รู้จัก “Post Vacation Blues” ภาวะเศร้าซึมหลังหยุดยาว พร้อมวิธีรับมือ

รู้จัก “Post Vacation Blues” ภาวะเศร้าซึมหลังหยุดยาว พร้อมวิธีรับมือ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ช่วงเวลาสิ้นปีจนถึงปีใหม่หลายคนคงได้พักผ่อนและ ท่องเที่ยว กันเต็มที่แล้ว ได้โอกาสหยุดยาวติดกันหลายวันแบบนี้ใครๆ ก็ชอบใช่มั้ยคะ แต่เมื่อถึงเวลากลับมาทำงาน ทำไมยังรู้สึกอ่อนเพลีย มีอาการเศร้าซึม ไม่มีแรงใจจะไปทำงานเลย นี่เป็นสัญญาณของอาการที่เรียกว่าPost-Vacation BluesหรือPost-travel depression (PTD)อาการโหยหาความสุขหลังหยุดยาว สาเหตุก็เพราะความเวลาเราไปเที่ยว เราได้กินอาหารอร่อยๆ ได้ทำกิจกรรมที่ชอบ อยู่กับคนที่รัก โดยไม่มีเรื่องงานมารบกวน แต่ยิ่งเรามีความสุขมากเท่าไหร่  ก็มีแนวโน้มเจอกับอาการเหล่านี้มากเท่านั้น เหมือนกราฟชีวิตได้พุ่งไปในจุดสูงสุดแล้วดิ่งลงทันทีเมื่อกลับมาเจอกิจวัตรประจำวันแบบเดิม จึงทำให้หลายคนปรับตัวไม่ทัน ในทางการแพทย์ ได้ให้คำอธิบายอาการนี้ว่าฮอร์โมนแห่งความสุข (เอ็นดอร์ฟิน) ในร่างกายกำลังลดระดับลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกหดหู่ ไม่มีความสุข อย่างไรก็ตามเรามีวิธีรับมือกับภาวะนี้สำหรับทำงานหลังวันหยุดยาวมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

วิธีรีบมือภาวะซึมเศร้างหลังหยุดยาว (Post Vacation Blues)

1.ให้เวลาพักผ่อนร่างกาย

ถ้าไม่อยากให้วันแรกของการทำงานหลังหยุดยาวกลายเป็นฝันร้าย  ควรหาเวลาพักอย่างน้อยครึ่งวันหรือหนึ่งวันหลังกลับจากทริปท่องเที่ยว เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ปรับตัวกับตาราง ชีวิตของมนุษย์เงินเดือน เพราะถ้าคุณเริ่มทำงานทันทีหลังจากจบทริปเลย จะทำให้เหนื่อยล้าจนเกินไป บางคนอาจมีอาการ Jet Lag รวมด้วย  ซึ่งจะมีผลกับสภาพจิตใจและสุขภาพ ถ้าเป็นไปได้ควรวางแผนรวมวันพักกับวันลาหยุดยาวไปเลย จะได้ไม่กระทบกับงานมากนัก

2. วางแผนสำหรับการทำงาน วันแรก

ควรจัดลำดับ ความสำคัญของงาน ด้วยการแบ่งประเภทงานออกเป็น 4 แบบ คือ 1.) งานสำคัญและเร่งด่วน 2) งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน 3) งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน 4) งานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ควรเลือกทำงานประเภท 1) ให้สำเร็จก่อน เพราะถ้าไม่เสร็จทันเวลาหรือมีปัญหาเกิดขึ้นอาจเกิดผลกระทบกับคนมากมาย ถ้าเราทำงานไม่เป็นระบบ ปล่อยเวลาไปกับงานที่ไม่จำเป็น จะทำให้เราใช้พลังในการทำงานเยอะกว่าเดิม ก็จะยิ่งท้อและเครียดเข้าไปอีก ทำให้คุณเข้าใกล้ภาวะ Post-Vacation Blues เข้าไปทุกทีี นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรมีวันพักครึ่งวันถึงหนึ่งวันหลังจากจบทริป ก็เพื่อเตรียมสภาพจิตใจให้พร้อมและเตรียมวางแผนการทำงานให้รอบคอบ

3.หากิจกรรมเชื่อมโยงกับวันหยุดยาว

การได้กลับไปทำกิจกรรมเหมือนหรือคล้ายกับตอนไปเที่ยว เป็นหลักจิตวิทยาง่ายๆ ที่ทำให้หายคิดถึงความสุขในช่วงนั้น ช่วยเชื่อมโยงช่วงเวลาดีๆ เข้ากับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างกลมกลืน อาจจะเขียนบล็อกทริปที่ผ่านมา ทานอาหารท้องถิ่นของเมืองนั้นๆ ทำให้รู้สึกว่าบรรยากาศความสุขยังอยู่รอบตัวเรา หรือออกไปสังสรรค์กับเพื่อนบ้าง ออกกำลังกาย หางานอดิเรกใหม่ๆ ทำ ก็จะช่วยให้เราไม่หมกมุ่นอยู่กับความเศร้าจนเกินไป

4. วางแผนทริปเที่ยวครั้งใหม่

ถ้าโหยหาความสุขขนาดนี้ แทนที่จะมานั่งเสียดายช่วงเวลาดีๆ ก็เอามาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อวางแผนทริปครั้งหน้าซะเลย ด้วยการกำหนดวันหยุดหรือวันพักผ่อนล่วงหน้า 3-6 เดือน เป็นการกระตุ้นให้เรามีความหวัง รู้สึกตื่นเต้นความสุขครั้งใหม่ที่รออยู่ จนอยากจะนับถอยหลังเร็วๆ เลย อาจจะเป็นทริปสั้นๆ ที่ตรงกับวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ได้ การวางแผนเที่ยวล่วงหน้ายังเป็นการสร้างกำลังใจให้เราตั้งใจทำงานและเก็บเงินอีกด้วย เพราะการไปเที่ยวแต่ละครั้งก็ต้องใช้เงิน ถ้าอยากให้รางวัลตัวเองด้วยการไปเที่ยวบ่อยๆ ก็ต้องขยันทำงานนั่นเอง

ทั้งนี้อาการPost-Vacation Bluesไม่ใช่โรคจิตเวช เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เราสามารถรับมือได้เพียงนำแนวทางของทั้ง 4 ข้อ ไปปรับใช้ พอร่างกายและอารมณ์ปรับตัวได้ แล้ว อาการเศร้าซึมก็จะหายไปเอง เพราะชีวิตเรายังคงดำเนินต่อไป ทริปหน้าอาจจะสนุก มีความสุขกว่าเดิมด้วยซ้ำ แต่ถ้าผ่านไปประมาณ 2-3 อาทิตย์ ยังคงมีอาการ  Post-Vacation Blues อยู่ ขอแนะนำให้ปรึกษานักจิตวิทยาหรือแพทย์จะดีที่สุดค่ะ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพจากการที่ต้องมาทำงานหลังวันหยุดยาว ที่อาจพัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้าได้

หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด