นิ้วล็อค โรคยอดนิยมของคนทำงานออฟฟิศ

นิ้วล็อค โรคยอดนิยมของคนทำงานออฟฟิศ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ธรรมชาติของการทำงานทุกวันนี้ มีความยากของเนื้องานเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก จะด้วยการแข่งขันของคู่แข่งที่มีมากขึ้น ลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายขึ้น หรือจะด้วยวิถีของโลกที่ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยี และมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ชีวิตการทำงานของมนุษย์เงินเดือนมีความซับซ้อน และสร้างความเครียดในการทำงานมากขึ้น

นิ้วล็อค

ความเครียดที่สะสมเรื่อยมานี้ สามารถนำไปสู่การเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ได้ในที่สุด ซึ่งอีกโรคหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการเป็นออฟฟิศซินโดรม และกำลังโจมตีคนทำงานออฟฟิศ อยู่ในขณะนี้ คือ โรคนิ้วล็อค มีลักษณะอาการเป็นอย่างไร และมีวิธีการรักษาให้หายไหม เรามีคำตอบ


อาการนี้ใช่คุณหรือเปล่า

จริง ๆ แล้วสาเหตุของการเกิดโรคนิ้วล็อค ไม่ได้มาจากการเป็นออฟฟิศซินโดรม เพียงอย่างเดียว หากเป็นในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศแล้วมักเกิดจากการงอนิ้วมาก ๆ จากการใช้นิ้ว คีย์แป้นคอมพิวเตอร์นั่นเอง เพราะต้องใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกดต่อเนื่อง ใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต มากเกินไป ทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ในท่าเดิมนาน ๆ หรือคนที่มีประวัติของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือในบางคนที่มีอาชีพต้องใช้ แรงงาน ที่มีการใช้นิ้วหนัก มีแรงสั่นสะเทือน ก็มีสิทธิเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

ลักษณะอาการที่สังเกตได้ชัดคือ นิ้วมืองอเข้าหาฝ่ามือคล้ายไกปืน มีความรู้สึกปวดตึงบริเวณโคนนิ้ว หรือมีอาการตึงเมื่อกำและแบมือ ในกรณีที่อาการยังไม่รุนแรง หากมีอาการรุนแรงขึ้นจะกำมือลำบากและบางครั้งไม่สามารถเหยียดนิ้วเองได้ หากเป็นหนักก็จะงอนิ้วผิดรูปผิดร่าง ซึ่งลักษณะอาการจะแบ่งได้ 4 ระยะคือ

ระยะที่ 1 : จะมีอาการปวดตึง งอนิ้วมีสะดุดบ้าง กดแล้วเจ็บบริเวณข้อโคนนิ้วทางด้านหน้า แต่ยังงอเหยียดได้เต็มที่

ระยะที่ 2 : เริ่มงอนิ้วสะดุด นิ้วติดและอาจต้องช่วยง้างออก

ระยะที่ 3 : มาถึงระยะนี้จะงอนิ้วไม่ได้ หรืองอได้แล้วนิ้วติด ต้องช่วยง้างออก

ระยะที่ 4 : อาการรุนแรงขึ้น นิ้วติดอยู่นาน ข้อนิ้วยึดติด เหยียดไม่ได้แล้ว

ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากนิ้วล็อค

การรักษาโรคนิ้วล็อคนั้นมีตั้งแต่รักษาอาการบำบัดเบื้องต้น ไปจนถึงขั้นผ่าตัด ในรายที่มีอาการรุนแรง หากเป็นการรักษาเบื้องต้นคุณหมอจะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้งานนิ้วมือให้น้อยลง พร้อมกับบำบัดอาการด้วยตัวเอง เช่น บริหารนิ้วด้วยการกำมือ และแบมือ หมั่นนวดมือ หรือพักมือจากกิจกรรมที่ต้องใช้มือออกแรง หากมีอาการมากขึ้น ก็จะให้ประคบร้อนหรือเย็นบริเวณฝ่ามือ หรือการแช่น้ำอุ่นก็สามารถช่วยให้อาการนิ้วล็อคดีขึ้นได้ หรือใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว (Splinting)

แต่หากอาการเริ่มรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ฉีดเข้าตรงเอ็น ร่วมกับการทานยา แต่หากยังมีอาการเรื้อรังต่อเนื่องคุณหมอก็อาจแนะนำให้ผ่าตัดนิ้วล็อค ซึ่งปัจจุบันมีวิวัฒนาการหลากหลายมาก สามารถผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยใน 5 นาที โดนน้ำได้หลัง 24 ชั่วโมง ซึ่งหลังผ่าตัดแล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำ แต่ก็คงไม่มีใครอยากต้องเจ็บตัวและเสียค่าใช้จ่าย จากการผ่าตัด ฉะนั้นควรดูแลตัวเอง ด้วยวิธีการลดความเสี่ยงการเกิดโรคนิ้วล็อค ด้วยวิธีดังนี้

  • ไม่หิ้วของหนักเกินไป อาจใช้วิธีการคล้องแขนแทน

  • หากต้องทำงานที่ใช้แรงงานหนัก ควรสวมถุงมือนุ่มเพื่อป้องกันทุกครั้ง

  • พักมือเป็นระยะเมื่อต้องทำงานเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตอย่างต่อเนื่อง

  • หมั่นบริหารนิ้วมือ หากมีอาการปวดหรือมือล้า ควรแช่น้ำอุ่นประคบ

  • หลีกเลี่ยงการซักผ้าที่ต้องบิดแรง ๆ

หากรู้สึกว่างานที่เรากำลังทำอยู่นักหนาจนเกินไป เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อค และโรคกลุ่มออฟฟิศซินโดรมอื่น ๆ อาจถึงเวลาต้องมองหางานใหม่ที่สามารถบาลานซ์ไลฟ์ได้ แอปพลิเคชัน JobsDB ได้รวบรวมงานคุณภาพไว้ให้แล้ว

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a9%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%94/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด