งบประมาณชนิดต่าง ๆ ที่ควรรู้จัก

งบประมาณชนิดต่าง ๆ ที่ควรรู้จัก
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

งบประมาณ คือ แผนการที่คาดไว้ว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงออกมาเป็นตัวเลขงบประมาณ อาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร เป็นต้น

    ชนิดของงบประมาณ แบ่งตามชนิดของการวางแผนได้เป็น 2 ชนิด คือ
  1. งบประมาณดำเนินการ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในหน่วยงานทุกแผนก
  2. งบประมาณการเงิน ข้อมูลที่อยู่ในงบประมาณดำเนินการ สามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเลขได้
  • งบประมาณขาย เกิดจากการที่แผนก งานขาย ประมาณปริมาณการขายในหน่วยงานของตน มักจะทำในระยะสั้นและระยะยาว
  • งบประมาณสินค้าคงเหลือ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดปริมาณที่จะทำการผลิตหรือปริมาณสินค้า คงเหลือ กิจการจะต้องมีสินค้าคงเหลือเผื่อไว้สำหรับกรณีที่ต้องการสอนมากกว่าปกติ
  • งบประมาณการซื้อ ต้องอาศัยงบประมาณของคงคลัง เพื่อทราบจำนวนของคงเหลือทั้งต้นและปลายงวด และงบประมาณวัตถุดิบเพื่อทราบปริมาณที่ต้องใช้ในแต่ละงวด
  • งบประมาณการผลิต ต้องอาศัยข้อมูลต่างๆประกอบ ได้แก่ ปริมาณสินค้าจะขาย ปริมาณสินค้าคงเหลือ นโยบายสินค้าคงเหลือ สมรรถภาพของโรงงานปัจจัยการผลิตอื่นๆ และนโยบาย การผลิต

ในส่วนของนโยบายการผลิต ยังสามารถแบ่งได้เป็น นโยบายการผลิตคงที่ นโยบายการผลิตผันแปรตาม ยอดขาย นโยบายการผลิตผันแปรตามความเหมาะสม ซึ่งการจัดทำงบประมาณการผลิตเป็นการวางแผนล่วงหน้าทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิตลงได้

  • งบประมาณวัตถุดิบ ต้องอาศัยงบประมาณการผลิต เพื่อทราบหน่วยที่ต้องผลิต
  • งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ นำข้อมูลจากงบประมาณขายหักด้วยงบต้นทุนสินค้าโดยประมาณ และงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
  • งบประมาณเงินสด เป็นการประมาณจำนวนเงินสดรับและเงินสดจ่ายของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  • งบประมาณค่าแรงโดยตรง ค่าแรงที่ทำการผลิตสินค้าโดยตรงเท่านั้น การทำงบประมาณค่าแรงโดยตรงจึงต้องการข้อมูล
  • งบประมาณการผลิต เพื่อทราบหน่วยของสินค้าที่ต้องการผลิตในงวด
  • อัตราค่าแรงที่ต้องจ่าย มี 2 ประเภท คือ อัตราค่าแรงต่อสินค้าหนึ่งหน่วยและอัตราค่าแรงต่อชั่วโมง
  • งบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตสินค้ามักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปร ซึ่งผันแปรไปตามปริมาณของสินค้าที่ผลิต
  • งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแผนกงานนั้นๆ ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประมาณค่าใช้จ่ายนี้ คือ หัวหน้างานฝ่ายขาย และ ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • รู้จักงบประมาณงบกำไรขาดทุนโดยประมาณ นำข้อมูลจากงบประมาณขายหักด้วยงบประมาณต้นทุนสินค้าโดยประมาณ งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ
  • งบประมาณรายจ่ายลงทุน เป็นการประมาณการลงทุนของกิจการในระยะยาว ซึ่งการประมาณนี้มักจะทำควบคู่กับการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ การลงทุนในรายจ่ายประเภทนี้ผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา

ที่มา : http://www.surat.psu.ac.th

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จัดทำงบประมาณ สร้างวินัยทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

มาทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีกันดีกว่า

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด