คาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) งานหนักไม่เคยฆ่าใคร แต่เราอาจตายเพราะบ้างาน

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

           หากคุณคือคนหนึ่งที่ทำงานหนัก ตรากตรำจนทำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า รู้สึกอ่อนเพลีย หมดกำลังใจในการทำงาน สุขภาพจิตไม่ดี สุขภาพกายพัง นี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีอาการ Karoshi Syndrome มาดูกันว่า คุณกำลังมีอาการแบบนี้อยู่หรือเปล่า และจะมีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไรบ้าง

Karoshi Syndrome

Karoshi Syndrome คืออะไร

           คือ  อาการเหนื่อย หรือ อ่อนเพลียจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย เครียดสะสม จนทำให้เสียสุขภาพ และอาจเกิดอาการร้ายแรงที่นำไปสู่ชีวิต เช่น หัวใจวาย เป็นต้น

           คำคำนี้มีจุดเริ่มต้นจากภาษาญี่ปุ่น โดยคำว่า “คาโรชิ” เริ่มเป็นที่รู้จัก หลังจากที่มีข่าวพนักงานของสถานีโทรทัศน์ชื่อดังเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากการทำงานล่วงเวลาอย่างหนัก นอกจากนี้ ยังมีพนักงานบริษัทเอเจนซี่ชื่อดังระดับประเทศ ที่ทนความตึงเครียดจากการทำงานไม่ไหว จนตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ “ผลกระทบ” จากการทำงานที่มากเกินพอดีกันมากขึ้น

           เนื่องจากในสังคมการทำงานของญี่ปุ่นจะต้องทุ่มเทให้กับการทำงานมาก จนบางครั้งการทุ่มเทที่มากเกินพอดี อาจส่งผลเสียต่อคนทำงาน จนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตได้ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากวัฒนธรรมในการทำงานของบริษัทในญี่ปุ่น ที่มีความจริงจัง จนก่อให้เกิดความเครียดจากการทำงาน รวมไปถึงชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไป เช่น บังคับให้ทำงานล่วงเวลามากกว่า 100-150 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ติดต่อกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน จนร่างกายไม่ได้พักผ่อนให้เพียงพอ การเร่งทำยอด การตั้ง KPI ที่สูงเกินกว่าจะสามารถเอื้อมถึง การกดดันจากผู้มีอำนาจในที่ทำงาน จนเกิดความเครียดและอาการเหนื่อยล้าสะสม

 

เช็คลิสต์ เรากำลังเป็น Karoshi Syndrome อยู่หรือเปล่านะ?

  • คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา เหมือนสมองไม่ได้พักผ่อน บางครั้งอาจเก็บไปฝัน
  • ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  • ใช้เวลาในการทำงานเยอะมาก เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไม่สามารถลางานได้ ไม่มีโอกาสลางาน หรือแทบไม่ได้ใช้วันลา ทั้งลาป่วย ลาพักผ่อน และลากิจ
  • เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน
  • แทบไม่เคยใช้วันลาหยุด ไม่ว่าจะลาป่วย หรือลาพักร้อน
  • นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • แทบไม่มีเวลาพักผ่อน จำไม่ได้ว่าได้พักผ่อนจริง ๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
  • ไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนที่เรารัก

วิธีป้องกันคาโรชิซินโดรม

           ถ้าหากเราเป็นคนหนึ่งที่มีจำนวนชั่วโมงทำงานมากเกินไป ทำงานล่วงเวลาเป็นเวลายาวนานเกินไปหรือ โหมทำงานอย่างหนักมากเกินไปเพื่อเป้าหมายอะไรบางอย่างในชีวิต เราควรรู้จักการทำงานให้พอดี ไม่ตรากตรำทำงานหนักจนเกินไป แบ่งเวลาให้สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจอย่างแท้จริงบ้าง ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและมีความสุข เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ออกไปพบกะเพื่อนฝูงหรือคนที่เรารัก พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีปัญหากับการนอน ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ใส่ใจกับการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รู้จักการปล่อยวางความคิด ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน หรือคิดต่อที่บ้านมากจนเกินไป หากพบว่าเรากำลังรับงานที่มากเกินความพอดี ควรรีบปรึกษาหัวหน้าเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่ารอให้เสียสุขภาพแล้วจึงค่อยคิดหาทางแก้

           หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหางานใหม่เพื่อ Work-life balance ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เข้ามาสร้างโปรไฟล์และสมัครงานได้ง่าย ๆ ที่แอปพลิเคชัน JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

ทำงานแบบ Multitasking คืออะไร? เหมาะกับใคร เราควรทำงานแบบนี้ไหมนะ

เทคนิคการ Motivate ตัวเอง ให้พร้อมลุยงานทุกสถานการณ์

เปลี่ยน work hard เป็น work smart ด้วย Systematic Thinking อัพสกิลคิดอย่างเป็นระบบ

เลิกทำงานแบบ Multitasking จนสับสน ด้วยเทคนิคจัดตารางชีวิตแบบ Task Batching

แอปพลิเคชัน ทดสอบสุขภาพจิต อยู่บ้านก็ดูแลใจให้แข็งแรงได้
บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023คาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) งานหนักไม่เคยฆ่าใคร แต่เราอาจตายเพราะบ้างาน

เชื่อว่าในแวดวงชาวออฟฟิศช่วงหลังมานี้ ต้องเคยได้ยินเรื่อง Work Life Balance ผ่านหูกันอยู่บ้าง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเทรน...
“Data is the new oil” เป็นคำกล่าวที่แสดงถึงความสำคัญของข้อมูลในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่ข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่ามห...
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานะว่างงานด้วยเหตุผลไหน จะถูกให้ออกจากงานหรือออกมาด้วยความสมัครใจ หลายคนก็น่าจะมีความกังวลใจกับความไม...

คำค้นหายอดนิยม

Scroll to Top