เทคนิคการทำเว็บไซต์ติดอันดับการค้นหา

เทคนิคการทำเว็บไซต์ติดอันดับการค้นหา
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

การทำเว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาเป็นอันดับต้นๆ จากผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูลอัตโนมัติ (Search Engine) ก็เหมือน ทำการตลาดให้เว็บไซต์ ของคุณ โดยการกำหนด Title ของเอกสาร เว็บไซต์ นั้นๆ ซึ่งควรเป็นข้อความภาษาอังกฤษ มีความหมายกระชับถึงเรื่องที่นำเสนอ แต่มีความยาวไม่เกิน 64 ตัวอักษร (ปัจจุบันสามารถใช้ภาษาไทยได้ แต่แนะนำให้ใช้ร่วมกัน หรือผสมกัน) ซึ่งข้อความในส่วนนี้จะปรากฏในส่วนบนสุดของหน้าต่างเบราเซอร์ (Title Bar)

<HEAD>
<TITLE>Introduction to HTML</TITLE>
</HEAD>

นอกจากนี้ สามารถกำหนดค่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสำคัญ หรือ Keyword ของเอกสารเว็บไซต์ เพื่อช่วยให้การสืบค้นได้ผลดีขึ้น อาศัยแท็กคำสั่ง <META NAME="Keywords" CONTENT="คำที่ 1, คำที่ 2, …"> ซึ่งกำหนดแท็กนี้ ในส่วน Head Section ของเอกสารเว็บไซต์

<HEAD>
<TITLE>Introduction to HTML</TITLE>
<META NAME="Keywords" CONTENT="Introduction, HTML, HyperText Markup Language">
</HEAD>

ตัวอย่างการลงรหัสเพื่อกำหนด TITLE และ META Tag

ทั้งนี้ยังมีแท็ก Meta อีก 2 รูปแบบที่ควรนำมาประกอบด้วย คือ

<META NAME="Description" CONTENT="ข้อความอธิบายเว็บไซต์"> และ
<META NAME="Robots" CONTENT="all/none/index/noindex/follow/nofollow">

โดย Description จะเป็นการใส่คำอธิบายให้กับเว็บไซต์ และ Robots เป็นการบอกให้กับ Spider หรือ Robot (โปรแกรมของ Search Engine ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลของเว็บไซต์ต่าง ๆ) ว่าควรจัดการหน้าเว็บต่าง ๆ ในเว็บไซต์อย่างไร เช่น ถ้าต้องการให้เก็บข้อมูลทุกหน้า ก็กำหนด Contect="All" หรือไม่ต้องการให้เก็บข้อมูลหน้าใด ก็กำหนด Contect="noindex" หรือให้เก็บเฉพาะหน้าที่ระบุ ไม่ต้องเก็บหน้าอื่นๆ ก็ใช้ Contect="NoFollow" เป็นต้น อย่างไรก็ตามแท็กชุดนี้ไม่ใช่แท็กมาตรฐาน ดังนั้นผู้พัฒนาเว็บ ควรให้ความสำคัญของ Title มากที่สุด


<HEAD>
<TITLE>Introduction to HTML</TITLE>
<META NAME="Keywords" CONTENT="Introduction, HTML, HyperText Markup Language">
<META NAME="Description" CONTENT="Introduction to HTML and Web Design for All">
<META NAME="Robots" CONTENT="All">
</HEAD>

ทำเว็บไซต์ติดอันดับ นอกจากแท็กที่ได้แนะนำ ก็กำหนดข้อความอธิบายรูปภาพด้วย Attribute ALT ของแท็ก IMG ก็เป็นจุดที่น่าสนใจ โดย Spider บาง Search Engine จะสนใจคำอธิบายชุดนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามคำอธิบายชุดนี้ก็มีประโยชน์มากสำหรับคนพิการทางสายตา เพราะสามารถรู้ความหมายของรูปภาพที่มองไม่เห็นได้จากคำอธิบาย ที่อ่านด้วยเบราเซอร์เฉพาะของคนพิการทางตา ดังนั้นผู้พัฒนาควรให้ความสำคัญของการใส่คำอธิบายรูปภาพกับรูปภาพทุกภาพด้วย

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

E-CUSTOMER SUPPORT บริการลูกค้าด้วยเว็บไซต์

เคล็ดลับการตลาดผ่าน Web 2.0

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด