พัฒนาศักยภาพบุคลากร ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

          การพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยจำเป็นต้องสร้างและรักษาคนเก่ง (Talent) ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีคุณค่ายิ่ง

          คนเก่ง (Talent) เป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานสูง (High Performance) และมีศักยภาพสูง (High Potential) โดดเด่นเหนือจากผู้อื่น จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า คนเก่งขององค์การจะต้องทำงานร่วมกับคนอื่นได้ด้วย ซึ่งพวกเขาจะต้องมี ความสามารถพิเศษใน 4 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่

  1. ความสามารถในการมองอนาคต เข้าใจอนาคต เน้นภาพใหญ่ มองเห็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม
  2. ความสามารถในการดึงเอาคนอื่นให้เก่งตามไปด้วย
  3. ความสามารถในคิดสร้างสรรค์ มี Creativity and Innovation มีความคิดที่แตกต่างไปจากคนอื่น ใฝ่รู้ รอบรู้ รู้กว้าง ต้องการพัฒนาและแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ
  4. ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค ฉลาดในการแก้ไขปัญหา มีการควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้น

          องค์กรที่ประสบความสำเร็จในยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะต้องมีระบบการบริหารจัดการคนเก่ง ตั้งแต่ขั้นตอนการเสาะแสวงหาบุคลากร (Sourcing) การคัดกรอง (Screening) การคัดเลือก (Selection) การกระจายไปทำงาน (Deployment) การพัฒนาบุคลากร (Development) ตลอดจนการรักษาให้คงอยู่กับองค์กร (Retention) อย่างมีความสุข

          การรักษาคนเก่งให้สามารถทำงานอยู่กับองค์กรได้ มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. การเรียนรู้และพัฒนา เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานที่เป็นคนเก่งต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถและทักษะตามแนวทางที่องค์กรคาดหวัง ด้วยการส่งเสริมให้ได้ศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ประชุม และดูงาน
  2. สิ่งแวดล้อมการทำงาน (Work Environment Dimension) สภาพแวดล้อมในการทำงานดีจะทำให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ดี องค์กรจึงต้องคำนึงความเหมาะสมของตำแหน่งหน้าที่ลักษณะงาน และความปลอดภัยในการทำงาน
  3. รางวัลและผลตอบแทน (Reward and Compensation Dimension) เป็นการจูงใจคนเก่งให้ทำงานเพื่อผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นสำคัญ อาจจะเป็นเงินเดือน เงินรางวัล โบนัส คำชมเชย การให้ความไว้วางใจเป็นหัวหน้าหรือมอบหมายงานที่เหมาะสมให้กับคนเก่ง โดยการให้รางวัลและผลตอบแทนคนเก่งควรจ่ายตามความสามารถ (Pay for Competency) จ่ายตามผลงาน (Pay for Performance) จ่ายตามความร่วมมือ (Pay for Collaboration)
  4. พัฒนาบุคลากรโอกาสที่ท้าทายใหม่ ๆ (New Challenged Opportunity Dimension) เป็นการมอบหมายงานที่ท้าทาย มอบหมายงานสำคัญ ๆ หรือการสนับสนุนให้ทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น องค์กรต้องให้โอกาสคนเก่งได้ทำงานและได้แสดงศักยภาพและสมรรถนะ โดยกำหนดตัวชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicators – KPI) เพื่อคนเก่งเกิดการพัฒนาทักษะ (skill) ความรู้ (knowledge) หรือความสามารถ (ability) ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (continual improvement)

ที่มา : สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023พัฒนาศักยภาพบุคลากร ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ

ในยุคนี้นอกจากที่บริษัทจะต้องสร้างกลยุทธ์เพื่อมัดใจลูกค้าให้ยังซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ แล้ว การมัดใจพนักงานคนรุ่นใหม่...
ช่วงนี้มนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานออฟฟิศทั้งหลายเรียกได้ว่าเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลยื่นภาษีกันแล้ว ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธ...
เชื่อว่าทุกคนคงเคยเจอเหล่ามิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ กันมาแล้ว ทั้งโทรเข้ามาที่เบอร์โทรศัพท์โดยตรง มาในรูปแบบข้อความพร้อมแนบล...

คำค้นหายอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
No data was found
Scroll to Top