิมถึงสามเท่าตัว การที่คุณเพิ่งเข้ามาเริ่มงานได้เพียงวันเดียวและหัวหน้าคุณก็ลาออก การขโมยผลงานที่คุณทุ่มเทแรงกายใจจากเพื่อนร่วมงานของคุณเอง เรื่องเหล่านี้ทำให้กลายเป็นปัญหาโลกแตกทั้งสิ้น

ยังมีเรื่องราวประหลาดๆอีกเพียบในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าผู้ชอบขโมยอาหารกลางวันของพนักงานคนอื่นไปจนถึงฝ่ายต้อนรับลูกค้าที่ชอบซุบซิบนินทาคนอื่นๆ คุณไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาที่ชวนปวดหัวเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ตาม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาเหล่านี้ทำให้คุณเจอกับประสบการณ์อันเลวร้ายอยู่บ่อยๆและก่อให้เกิด สภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้ด้วยเช่นกัน

วิธีการก้าวข้ามผ่านปัญหาเหล่านี้ คือ คุณต้องรู้จักวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านี้ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกว่าเป็นปัญหาเล็กลงยิ่งกว่าเคย

และนี่คือ ปัญหาที่ชวนปวดหัวในที่ทำงานพร้อมวิธีการรับมือที่พบเห็นได้มากที่สุด

เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงาน
เมื่อปริมาณงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน ความเครียดที่ไม่อาจทำให้บรรเทาแม้แต่ตอนคุณกลับไปถึงบ้าน คุณควรหาเวลาคุยกับหัวหน้างานเกี่ยวกับปริมาณงานที่มากเกินไป

วิธีการรับมือ: ลองหาเวลานั่งคุยกับหัวหน้างานและหาเวลาเล่าถึงปัญหาของคุณให้ฟัง ปัญหาที่มีคือปริมาณงานเพิ่มขึ้นและคุณไม่สามารถเคลียร์งานได้ เล่าถึงสาเหตุที่คุณไม่สามารถแก้ได้ ปริมาณงานและปัญหาที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวนับตั้งแต่ปีก่อนหรือการที่คุณมารับช่วงดูงานต่อจากอีกคนที่ไม่ฝากงานไว้ให้คุณแถมยังไม่เหลือข้อมูลอะไรให้คุณดำเนินการต่อ

นี่คือสาเหตุของปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การอธิบายสาเหตุดังกล่าวออกไปจะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้หัวหน้าคุณเข้าใจมากยิ่งกว่าเดิม คุณอาจเสนอ ทางเลือกในการแก้ปัญห า เช่น "ผมสามารถทำงาน A และ B แต่ไม่สามารถทำ C ได้ หรือถ้าหากงาน C นั้นสำคัญจริงๆ ผมขอเลือกทำงาน C แทน A  ผมสามารถช่วยแนะการทำงาน C แก่เจนนิส แต่ผมไม่สามารถทำงาน C เพียงคนเดียวได้หากผมต้องทำทั้งงาน A และ B"  คุณยังอาจให้หัวหน้างานของคุณช่วยเรียงลำดับความสำคัญของงานให้อีกด้วย

หัวหน้างานลาออก หรือโดนไล่ออก
เมื่อหัวหน้างานที่คอยหนุนงานของคุณให้ประสบความสำเร็จกำลังจะลาออก ทำให้คุณกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับหัวหน้าคนใหม่ โดยเฉพาะเรื่องการแชร์ไอเดียแบบที่คุณเคยมีร่วมกันกับหัวหน้าคนก่อนหรือกังวลว่าเขาหรือเธออาจจะไม่ชอบหน้าคุณก็เป็นไปได้!

วิธีการรับมือ: ใจเย็นเอาไว้ หัวหน้างานใหม่อาจดีเท่าๆกับหัวหน้าคนเก่าหรืออาจดีกว่าก็เป็นไปได้ และถ้าหากคุณไม่อยากทำงานร่วมกับหัวหน้าคนใหม่ คุณก็ยังไม่รู้จนกว่าจะได้เจอได้คุยกันก่อน ดังนั้นการอัพเดทเรซูเม่ของคุณเอาไว้ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรและอัพเดทในระบบหางาน (อย่างเช่น ระบบหางานของ jobsDB ) คุณควรรอดูสถานการณ์ให้แน่ใจจนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วถึงเปลี่ยนงานก็ยังทัน

ในช่วงโอนถ่ายงาน คุณควรเข้ามาดูการทำงานในแผนกให้ดำเนินไปอย่างราบลื่น ซึ่งอาจช่วยให้คุณมีผลงานในองค์กรมากยิ่งขึ้น ช่วยเหลือหัวหน้างานคนใหม่ตั้งแต่เริ่มทำงานจนเข้าที่ คุณจะสามารถตัดสินใจเส้นทางการทำงานได้ต่อภายในสองอาทิตย์ของการทำงานร่วมกับหัวหน้างานคนใหม่

ได้ทำงานที่ไม่ใช่อย่างที่สมัครงานมา
เมื่อคุณถูกจ้างมาทำงานในฝ่ายบริหารยอดขาย แต่สุดท้ายแล้วคุณต้องไปนั่งจัดการเอกสารงานทั้งหมด หรือตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดที่คุณเพิ่งเข้ามากลายเป็นว่าคุณต้องโทรศัพท์หาลูกค้าแบบฮาร์ดเซลแทน เห็นได้ชัดว่าตอนสัมภาษณ์งานเข้ามากับหน้างานจริงไม่เหมือนกัน

วิธีรับมือ: ขอคุยกับหัวหน้างานก่อนเลย เมื่องานที่คุณสมัครเข้ามากับงานที่ทำจริงมันไม่ตรงกัน หัวหน้าคุณควรรับทราบถึงปัญหาและหาทางแก้ไข ทั้งนี้ คุณควรใจเย็นและให้ความร่วมมือ อย่าเพิ่งสติแตกและเกรี้ยวกราด ซึ่งควรสื่อให้หัวหน้าเห็นถึงว่าคุณต้องการแก้ปัญหาที่เกิด และต้องการให้หัวหน้าของคุณปรับหน้างานให้เหมาะสมมากกว่าเดิม

มีปัญหากับ เพื่อนร่วมงาน
ในสังคมการทำงาน คุณอาจต้องเจอคนประเภทหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับคุณไปทุกอย่าง ซึ่งนั่นทำให้โปรเจคต่างๆของคุณผ่านยากยิ่งกว่าเดิม

วิธีการรับมือ:อย่างแรกสุด คุณต้องยอมถอยตัวเองลงมาก่อน ลดอีโกที่มีลง จริงๆแล้วคุณไม่จำเป็นต้องชอบเพื่อนร่วมงานที่เป็นปัญหากับคุณและไม่จำเป็นต้องเอาชนะในทุกๆเรื่อง คุณเพียงแค่ต้องทำงานร่วมกันเท่านั้น

การเป็นทำตัวให้เป็นมิตรช่วยเปลี่ยนบรรยากาศให้ดีขึ้นได้ ถึงแม้ว่าบางคนจะยากเกินเยียวยาสำหรับการสร้างมิตร แต่จงตระหนักไว้ว่าคุณไม่สามารถสร้างมิตรกับทุกคนได้ จงเรียนรู้ที่จะอยู่และทำงานร่วมกับคนประเภทนี้เสียดีกว่า

หัวหน้าไม่ใส่ใจงานที่คุณทำ
คุณเคยไหม ถึงแม้คุณจะพยายามทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างผลงานต่างๆ และกำลังเป็นดาวเด่นในที่ทำงาน แต่หัวหน้างานคุณกลับไม่รับรู้เรื่องเหล่านี้เลย

วิธีการรับมือ: เป็นธรรมดาที่ลูกน้องอยากให้หัวหน้างานเห็นถึงผลงานที่ประสบความสำเร็จของคุณ แต่ในความเป็นจริงคุณอาจได้เจอหัวหน้าประเภทที่รอดูผลงานของคุณตลอดและรอให้คุณคอยอัพเดทงานให้ฟังบ่อยๆ ดังนั้นคุณควรจะสร้างการรับรู้แก่คนอื่น แม้ว่าจะฟังดูแปลกๆแต่หัวหน้าต้องอยากรู้ว่าลูกน้องทำงานออกมาได้ดีแค่ไหน คุณอาจเริ่มอัพเดทงานเล็กๆน้อยๆว่าสำเร็จไปถึงไหนแล้ว ไปจนถึงงานที่บรรลุเป้าหมายใหญ่ๆได้

เมื่อคุณพลาด สร้างความเสียหายแก่ทีม
ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ แต่เมื่อใดที่คุณสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่องค์กร เป็นเรื่องยากที่คุณจะสู้หน้าหัวหน้าของตัวเองกับความผิดอันใหญ่หลวงของคุณ

วิธีการรับมือ : สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือรับผิดชอบความผิดพลาดที่ทำลงไป บอกสิ่งที่เกิดขึ้นให้หัวหน้าทราบโดยเร่งด่วนก่อนที่หัวหน้าจะเจอปัญหาเหล่านี้ อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ความเสียหาย และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ วิธีการที่คุณจะไม่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวอีก

ได้รับผลการประเมินที่ย่ำแย่แบบสุดๆ
แม้ว่าสิ่งที่คุณทำลงไปคุณเองอาจคิดว่าโอเคแล้ว แต่เอาเข้าจริงๆในการประเมินผลงานกลับไม่ถึงเกณฑ์ที่หวัง ซึ่งไม่ได้มีสัญญาณใดๆบ่งบอกแถมหัวหน้าคุณเองเพิ่งได้รับอีเมลล์ชื่นชมผมงานจากเจ้านายไปด้วย

วิธีการรับมือ: อย่างแรกสุด คือตั้งสติอย่าเพิ่งตื่นตระหนักไป และอย่าเพิ่งโต้เถียงไป ในสถานการณ์แบบนี้ โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับการประเมินจะมัวแต่คิดอยู่แค่ว่าจะทำยังไงเพื่อโต้แย้งสิ่งที่เกิดขึ้น การใส่ใจถึงสิ่งที่หัวหน้าคุณต้องการเป็นสิ่งที่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด ตั้งใจฟังและถามให้ละเอียดเพื่อที่คุณจะได้คำตอบสิ่งที่หัวหน้าคุณต้องการ

จริงๆแล้ว หัวหน้าคุณก่อนที่จะประเมินให้คะแนนคุณน้อยได้นั้น เค้าจะต้องได้รับฟีดแบคมาตลอดทั้งปี ดังนั้นถ้าหากหัวหน้าคุณเป็นหนึ่งในหัวหน้าที่ดีเค้าควรต้องเรียกคุณมาถามปัญหาที่เกิดขึ้นและบอกแนวทางการแก้ไข ดังนั้นคุณควรจะได้รับทราบถึงข้อควรปรับปรุงหรือปัญหาในการทำงานก่อนถึงการประเมินที่จะมีขึ้นในแต่ละปี

#icanbebetter

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด