คิดงานไม่ออก สมองตัน หัวไม่แล่น แก้ได้ด้วย 6 เทคนิคฝึกสมอง ทวงคืนไอเดียที่หายไป

คิดงานไม่ออก สมองตัน หัวไม่แล่น แก้ได้ด้วย 6 เทคนิคฝึกสมอง ทวงคืนไอเดียที่หายไป
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

อาการสมองตัน คิดงานไม่ออก หัวไม่แล่น เป็นอาการที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยเจอกันทั้งนั้น แม้ว่าคุณจะพยายามเปิดคอมตั้งใจทำงาน เสิร์ชข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพื่อหาไอเดียใหม่ ๆ หาวิธีคิดนอกกรอบ แต่ก็ดูจะยังไม่ทำให้ความคิดโลกแล่นได้อย่างที่ใจต้องการ บางคนก็ขาดแรงบันดาลใจ หรือไม่ก็ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง จะทำอย่างไรดี ในเมื่องานก็จะถึงกำหนดส่งแล้ว ถ้ายังเป็นแบบนี้จะเสียงานเอาได้ จะบอกว่าไม่ต้องตกใจไป วันที่ไม่มีแรงบันดาลใจในการทำงานมีกันได้ทุกคนเป็นเรื่องปกติ แต่ข่าวดีก็คือ เรามีวิธีที่จะช่วย ทวงคืนความคิดสร้างสรรค์ ด้วย 6 เทคนิคฝึกสมองที่มีผลการวิจัยยืนยัน ตัวช่วยที่จะทำให้คุณกลับมาสมองแล่นอีกครั้ง

คิดงานไม่ออก สมองตัน หัวไม่แล่น แก้ได้ด้วย 6 เทคนิคฝึกสมอง ทวงคืนไอเดียที่หายไป

  1. สร้าง routine ประจำวัน

รู้หรือไม่ว่าความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ศิลปินแต่เพียงอย่างเดียว ไอเดียที่ดีเกิดจากวินัยการทำงานที่ถูกคิดอย่างสม่ำเสมอ

มีงานวิจัยจาก Elsevier วารสารวิชาการที่เน้นตีพิมพ์ผลงานด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ได้ลองนำนักเขียนที่มีอาการสมองตัน เขียนงานไม่ออก จำนวนหนึ่งมาแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม แล้วทำการทดลองเป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า นักเขียนที่จัดเวลาในทุก ๆ วันเพื่อเขียนหนังสือเป็นประจำจะเขียนผลงานที่มีไอเดียที่ดีที่สุดได้มากกว่านักเขียนที่เลือกเขียนเฉพาะเวลาที่มีอารมณ์

แนวคิดนี้ตรงกับแนวทางการทำงานของ Ernest Hemingway นักเขียนชื่อดังระดับตำนานที่บอกว่า เขาเองจะตื่นมาเขียนหนังสือในตอนเช้าทุกวัน ทำให้สามารถสร้างผลงานวรรณกรรมอมตะที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ 10 ปีก็ยังถูกจัดว่าเป็นหนังสือขึ้นหิ้งในใจนักอ่านทั่วโลก

ลองนำวิธีการนี้มาปรับใช้ด้วยการกำหนดเวลาที่แน่นอนในแต่ละวันเพื่อที่จะทำงานของคุณ แบบที่ไม่ต้องรอให้มีอารมณ์ก่อนแล้วค่อยมาคิดงาน บางทีคุณอาจจะได้ไอเดียใหม่ ๆ ดี ๆ ในระหว่างชั่วโมงคิดงานของคุณก็ได้

  1. นอนเพื่อให้สมองได้พัก

ถ้าคุณเป็นคนใช้เวลาทั้งวันทั้งคืน คิดงานไม่หยุดจนกว่าจะได้ไอเดียมาทำงานต่อ การทำแบบนี้อาจทำให้คุณหมดแรง หมดพลัง แล้วยัง คิดงานไม่ออก คิดหาไอเดียใหม่ ๆ ไม่เจออีกด้วย ภาวะความเครียด และความกดดันที่คุณสร้างให้กับสมองและจิตใจของคุณ เป็นศัตรูตัวร้ายที่ทำไอเดียของคุณหายไป ลองหาเวลาพักเบรกจากการคิดงานไม่หยุด ด้วยการงีบพักสัก 10 – 20 นาที เพื่อให้สมองได้รีชาร์จตัวเองจากการทำงานไม่หยุด จะทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัวและรู้สึกสดชื่นอีกครั้ง หรือถ้ามีเวลามากขึ้นจะลองพักงีบซัก 90 นาที เพื่อให้วงจรการหลับของคุณสมบูรณ์ สมองได้พักเต็มที่ ช่วยให้ความจำและความคิดสร้างสรรค์ดีขึ้น

นอกจากนี้คุณไม่ควรละเลยการนอนหลับพักผ่อนอย่างจริงจังในช่วงเวลากลางคืน เพราะการหลับยาวที่มีคุณภาพ หรือ REM Sleep เป็นช่วงเวลาที่กล้ามเนื้อทั่วร่างกายหยุดทำงาน ยกเว้นส่วนหัวใจ กระบังลม และกล้ามเนื้อตา เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองได้พักผ่อนอย่างแท้จริง คุณอาจจะฝันเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งการพักผ่อนนี้จะช่วยเสริมสร้างให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการประมวลผลโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ (unconscious processing)

วิธ๊การด้านบนนี้ เป็นไปตามทฤษฎี Insightful Theory ในหนังสือ The Art of Thought ของ Graham Wallas นักจิตวิทยาผู้ร่วมก่อตั้ง London school of Economics เมื่อคุณตื่นมาสมองคุณก็สดใส พร้อมที่จะคิดริเริ่มความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้ไม่ยาก

  1. ดื่มน้ำกระตุ้นสมอง

ร่างกายคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 70% นี่อาจไม่ใช่ความรู้ใหม่อะไร แต่รู้หรือไม่ว่าสมองมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 85% เลยทีเดียว ฉะนั้น หากดื่มน้ำน้อยเกินไปก็ทำให้เกิดอาการสมองตื้อได้ อาการสมองไม่ค่อยแจ่มใส จะคิดอะไรก็รู้สึกติดขัดไปหมด อาจไม่ได้เกิดจากการที่คุณขาดแรงบันดาลใจ แต่อาจเป็นเพราะคุณกำลังอยู่ใน ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) อยู่

จากงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย (GIT) ในอเมริกา พบว่า การที่คุณอยู่ในภาวะขาดน้ำเพียง 2% ของมวลร่างกาย ก็สามารถทำให้สมองเริ่มแปรปรวน ทำงานได้ไม่เต็มที่ แม้ว่าคุณจะยังไม่ได้รู้สึกกระหายน้ำซะด้วยซ้ำ ระหว่างวันเราจึงควรหมั่นจิบน้ำให้สม่ำเสมอ แนะนำให้วางขวดน้ำไว้ตามที่ต่าง ๆ ที่คุณอยู่เป็นประจำ เริ่มจากหัวเตียง เพื่อที่ตื่นเช้ามาจะได้จิบน้ำได้ทันที วางน้ำขวดใหญ่ไว้ที่โต๊ะทำงาน ในตำแหน่งที่ไม่เกะกะ แต่อยู่ในสายตาตลอดเวลา พอคุณหันไปเห็นขวดน้ำเมื่อไหร่จะได้ไม่ลืมยกขวดขึ้นมาจิบน้ำระหว่างนั่งทำงานไปด้วย

  1. หาไอเดียด้วยการเดิน

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Stanford ในปี 2014 พบว่า ความคิดสร้างสรรค์จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 60% ในระหว่างที่เดิน ซึ่งตรงกับพฤติกรรมชอบการเดินของ Stave Jobs ที่มักเชิญให้ทีมงานระดมความคิดใหม่ ๆ ด้วยการเดินคุยกันไปรอบ ๆ Apple Campus เพราะการเดินจะทำให้คุณได้ปล่อยให้สมองของคุณได้คิดอะไรเพลิน ๆ ระหว่างที่เดินอยู่

จากนี้ไปเมื่อใดที่คุณเริ่มคิดงานไม่ออก ลองลุกขึ้นจากเก้าอี้ทำงานของคุณแล้วออกไปเดิน ไม่ว่าจะเป็นการเดินนอกบ้าน เดินในสวน หรือแม้แต่การเดินบนลู่วิ่งในบ้าน เดินวน ๆ ภายในตัวบ้านก็ได้รับการวิจัยแล้วว่าจะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของคุณได้

  1. เปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน

การที่คุณทำอะไรซ้ำ ๆ เป็นประจำทุกวันจะทำให้สมองของคุณเคยชินจนเกิดความเบื่อหน่ายได้อย่างไม่รู้ตัว Jonah Lehrer ได้เขียนบทความใน The Guardian ระบุว่ามีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนให้คนออกไปใช้ชีวิตในรูปแบบอื่น ที่ไม่ใช่กิจวัตรประจำวันเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เธอแนะนำให้ลองออกไปเที่ยวหาประสบการณ์แปลกใหม่ในพื้นที่ใหม่ที่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม

ถ้าการไปท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่ยากไป ลองวิธีง่าย ๆ ด้วยการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของคุณเพื่อหลีกหนีความซ้ำซากจำเจดู เช่น การเปลี่ยนเส้นทางเดินทางไปทำงาน เปลี่ยนร้านอาหารที่รับประทานเป็นประจำทุกพักเที่ยง ลองสั่งกาแฟร้านใหม่ หรือเปลี่ยนเวลาตื่น แล้วหากิจกรรมใหม่ ๆ มาแทรกก่อนไปทำงาน อาจจะเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ หรือลุกขึ้นมาทำอาหารเช้าแบบง่าย ๆ วิธีเหล่านี้จะช่วยให้คุณได้มีประสบการณ์ใหม่ ๆ ช่วงฝึกให้สมองต้องแก้ปัญหาใหม่ และเปิดรับประสบการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้จากความเคยชินของการทำกิจวัตรประจำวัน

  1. จดบันทึกทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา

ในหนังสือ The Art of Slow Writing: Reflections on Time, Craft and Creativity ของ Louise DeSalvo บอกไว้ว่า Joan Didion นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกันชอบพกสมุดโน้ตไว้กับตัว และจดบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในความคิดของเธอไว้ในสมุดโน้ตเล่มนี้ ทำให้ DeSalvo เองเกิดความสนใจในวิธีการนี้ และเริ่มพกสมุดโน้ตบ้าง นอกจากสมุดโน้ตจะทำให้เธอไม่ลืมความคิด ประสบการณ์ และความรู้ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวันแล้ว เธอยังได้ไอเดียมากมายจากการกลับมาอ่านสิ่งที่เธอจดบันทึกไว้ในสมุดโน้ตด้วย ช่วยให้เธอสร้างสรรค์งานเขียนที่มีคุณภาพได้เพิ่มขึ้น

ลองหาสมุดโน้ตเล่มเล็กติดตัวไว้ แล้วเมื่อไหร่ที่คุณมีความคิดอะไรขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นข้อคิดที่ได้จากหนังหรือซีรีส์ ประโยคเด็ดโดนใจ ทริคการดูแลต้นไม้ หรือเมนูเด่นในร้านอาหารเจ้าดังที่คุณบังเอิญสไลด์มือถือเจอ หรือแม้แต่ความประทับใจในบทสนทนาง่าย ๆ กับเพื่อนหรือครอบครัวของคุณ แทนที่จะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ไหลผ่านไป ลองจดบันทึกไว้ในสมุดโน้ตเล่มเล็กของคุณ วันไหนที่คิดงานไม่ออกก็เอาออกมาเปิดเล่น ๆ คุณอาจได้ไอเดียใหม่ ๆ ไปต่อยอดทำงานที่คุณทำอยู่ตอนนี้ก็ได้

ช่วงเวลาที่สมองตันอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ทำให้คุณไม่มีความสุขเพราะ คิดงานไม่ออก แต่เราอยากบอกว่าใคร ๆ ก็มีวันที่หัวสมองไม่แล่นกันทั้งนั้น ลองปล่อยวางแล้วนำคำแนะนำด้านบนไปปรับใช้กับชีวิตของคุณดู แล้วคุณจะพบว่าไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อคุณดูแลร่างกายให้ดี มีวินัย และรู้จักปล่อยวางความเครียดลงบ้าง JobsDB ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังคิดงานไม่ออก ให้สมองแจ่มใส ความคิดแล่น จะเกิดเป็นไอเดียสุดเจ๋งสำหรับงานของคุณในเร็ววัน

มองหางานใหม่ ที่มีเงินเดือนที่น่าพอใจ พร้อมตรงกับความต้องการของคุณ ลองมาค้นหาตำแหน่งงานหรือฝากเรซูเม่แบบง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน JobsDB แอปหางานครบวงจร ที่จะทำให้เรื่องหางานใหม่เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%a1-productivity/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-burnout/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-burnout/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/media-content-%e0%b9%84%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด