7 วิธีแก้สมองตันในวันที่งานไม่เดิน

7 วิธีแก้สมองตันในวันที่งานไม่เดิน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เคยรู้สึกไหมว่า บางช่วงของชีวิตที่โดนพายุงานถาโถม โหมกระหน่ำ เดินไปทางไหนก็มีแต่คนฝากให้ทำงานนี้นิด งานโน้นหน่อย และที่หนักสุด ต้องเข้าห้องเย็นไปมีทติ้งกลั่นเอาความรู้ ความสามารถที่มีไปคิดงาน discuss ไอเดียกับเจ้านายจนหมดวัน จะเป็นช่วงที่สมองเบลอตื้อตัน คิดอะไรไม่ค่อยออก ดูเหมือนสมองรวน ๆ ไปสักพัก อันเกิดมาจากการที่ต้องเค้นสมองให้คิดให้จำทุกเรื่องอยู่ตลอดเวลา จริง ๆ ต้องบอกว่า ถ้าใครไม่เคยเป็นเลยคงเป็นคนที่โชคดีมาก หรือไม่ก็เป็นมหาเศรษฐินีที่ไม่ต้องทำงานหนักเลยจึงไม่ต้องใช้ความคิดอะไรมากมายนัก แต่โดยปกติมนุษย์ออฟฟิศ ชีวิตชิค ๆ แบบชาวเราคงหนีไม่รอดอาการสมองตันเป็นแน่ แต่ถ้าเกิดความรู้สึกแบบนั้นเมื่อไหร่ก็ไม่ต้องกังวล ลองทำตาม 7 ข้อด้านล่างนี้คาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาสมองเออเร่อได้แน่นอน

1. คิดไม่ออกต้องเรียงลำดับความคิด

เวลาคิดอะไรไม่ออก สมองมันตีบมันตัน อาจเป็นเพราะวิธีคิดเราผิด หรือไม่เข้าใจโจทย์ที่ได้รับมาอย่างแท้จริง ก็ต้องทวนโจทย์ อาจจะไปถามผู้ที่สั่งงานคุณมาว่าที่เค้าต้องการจากคุณคืออะไรกันแน่ แล้วมาเรียงลำดับความคิดใหม่อีกทีว่า เอ๊ะ ต้องใช้วิธีคิดอย่างไร กลยุทธ์ไหนจึงจะตีโจทย์แตกกันแน่ สูดหายใจลึก ๆ กำหนดลมปราณ แล้วลองใหม่อีกตั้งค่ะ

2. คิดไม่ออกต้องเม้าท์มอย

ถ้าสมองอ่อนล้ามาก คิดต่อไปไม่ไหวแล้ว ก็ขอให้หยุดคิดจะดีกว่า ฝืนต่อไปก็คงคิดไม่ออก ลองเดินออกจากโต๊ะไปเม้าท์มอยกับเพื่อนร่วมงานแถว ๆ นั้นดูบ้าง อาจเริ่มด้วยบทสนทนาทั่ว ๆ ไป เน้นเรื่องที่เบาสมองเป็นหลัก แล้วค่อยตบท้ายด้วยการถามหาไอเดียที่เกี่ยวข้อง ที่คุณอาจเอามาต่อยอดความคิดในเรื่องที่ยังค้างคาอยู่ก็ไม่เสียหลาย หลายหัวช่วยกันคิด ดีกว่านั่งหมกมุ่นอยู่คนเดียวเป็นไหน ๆ อยู่แล้ว

3. คิดไม่ออกต้องออกไปหาขนมขบเคี้ยว

เวลาใช้สมองมาก ๆ ร่างกายจะต้องการพลังงานเป็นจำนวนมาก เพื่อสังเคราะห์สาร อาหารหล่อเลี้ยงสมอง บ่อยครั้งในระหว่างการประชุมที่เคร่งเครียดเรา แล้วเราได้ยินเสียงท้องร้องโครกครากจากใครบางคน หรือแม้กระทั่งของตัวเอง ถ้าคิดไม่ออกจะทนทรมานอยู่ไย รีบไปหาของมากระแทกปากไว ๆ จะมีประโยชน์กว่า เคยได้ยินมั้ยจ๊ะว่า กองทัพต้องเดินด้วยท้อง

4. คิดไม่ออกต้องท่องเนต เล่นโซเชียล

แหล่งรวมของการเรียนรู้ และไอเดียขนาดใหญ่สมัยนี้ คงหนีไม่พ้นอินเตอร์เนต และโซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ ที่มีเรื่องราวให้เราเสพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเบาสมองวาไรตี้ จนไปถึงเรื่องหนัก ๆ เปี่ยมสาระ ดังนั้นถ้าเราสมองตีบสมองตัน ก็เลื่อนเม้าท์ไปเข้าเนท หาอะไรดูผ่อนคลายให้อมยิ้ม หรือหาไอเดียต่อยอดแนวคิดที่เรากำลังคิดอยู่ก็ได้ทั้งนั้น ลองโพสท์ถามไอเดียเพื่อนในโซเชียลดูก็ได้ เผื่ออาจจะได้ความคิดสด ใหม่ แบบที่คิดไม่ถึงกันเลยทีเดียว

5. คิดไม่ออกต้องออกไปหาแรงบันดาลใจ

ถ้า deadline งานคุณยังพอมีเวลา ลองออกไปแตะขอบฟ้าแบบที่พี่ตูน บอดี้สแลม แนะนำบ้างจะเป็นไร หลาย ๆ ครั้งการนั่งจ่อมเจ่าอยู่ที่เดิมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สมองตันเช่นกัน ลองเดินออกไปมองฟ้า มองน้ำ ไปซื้อกาแฟ หรือไปพักผ่อนนอกโต๊ะทำงาน หรือเดินออกไปนอกออฟฟิศสักพัก สมองอาจลื่นไหลขึ้น แต่อย่าไปนานจนโดนดุล่ะ ควบคุมเวลาของตัวเองให้ดีด้วย จะได้ไม่มีปัญหาตามมาทีหลัง

6. คิดไม่ออกต้องออกกำลังกาย

การออกกำลังกายได้รับการวิจัยจากหลายสถาบันมาแล้วทั่วโลกว่าทำให้เลือดสูบฉีด อะดรีนาลีนหลั่งไหล สมองแล่นไว ดังนั้นถ้าคิดไม่ออก ไอเดียฝืดเคือง หยิบรองเท้าวิ่งขึ้นมา แล้วออกวิ่งพอเหนื่อย หรือจะว่ายน้ำ โยคะ ฝึกสมาธิทำได้ทั้งนั้น เอาที่ชอบ ๆ ทำให้เหมือนประมาณว่า พักสมองไม่ต้องคิดเรื่องงานไปเลยสักชั่วโมง สองชั่วโมงแล้วไปออกกำลังกาย เชื่อสิ ไอเดียจะแล่นปรู้ดปร้าดเลยทีเดียว

7. คิดไม่ออกต้องหยุดใช้เวลากับตัวเองให้มาก

เวลาคิดไม่ออก อย่าหมกมุ่น เวลาสมองตัน ก็ต้องพยายามทำให้สมองโล่ง ๆ อย่าไปกดดันตัวเองอะไรขนาดนั้น ยิ่งคิดวนไปวนมายิ่งคิดไม่ออก ถ้าเริ่มรู้สึกว่าใช้เวลากับอะไรนานเกินไปให้หยุดคิด แล้วหันเหความสนใจไปทำอย่างอื่นสักพักค่อยกลับมาทำต่อจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า พักสักนิด ความคิดมาแน่นอน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

jobsDB Mobile App

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

6 วิธีง่าย ๆ ช่วยพัฒนาสมองในการทำงาน

3 เทคนิคฝึกสมองให้โฟกัสงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด