พฤติกรรมที่สร้างความน่าเชื่อถือสำหรับ HR

พฤติกรรมที่สร้างความน่าเชื่อถือสำหรับ HR
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ความน่าเชื่อถือเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับ HR หากมีใครบอกคุณว่า คุณยังมีช่องว่างของความน่าเชื่อถืออยู่ แปลง่าย ๆ ได้ว่า พนักงานยังให้ความน่าเชื่อถือต่อตัวคุณน้อยไป ถ้า HR ขาดความน่าเชื่อถือเมื่อใด เมื่อนั้น HR ก็จะหมดคุณค่า

ความน่าเชื่อถือ คือ สถานภาพที่เราสร้างขึ้นมาจากพฤติกรรมของเราที่ทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ เป็นพฤติกรรมที่ดี ที่เราสะสมไว้ทุก ๆ วัน เป็นเวลายาวนาน จากอดีตถึงปัจจุบัน การจะมีความน่าเชื่อถือนั้น คือ การมีพฤติกรรมในการทำงานหลายอย่างรวมๆ กัน ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. เมื่อมีใครถามปัญหา HR เรามักจะตอบได้อย่างถูกต้อง

ตอบอย่างมีหลักวิชาการสนับสนุนด้วย รวมทั้งวิธีปฏิบัติที่ยกตัวอย่างได้ เราต้องมีความรู้ใน HR อย่างน้อยที่สุดคือ ต้องรู้ในงานที่เรารับผิดชอบโดยตรงเป็นอย่างดี ความรู้ใน HR เป็นสิ่งแรกที่ผู้คนจะเชื่อเราต่อไปหรือไม่ เมื่อทำงานใด ต้องรู้จริงในงานนั้น อย่างไรก็ตาม เรื่องใดที่ไม่รู้ (เพราะไม่ได้ทำ) ก็ต้องบอกว่าไม่รู้ จะเป็นอันตรายต่อตัวเองมาก ถ้าไม่รู้แต่กลัวเสียหน้า เลยบอกว่ารู้ และตอบไปอย่างผิด ๆ ถ้าอย่างนั้น ครั้งต่อไปเขาจะไม่เชื่อเราอีก

2. วางตัวเหมาะสมทุกสถานการณ์ และมีพฤติกรรมส่วนตัวที่ดีอยู่เสมอ

เพราะ HR มีหน้าที่ในการบริหารบุคคล ดังนั้นจึงต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พนักงาน การวางตัวไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมส่วนตัวที่ผู้คนรังเกียจ จะหาความน่าเชื่อถือได้ยาก ต่อให้เก่ง HR เพียงใดก็ตาม

3. เป็นคนเปิดเผย จริงใจ จนผู้คนเขาวางใจได้

HR ต้องเข้ากับผู้คนได้ดี รู้จักเปิดใจให้กับผู้อื่นอย่างจริงใจ และเรียนรู้ที่จะรับฟังปัญหาอย่างลึกซื้งตั้งแต่ต้นจนจบ

4. มีจิตใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียง

มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ HR ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนตามกฎเกณฑ์แบบเดียวกัน ไม่ละเว้นกฎเกณฑ์ให้ใครเป็นพิเศษ

5. มี Team spirit มีจิตใจช่วยเหลือผู้อื่น รักหมู่คณะ

คำว่า Team ไม่ได้หมายถึงเฉพาะทีมงานที่เราสังกัด แต่หมายความกว้างขวาง ครอบคลุม ทั่วทั้งองค์กร ฉะนั้นจึงไม่แบ่งเขา แบ่งเรา ไม่มีการแบ่งกั้นระหว่างพนักงาน กล่าวคือ ไม่ถูกกั้นโดยทีม ส่วน ฝ่าย หรือ สำนัก ถ้าทำธุรกิจข้ามชาติ ก็เรียกว่า ทำธุรกิจไร้พรมแดน (Boundaryless World) คือไม่ถูกปิดกั้นโดยพรมแดนของประเทศ

6. เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น

ไม่พึงคิดว่าคนอื่นฉลาดไม่เท่าตน HR ที่ดีต้องเป็นนักฟังมากกว่าเป็นนักพูด ไม่ควรด่วนสรุปว่าความเห็นคนอื่นไม่ดี พฤติกรรมข้อนี้สัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในตัวเอง (self confidence) คนที่เชื่อมั่นในตัวเองสูงมักจะไม่ฟังเหตุผลของคนอื่น การมีความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นสิ่งที่ดีที่จะพึงมี แต่อย่าให้เกิดสภาพ over self confidence จะเป็นอันตราย

7. ยอมรับความจริงเสมอ

ในการบริหารงานบุคคลนั้น องค์กรไม่ได้ทำถูกไปเสียทุกเรื่อง ในบางเรื่องที่เห็นว่าผิด เราควรยอมรับว่า ผิด และควรแก้ไข บางเรื่องที่ถูกต้อง แต่พนักงานไม่เข้าใจก็ต้องอธิบายชี้แจง HR บางคนรักฝ่าย/กอง/สำนักของตนจนคิดว่า ฝ่าย/กอง/สำนัก ตัดสินอะไรไปแล้วต้องถูกห

8. มีความเป็นผู้ใหญ่ (Maturity)

สร้างความน่าเชื่อถือของ-hr การรู้จักควบคุมตัวเองไม่ให้หวั่นไหวโดยเฉพาะควบคุมอารมณ์รัก - เกลียด ที่ทำให้ลำเอียง ความเป็นผู้ใหญ่นั้นควรคิดแต่เรื่องสำคัญๆ ในงาน และไม่คิดเล็กคิดน้อย หรือคิดเรื่องส่วนตัว

พฤติกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้ง 8 ข้อ เป็นสิ่งที่ดี ที่ควรพัฒนาให้เกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว พึงยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ ไม่ทำๆ หยุดๆ ไม่เช่นนั้นจะหาคนอื่นเชื่อถือได้ยาก การทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย จะทำให้คนที่วางใจเราอยู่แล้ว เชื่อถือในตัวเราตลอดไป

ที่มา : www.thailocaladmin.go.th

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด