การเพิ่มความละเอียดของภาพ : Resizing vs. Resampling

การเพิ่มความละเอียดของภาพ : Resizing vs. Resampling
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ในยุคที่เทคโนโลยีหมุนไปไวยิ่งกว่า 5G สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ถูกย่อขนาดมาอยู่ในโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต ภายใต้รูปแบบของแอปพลิเคชัน ให้คุณสามารถสรรค์สร้างทุกสิ่งได้ตามใจชอบง่าย ๆ ด้วยปลายนิ้วสัมผัส ทั้งในแง่ของความบันเทิง การติดต่อสื่อสาร โซเชียลมีเดีย ช้อปปิ้งออนไลน์ ฯลฯ เรียกว่าได้ครอบคลุมแทบจะทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้กระทั่งการปรับแต่งภาพ ทั้งในแง่ของความสวยงาม การเลือกโทนสี ลดสัดส่วน เติมส่วนต่าง ๆ รวมถึงการปรับแต่งเพิ่มความละเอียดขนาดภาพ

ที่สำคัญโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มก็มีขนาดไซส์ของภาพที่เหมาะสมแตกต่างกัน การ Resizing หรือ Resampling รูปภาพจึงกลายมาเป็นหนึ่งในสกิลสำคัญที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจในยุคนี้ อย่างไรก็ตามการใช้ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ พิกเซลละเอียดเบอร์สุด ก็ไม่ได้หมายความว่ารูปที่คุณได้จะมี Quality ที่ดีเสมอไป เพราะสื่อแต่ละประเภทก็มี Maximum ในการแสดงผลความคมชัดของสื่อแต่ละประเภท

อธิบายแบบง่าย ๆ ว่าต่อให้ภาพของคุณจะมีขนาด 10 Mb ชัดตาแตกขนาดไหน แต่พออัปลง Instragram หรือ Facebook ก็จะถูกบีบอัดให้เหลือแค่ 300Kb ประมาณนั้น หรือวิดีโอต่อให้คุณอัดมาแบบ 4K ใช้โหดมภาพยนตร์หน้าชัดหลังเบลอในการถ่ายทำ แต่พอมาอัปก็ได้ความคมชัดสูงสุดระดับ 1080p ดังนั้นต้องศึกษารายละเอียด ข้อจำกัดของแต่ละแพลตฟอร์มให้ดี รวมถึงศึกษาวิธีการเพิ่มความละเอียดของภาพให้ดีด้วยเช่นกัน เพราะแต่ละขั้นตอนก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน

Resizing รูปภาพคืออะไร?

เริ่มต้นด้วยวิธีการลด/เพิ่มขนาดรูปภาพแบบแรกที่หลายคนอาจจะคุ้นชินมากที่สุด อย่างการ Resizing หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Resize แปลแบบตรงตัวเข้าใจง่ายก็คือเปลี่ยนแปลงขนาดภาพ ด้วยการปรับขนาด Pixels ให้เล็กขึ้นหรือใหญ่กว่าเดิม ซึ่งพิกเซลนั้น เป็นจุดเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่แสดงผลในภาพ ใน 1 ภาพประกอบไปด้วยหลาย ๆ พิกเซล ยิ่งมี Pixels มากเท่าไร ภาพนั้นก็ยิ่งมีความละเอียดคมชัดมากนั่นเอง (เช็กได้ด้วยการซูมภาพเข้าไปเรื่อย ๆ จะเห็นพิกเซลได้โดยง่าย)

Resizing ลดหรือเพิ่มความละเอียดภาพ

จากที่อธิบายไปข้างต้น การ Resizing จึงเป็นการปรับหรือย่อขนาดของพิกเซลให้เป็นไปตามขนาดที่คุณต้องการ กรณีที่ปรับลดลงจากของเดิมไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไร ปรับลดได้ตามขนาดไซส์ที่ต้องการได้โดยง่าย แนะนำว่าขณะปรับลดให้เลือกเมนูคำสั่ง Constrain Proportions ไว้ด้วย เพื่อภาพยังคงสัดส่วนที่สมส่วนไว้ หากไม่เลือกฟังก์ชันนี้ภาพที่ได้อาจจะถูกยืดย่อแบบไม่สมดุล เสียสเกลภาพได้ อย่างไรก็ตามอย่าภาพย่อไฟล์ภาพแบบซ้ำซ้อน ให้รีไซส์ใหม่จากไฟล์ต้นฉบับแล้ว Export แยกออกมาทุกครั้ง เพื่อคุณภาพไฟล์ที่ดี

ในทางตรงกันข้าม หากเป็นการขยาย Resize ไฟล์รูปให้ใหญ่ขึ้น คุณอาจจะต้องระวังมากกว่าการลดขนาดภาพ เพราะการเพิ่มขนาดพิกเซลแต่ละจุดของภาพ  อาจจะทำให้ภาพแตกและไม่คมชัดได้ง่าย อาจจะต้องค่อย ๆ เพิ่มแล้วดูองค์ประกอบภาพโดยรวมอีกที เหมือนการเอาของเล็กมาขยายให้ใหญ่ รายละเอียดต่าง ๆ ย่อมถูกลดทอนไปโดยปริยาย

Resampling รูปภาพคืออะไร?

การ Resampling เป็นอีกหนึ่งการลดหรือเพิ่มความละเอียดภาพอีกวิธีที่บางคนนิยมใช้ เพราะปรับแต่งรายละเอียดที่มากกว่า ว่าด้วยการปรับแก้ค่าระดับสีเทาหรือเป็นการสร้างข้อมูลภาพใหม่ โดยการคำนวณพิกเซลในลักษณะของการแก้ไขเพื่อเพิ่มขนาดของภาพ (Interpolation) ผ่านระบบซอฟต์แวร์ที่ประมวลผลด้วยอัลกอริทึมผสมผสานกันสร้างจำนวนพิกเซลที่เหมาะสมขึ้นมาใหม่ให้แบบอัตโนมัติ

การเพิ่มความละเอียดภาพด้วยขั้นตอนนี้ สะดวกตรงที่เราไม่ต้อง Resample ข้อมูลภาพหลายครั้งให้ซ้ำซ้อนหรือเสียเวลา เพราะเวกเตอร์จะคำนวณในเชิงคณิตศาสตร์ว่าจะเพิ่มหรือลดพิกเซลของภาพให้คุณแบบอัตโนมัติ แต่ข้อเสียของวิธีการนี้จะทำให้ภาพเบลอได้ง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขนาดรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เป็นเส้นตรงและจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีในภาพ อาจจะต้องสังเกตและตรวจสอบดูภาพรวมอีกทีหลังทำเสร็จ

ทั้งนี้ระบบตัวซอฟต์แวร์ที่ Resampling ใช้ปรับปรุงภาพเหล่านี้มีอยู่หลายตัวด้วยกัน ซึ่งแต่ละตัวก็ให้รายละเอียดแตกต่างไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ที่ต่างกันหลัก ๆ คือขั้นตอนการ Interpolate สำหรับการคำนวณพิกเซลใหม่เมื่อมีการ Upsampling โดยตัวซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้กันนั้นอยู่ในโปรแกรม Adobe Photoshop แต่ถ้าคุณไม่ได้ใช้โปรแกรมดังกล่าวก็อาจจะเจอซอฟต์แวร์ระบบอื่นแทนในการย่อขยายรูป

ตัวอย่างระบบซอฟต์แวร์ของการ Resampling

  • Bicubic วิธีการที่ใช้เวลาประมวลนานและช้าที่สุด ทว่าผลลัพธ์ที่ได้อยู่ในเกณฑ์ดี ได้ความคมชัดภาพที่ละเอียดขึ้น
  • Bilinear เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานเร็วกว่าแบบแรก แต่คุณภาพจะด้อยกว่าตามระยะเวลาการ Process แต่ทั้งวิธีนี้และ Bicubic จะทำให้ภาพเบลอทั้งคู่ โดยเฉพาะเมื่อทำการ Upsampling อาจจะต้อง Recheck ภาพรวมอีกที
  • Nearest Neighbor จะไม่ถูกใช้ใน Interpolate แต่จะนำค่าของพิกเซลข้างเคียงมาเพิ่มให้กับพิกเซลเก่า โดยไม่ใช่การประมาณเหมือนสองระบบแรก โดยวิธีการนี้จะทำให้ภาพอาจจะเสียหายหรือภาพจะเป็นอาจจะถูกตัดเป็นขั้น ๆ (stair-step effect)

จะเห็นได้ว่าทั้งการ Resizing และ Resampling ต่างก็เป็นวิธีการเพิ่มและลดความละเอียดภาพที่ดี แต่ทั้งสองวิธีก็ให้รายละเอียดที่ต่างกัน รีไซส์เน้นใช้การใช้งานที่ง่าย ไม่ซับซ้อนกำหนดขนาดได้เองตามการใช้งานของเรา แต่ Resampling แอดวานซ์ขึ้นมา ให้ความคมชัดที่เป๊ะขึ้นผ่านตัวซอฟต์แวร์ จำต้องมีพื้นฐานด้านโฟโต้ชอปประมาณหนึ่งในการใช้งาน

ติดตามข้อมูลข่าวสาร เทรนด์อัปเดตใหม่ ๆ สุดฮิตได้ที่ JobsDB แพลตฟอร์มหางานอันดับหนึ่งในไทย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

jobsDB Mobile App

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/resume-graphic-designer/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%a3/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87-gif-jpeg-png-tiff/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด