ง่วงในที่ทำงาน และวิธีแก้ง่วงในที่ทำงาน

ง่วงในที่ทำงาน และวิธีแก้ง่วงในที่ทำงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

"ฮ๊าวว.." เสียงหาวพร้อมกับน้ำตาไหลจากความง่วงนอนที่คุณต้องตื่นไปทำงาน อาการเซื่องซึมหลังจากถึงโต๊ะที่ทำงาน และยิ่งแทบลืมตาไม่ขึ้นหลังจากพักทาน ข้าวกลางวัน มา

ความง่วงที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ส่งผลต่อพนักงานและองค์กร พนักงานเองก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเผลอสัปหงกบนโต๊ะทำงานหรือลามไปเวลามีประชุมต่างๆ เสียทั้งบุคลิกและเสี่ยงต่อการโดนเรียกตักเตือนจากหัวหน้างานอีกต่างหาก นี่ยังไม่รวมถึงเสียงกรนที่สร้างเสียงหัวเราะให้เพื่อนร่วมโต๊ะทำงานข้างๆด้วย องค์กรเองก็ได้รับผลกระทบจาก ความเหนื่อยล้าของพนักงาน เช่นกัน งานที่พนักงานควรจะทำได้เต็ม 100 แต่สามารถทำได้ไม่เต็มส่วนเช่นกัน ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการอดหลับอดนอน หรือนอนไม่หลับในกลางคืนนั่นเอง

jobsDBมีวิธีการแก้ง่วงในที่ทำงานมาฝากกันครับ

1. เปิดเพลงปลุกคุณให้ตื่น

เสียงเพลงช่วยกระตุ้นอารมณ์และการตอบสนองของคุณ รวมถึงหลายๆส่วนในสมองด้วย ถ้าคุณสามารถเต้นหรือร้องไปกับเพลงด้วย หรือแม้แต่คุณขยับหัวหรือฮัมเพลงตามจังหวะ ช่วยให้คุณตื่นอยู่เสมอ อ่อ เปิดเพลงในระดับเสียงที่เหมาะสมหรือใช้หูฟังจะดีที่สุด
ขอแถมวิธีการฟังเพลงที่ดี่ที่สุด คือการเปิดเพลงฟังโดยเปิดเสียงให้เบาจะดีกว่าเปิดเพลงเสียง เพราะคุณจะพยายามฟังเครืื่องดนตรี เนื้อเพลง และจังหวะต่างๆ ซึ่งช่วยให้คุณ มีสมาธิ และไม่ง่วงนั่นเอง

2. ตั้งใจและมีสมาธิ

จะช่วยให้คุณทำและโฟกัสกับงานมากยิ่งขึ้น ทำให้คุณไม่ว่อกแว่ก

3. รับแสงสว่าง

โดยเฉพาะแสงแดดตามธรรมชาติ โดยปกติร่างกายของเราจะมีนาฬิกาภายในร่างกายซึ่งจะได้รับการกระตุ้นเมื่อได้รับแสงแดด คุณอาจพาตัวไปรับแสงแดดซึ่งจะช่วยให้คุณสดชื่นขึ้นจากความเหนื่อยล้าได้ ลองเดินออกไปนอกตึกหรือมองไปนอกหน้าต่างซักนาทีสองนาที คุณจะรู้สึกดีขึ้น
แต่ถ้าหากคุณทำงานภายใต้แสงนีออน เปิดให้สว่างที่สุดหรือเลือกเปลี่ยนหลอดไฟที่สว่างยิ่งกว่าเดิม

4. เคี้ยวน้ำแข็ง!

ฟังดูอยู่เหนือความคาดคิด(เรามักถูกแนะนำให้เคี้ยวหมากฝรั่งแทน) แต่การเคี้ยวน้ำแข็งทำให้คุณแทบไม่เกิดอาการง่วงเลยอย่างแน่นอน อุณภูมิจากน้ำแข็งช่วยกระตุ้นสมองอยู่เสมอ วิธีการเย็นๆนี้ยังนำไปใช้ตอนคุณขับรถขณะเหนื่อยล้าจนเกือบหลับขณะกลางคืนได้อีกด้วย การเคี้ยวนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแทะดินสอหรือปากกา เป็นการสั่งการให้ร่างกายปล่อยอินซูลินซึ่งจะช่วยให้คุณกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น

5. ล้างหน้าด้วยน้ำเย็น

วิธีนี้ง่ายสุดและก็ไม่ต้องวุ่นวายอะไรมาก ใช้น้ำเย็นลูบหน้า ร่างกายของคุณจะตอบสนองกับอากาศเย็นโดยการปรับอุณหภูมิร่างกายให้อุ่นขึ้นเพื่อให้ทุกส่วนในร่างกายทำงานเป็นปกติ ดังนั้นถ้าคุณสามารถหาน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดลูบหน้าได้ จะช่วยให้คุณหายง่วงเป็นปลิดทิ้ง(เพราะความเย็นจัด)

6. ยืดเส้นยืดสาย

การสะบัดแข็งสะบัดขาหรือบิดตัวไปมาช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเรื่อง ช่วยให้สดชื่นขึ้น ลองเอียงคอข้างละประมาณ 20 วินาทีจะช่วยให้คุณสดชื่นขึ้นได้

7. เดินไปเดินมา

ลองเดินไปมาเป็นระยะทางสั้นๆ หลายคนใช้วิธีการเดินเพื่อช่วยทำให้รางกายกระปรี้กระเปร่า โดยเฉพาะหากคุณต้องทำงานหน้าคอมเป็นระยะเวลานานๆถือเป็นการพักสายตาและผ่อนคลายไปในตัว
หากมีเอกสารที่คุณจะต้องส่งให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้จัดการ(เช่นการเซนต์เช็คหรือเอกสารอื่นๆ) คุณอาจจะเก็บไว้ส่งให้ตอนคุณกำลังง่วงนอนแทน ระหว่างการเดินไปกลับจะช่วยกระตุ้นร่างกายให้สดชื่นขึ้นได้ นอกจากนี้มีงานวิจัยระบุว่าการหยุดพักทำงานในช่วงเวลาหนึ่งๆช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

8. งีบหลับ!

แค่ 15-20 นาทีคุณก็จะสดชื่นขึ้นทันที วิธีการนี้ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผล(แอดมินงีบพักตอนกลางวันบ่อย)  เสริมด้วยการดื่มกาแฟก่อนงีบหลับ เมื่อคุณตื่นขึ้นมาฤทธิ์ขอกาแฟจะเริ่มทำงานทำให้คุณสดชื่นขึ้นยิ่งกว่าเดิม

แม้ว่าวิธีที่กล่าวมาจะช่วยให้คุณสดชื่นขึ้นและหายจากความง่วงได้ แต่ต้นเหตุจริงๆคือ การพักผ่อนไม่เพียงพอ สมองของจะมีการจดจำเวลาเข้านอนเป็นเวลาในทุกๆวัน ทำให้สมองมีรูปแบบการจดจำการนอนหลับเป็นรูปแบบ การทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ จะช่วยให้คุณได้รับพลังงานเพียงพอในแต่ละวันโดยที่ทำให้คุณไม่ต้องงีบเพิ่มเติม โดยปกติผู้ใหญ่วัยทำงานควรนอนวันละ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน หากเป็นผู้สูงอายุควรและหญิงตั้งครรภ์ควรนอนให้มากขึ้นที่ 10-11 ชั่วโมงต่อวัน

ยังมีเทคนิคดีๆพร้อมสาระในเพื่อการหางานอีกเพียบ คลิกที่นี่ เพื่ออ่านต่อ

#icanbebetter

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด