Lean Startup ถอดบทเรียนหลักการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัปพร้อมปรับตัวยุคดิจิทัล

Lean Startup ถอดบทเรียนหลักการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัปพร้อมปรับตัวยุคดิจิทัล
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

โลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่ง เนื่องด้วยผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงการเติบโตอย่างแทบไม่อาจคาดเดาของวงการเทคโนโลยีและดิจิทัล ส่งผลให้ธุรกิจเกิดใหม่หรือ สตาร์ทอัป (Startup) มากมายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในเวลาไม่นาน เพื่อให้สตาร์ทอัปของคุณมีโอกาสอยู่รอดและเติบโต อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับตัวให้เป็น “Lean Startup”

Lean Startup

Lean Startupเป็นแนวคิดการพัฒนาสตาร์ทอัปที่คิดค้นขึ้นโดย อีริก รีส (Eric Ries) ผู้ร่วมก่อตั้ง IMVU แพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กโลกเสมือนจริง 3 มิติ โดยนำแนวคิดเรื่องการจัดการการผลิตแบบ “ Lean ” ของโตโยต้า (Toyota) ซึ่งเน้นการลดทอนรายละเอียดที่ไม่จำเป็น และให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าของสินค้าหรือแบรนด์เป็นหลัก มาประยุกต์เข้ากับการบริหารจัดการสตาร์ทอัป

สำหรับรีส แนวคิดการพัฒนาธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่เริ่มต้นจากการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการขึ้นมาก่อน แล้วค่อยตามหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Potential customer) ภายหลัง เป็นวิธีการที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของสตาร์ทอัป เพราะมักทำให้สูญเสียทรัพยากรและเวลาโดยไม่จำเป็น รวมถึงได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มกับที่เสียไป นำไปสู่การล้มเลิกกิจการในที่สุด

Lean Startup คือแนวคิดที่มาเพื่อหักล้างวิธีการดั้งเดิมข้างต้น โดยเปลี่ยนโฟกัสไปยังการทำความเข้าใจผู้บริโภค เริ่มต้นจากการสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าต้องการอะไร มี Pain point หรือปัญหาใดบ้างที่อยากแก้ไข จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลเป็นไอเดียพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง และไม่ใช้ทรัพยากรที่มี ไม่ว่าจะเงินทุน แรงงาน หรือเวลา

หลักการสำคัญ  มีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ได้แก่

  1. ผู้ประกอบการมีอยู่ทุกที่(Entrepreneurs are everywhere) ไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ไหน จะเป็นออฟฟิศ บ้าน โคเวิร์กกิงสเปซ คาเฟ่ หรืออู่ซ่อมรถ ถ้าคุณมีธุรกิจสตาร์ทอัปหรือกิจการของตัวเอง คุณก็คือผู้ประกอบการคนหนึ่ง
  2. การเป็นผู้ประกอบการคือการบริหารจัดการ(Entrepreneurship is management) การทำสตาร์ทอัปให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่การทำผลิตภัณฑ์หรือบริการออกมาขายเท่านั้น แต่ต้องอาศัยการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
  3. การเรียนรู้จากการทดสอบ(Validated learning) มีการเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำมาวิเคราะห์และต่อยอดเป็นกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัปให้อยู่รอดได้ในระยะยาว โดยข้อมูลที่จะนำไปเรียนรู้เพื่อพัฒนาสตาร์ทอัปของเราต้องมาจากการทดสอบหรือการวัดผลประเมินผลที่จับต้องได้ มีหลักเกณฑ์ชัดเจน เช่น การทำแบบสอบถาม (Survey) วัดความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การนำข้อมูลของธุรกิจที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ทางสถิติ เป็นต้น
  4. การจัดการบัญชีอย่างมีนวัตกรรม(Innovation Accounting) ธุรกิจที่มีการทำบัญชีเป็นระบบ มีบันทึกผลประกอบการและโครงสร้างการทำงานชัดเจน จะยิ่งดูน่าเชื่อถือและมีโอกาสก้าวหน้าในทางธุรกิจมากขึ้น เจ้าของสตาร์ทอัปจึงจำเป็นต้องคิดค้นระบบการบัญชีที่เหมาะสมต่อธุรกิจของตนเอง
  5. สร้าง วัดผล และเรียนรู้(Build – Measure – Learn) ข้อนี้คือหัวใจหลักของ Lean Startup เป็นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัปอยู่รอดได้ในระยะยาว ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
  • สร้าง (Build): นำไอเดียที่สังเคราะห์ได้จากความต้องการหรือปัญหาของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการปล่อยออกสู่สาธารณะโดยเร็วที่สุด โดยผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสมบูรณ์ทุกอย่าง ขอแค่มีส่วนที่จำเป็นครบถ้วนก็เพียงพอ กล่าวคือ เป็นสินค้าที่พอใช้งานได้จริง (Minimum viable product) อาจปล่อยไปในรูปของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) หรือสินค้าตัวทดลองเพื่อให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ทดลองใช้
  • วัดผล (Measure): คิดระบบสำหรับตรวจสอบและวัดผลความพึงพอใจในตัวอย่างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ปล่อยสู่สาธารณะ โดยกำหนดตัวชี้วัดอย่างมีหลักการชัดเจน รวมถึงรวบรวมผลตอบรับ (Feedback) และความคิดเห็นจากลูกค้าเท่าที่จำเป็นต่อการพัฒนาสินค้าของเรา
  • เรียนรู้ (Learn): นำข้อมูลที่ได้จากการวัดผล ตลอดจนความคิดเห็นที่จำเป็นจากลูกค้า มาวิเคราะห์และสรุปเพื่อใช้เป็นแนวทางปรับปรุงหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการต่อไป สิ่งไหนที่ไม่เวิร์ก ผลตอบรับไม่ดี ก็เปลี่ยนไปใช้รูปแบบอื่น (Pivot) ส่วนอะไรที่ผลตอบรับดีก็ทำต่อไป (Persevere)

โดยผู้ประกอบการควรนำ 3 ขั้นตอนดังกล่าวมาวนลูปใช้เรื่อย ๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างต่อเนื่อง เหมาะสมต่อเหตุการณ์แวดล้อมและความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัปอยู่รอดและพร้อมดำเนินการต่อไปได้ทุกสถานการณ์

ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการหลายรายทั่วโลกนำหลักการนี้ไปใช้ และพัฒนาต่อเนื่องจนกลายเป็นแบรนด์ที่ยั่งยืนและมีแนวทางของตัวเองชัดเจน ตัวอย่างแบรนด์หรือบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการนำหลักการนี้ไปใช้ เช่น IMVU ของอีริก รีส ผู้คิดค้นหลักการนี้เอง, Dropbox, Wealthfront, Grockit, Votizen, Aardvark หรือแม้กระทั่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง Facebook ก็มีแนวทางปรับปรุงและพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักการนี้อย่างต่อเนื่อง

กล่าวโดยสรุปคือ หลักการนี้คือการทำธุรกิจแบบ “น้อยแต่มาก” เริ่มจากการสร้างอย่างน้อย ๆ เท่าที่จำเป็น ตามด้วยการปรับปรุงและพัฒนาทีละน้อย ๆ เฉพาะเท่าที่จำเป็น แต่ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นโมเดลธุรกิจที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีต้นทุนน้อย แต่ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ทั้งเรียนรู้จากประสบการณ์และข้อผิดพลาด และเรียนรู้จากโลกรอบด้านที่ไม่เคยหยุดหมุน เปรียบเทียบได้กับคนที่อยากมี “หุ่นลีน” ก็ต้องรับประทานอาหารเฉพาะที่มีสารอาหารอันจำเป็นต่อร่างกาย รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และขวนขวายหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-start-up/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/pain-point-%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/root-cause-analysis/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/design-thinking/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b9%8c/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/chat-bot-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%88%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด