ผู้บริหารไม่เข้าใจพนักงาน งานอาจไม่ได้ผล

ผู้บริหารไม่เข้าใจพนักงาน งานอาจไม่ได้ผล
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

การทำงานให้ได้ดี ไม่ใช่แค่ดูจากเปลือกนอก โดยเฉพาะหัวหน้าจะต้องเข้าถึงจิตใจของลูกน้อง นักจิตวิทยาบอกว่า คนไม่ใช่ท่อนไม้ ที่ให้ทำอะไรก็ได้ แต่จะทำได้ดีถ้ามองเข้าไปในจิตใจ จิตใจมีส่วนทำให้งานดี หรือไม่ดีเท่าที่ควร การทำงานให้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะต้องมีทักษะในงานที่ทำแล้ว ยังต้องมีหัวหน้าที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ และเข้าใจจิตใจผู้คนได้ อย่างเช่น เอลเลน เธอเป็นหัวหน้าโครงการที่แม้จะเพิ่งผ่าตัดมาใหม่ ๆ ก็ทำงานแบบถวายชีวิตโดยเป็นทั้งผู้ประสานงาน ผู้ร่วมงานและผู้ติดต่อลูกค้าภายใน รวมทั้งติดต่อกับนายเหนือขึ้นไป ระยะเวลางานแค่ 5 วัน แต่เอลเลนก็ยอมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับลูกน้อง ตั้งแต่เริ่มโครงการจนสิ้นสุด เอลเลนคุมทีมงานทำทั้งกลางวันและกลางคืน ลูกน้องเต็มใจและมีความสุขกับการทำงาน การทำงานของเอเลนจึงประสบความสำเร็จสูง เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของหัวหน้าทำให้งานมีประสิทธิภาพ ในขณะที่หัวหน้าที่ชอบแสดงท่าทีรังเกียจลูกน้อง ดูถูกดูหมิ่นลูกน้อง ผลก็คือลูกน้องหมดกำลังใจในการทำงาน จนสร้างความแตกแยกและยากที่จะทำงานร่วมกัน

หัวหน้าที่ดี จากการศึกษาโดยให้พนักงานเขียนบันทึกการทำงานแต่ละวันตามความรู้สึก ไม่ว่าจะทำงานในกลุ่ม หรือนอกกลุ่ม หรือความรู้สึกต่อเพื่อนร่วมงานแต่ละคน ผู้วิจัยเชื่อว่า อารมณ์และจิตใจมีส่วน ทำให้งานดีหรือด้อย ซึ่งผลวิจัยพบว่า หากพนักงานอารมณ์ดีก็มีความคิดริเริ่มมาก อารมณ์ไม่ดี ความคิดริเริ่มจะน้อย แถมวันไหนอารมณ์ดีจะทำให้วันรุ่งขึ้นมีความคิดริเริ่มด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การรับรู้เรื่องเนื้องาน มีผลต่อความคิดริเริ่ม โดยเฉพาะถ้าหัวหน้าร่วมมือ ใจกว้าง มีวิสัยทัศน์ นวัตกรรม และรู้จักให้รางวัลหรือผลตอบแทนแก่ลูกน้องที่มีความสามารถ

จากการวิจัยพบอีกว่า หากหัวหน้าชื่นชมลูกน้อง หรือร่วมทำงานแบบเคียงบ่าเคียงไหล่ หรือให้กำลังใจกันแม้ว่าจะทำผิดพลาดไปบ้าง งานจะดูราบรื่นไม่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น งานจะไปได้ดี ถ้าหัวหน้า ส่งเสริมให้ลูกน้องทำงานก้าวหน้ามากขึ้น และปฏิบัติต่อพวกเขาแบบมีศักดิ์ศรีสมกับความเป็นคนมีค่า โดยเฉพาะการทำโครงการให้ประสบความสำเร็จ หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องไปถามหัวหน้าเกินความจำเป็น

หัวหน้าที่ดีจึงต้อง

1. ให้เกียรติลูกน้อง9. อย่าหวงเกินเป็นจริง
2. ให้ความดีความชอบอย่างเป็นธรรม10. ส่งเสริมให้ลูกน้องมีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่ม
3. รู้จักแบ่งงาน11. เป็นผู้นำในทางสร้างสรรค์
4. เข้าใจและรู้จักรักษาจิตใจลูกน้อง12. ต้องเป็นพี่เลี้ยง
5. สร้างบรรยากาศเป็นสุข13. เป็นผู้ติดตาม
6. ร่วมทุกข์ร่วมสุข14. เป็นผู้ประเมินผล
7. ให้โอกาส แม้จะผิดพลาดไปบ้าง15. เป็นผู้ปฏิบัติแก้ไข
8. ยอมรับว่าความสามารถของแต่ละคนต่างกัน

ไม่ว่าใครก็ตาม จะมีตำแหน่งสูงหรือต่ำ หากอยากทำงานมีความสุข ไม่หวาดกลัว ไม่โดนดูถูกดูหมิ่น ไม่โดนกลั่นแกล้ง อยู่ที่องค์กรเข้าใจความรู้สึกนึกคิดเขาแค่ไหน ถ้าองค์กรอยากให้พนักงาน ทุ่มกายเทใจทำงานให้มากที่สุด ผู้บริหารต้องหันมามองว่าเราเข้าใจลูกน้องด้านความคิด และความรู้สึกในการทำงานของพวกเขาแบบใจถึงใจแค่ไหนนั่นเอง

ที่มา : For Quality Magazine

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด