เทคนิคบริหารลูกน้องสำหรับผู้จัดการมือใหม่

เทคนิคบริหารลูกน้องสำหรับผู้จัดการมือใหม่
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

แต่ไหนแต่ไรสิ่งที่ผู้หลักผู้ใหญ่อวยพรลูกหลานมักต้องมี “ขอให้การงานเจริญก้าวหน้า” เพราะลูกหลานวัยทำงานย่อมต้องการเติบโตก้าวหน้าเหมือนกันทุกคน

การได้รับความไว้วางใจจากบริษัทหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ได้สร้างผลงานจึงเป็นโอกาสที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการได้ในอนาคต

พนักงานบริษัท หรือข้าราชการล้วนต้องการแสวงหาความ ก้าวหน้าในการทำงาน ด้วยการเติบโตขึ้นเป็น หัวหน้า เป็นผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้จัดการ ฯลฯ เพื่อได้ใช้ประสบการณ์และความรู้ความสามารถตัวเองสร้างความสำเร็จให้องค์กร

แต่การที่พนักงานธรรมดา ๆ จะก้าวขึ้นสู่ระดับบริหารได้ จำเป็นต้องมีความพร้อมรอบด้าน ความรู้ ประสบการณ์ อาวุโส ผลงานที่ผ่านมา ฯลฯ เพื่อนำมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร บทบาทผู้จัดการหรือผู้บริหารจึงต้องแตกต่างกับพนักงานอย่างชัดเจน คนที่จะขึ้นมานำผู้อื่นได้ต้องเข้าใจบทบาทตัวเองอย่างเด่นชัด

หลาย ๆ ครั้งเราจะเห็นผู้จัดการที่สั่งการไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว แต่ชอบเอา งาน กลับมาทำเสียเอง เพราะรู้สึกว่าตัวเองทำได้ดีกว่า ทั้ง ๆ ที่บทบาทแท้จริงน่าจะใช้ไปกับการควบคุมและสั่งการมากกว่าลงมือทำเอง ทำให้ลูกน้องไม่สามารถ พัฒนาตนเอง ได้ในระยะยาว

บทบาทการเป็นผู้บริหารเบื้องต้น คือ ใช้ทรัพยากรองค์กรได้ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงมีคุณลักษณะที่เกี่ยวเนื่องอีกมากมาย คือ

1. ต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมกับงานที่ทำขยายความจากตัวอย่างข้างต้น เพราะผู้จัดการมือใหม่ที่เพิ่งมารับหน้าที่มักจะเชื่อมั่นในฝีมือตัวเองมากเกินไปจนรับผิดชอบงานทั้งหมดไว้คนเดียว ไม่ยอมปล่อยให้ลูกน้องได้สร้างผลงานใด ๆ

ตรงกันข้ามกับผู้จัดการที่แบ่งงานเป็นส่วน ๆ ให้ลูกน้องแต่ละคนรับผิดชอบอย่างทั่วถึง สุดท้ายเมื่องานประสบความสำเร็จย่อมสร้างความภาคภูมิใจให้คนทั้งทีม เพราะแต่ละคนล้วนมีส่วนร่วมเท่าเทียม ทำให้แต่ละคนตระหนักในบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของตัวเองเต็มที่ และลูกน้องของเราย่อมได้ทักษะที่เพิ่มพูนขึ้น พัฒนาให้เขาเก่งขึ้นได้ต่อเนื่อง

2. ต้องมีความเชื่อมั่นเพราะเป็นประตูด่านแรกที่เราจะกล้าเปิดโอกาสให้ลูกน้องและทีมงานได้ทำงานที่ได้รับมอบหมาย หากเราไม่มั่นใจถึงจะมอบหมายงานให้เขาทำ เขาย่อมรับรู้ได้ว่าเราไม่มั่นใจ

ท้ายที่สุดกลายเป็นความกังวลใจ ความไม่แน่ใจของลูกน้องเราเองว่าไม่อาจทำได้สำเร็จเพราะผู้บังคับบัญชาไม่มั่นใจ

ผู้นำที่ดี จึงต้องมีความเชื่อมั่น และไว้วางใจลูกน้องของตัวเองให้ทำในสิ่งถูกต้องและเหมาะสม เป็นการสร้างความเชื่อมั่นระยะยาวให้ลูกทีมได้อีกทางหนึ่ง

3. ต้องสร้างทีมให้สำเร็จด้วยการสร้างความสมัครสมานสามัคคี ให้กำลังใจ ให้เขาเข้าใจว่าเรื่องที่จะทำมีอะไร ส่งผลอย่างไรต่อองค์กร ให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่จะทำและเกิดความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน

เทคนิคบริหารลูกน้อง 4. ต้องพูดให้น้อยลงเพราะบทบาทการเป็นผู้นำต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้องกล้าคิดและกล้านำเสนอ เพราะหากบทบาทการพูดและแสดงความเห็นยังเป็นของผู้นำ สุดท้ายแล้วก็จะไม่มีเวทีให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็นดี ๆ ของตัวเอง

สิ่งที่อาจเป็นความคิดใหม่ ๆ ของพนักงานจึงหดหายไป เพราะคำพูดของผู้บริหารที่ดูมีน้ำหนักมากกว่าเข้ามาแทน แล้วลูกน้องก็มักเอาแนวคิดนั้น ๆ ไปใช้ทันทีเพราะเชื่อว่าทำตามผู้ใหญ่แล้วย่อมไม่มีโอกาสผิดพลาด

ที่มา: “ทีมแห่งอนาคต” โดย แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

7 วิธีบริหารพนักงานให้เดินไปสู่ความสำเร็จ

3 วิธีที่หัวหน้าที่ดีใช้ในการดูแลพนักงาน

More from this category: เทรนด์งานยอดฮิตและเงินเดือน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้