เช็กด่วน! Easy E-Receipt 2567 คืออะไร เงื่อนไขแบบไหน ช้อปอะไรได้บ้าง

เช็กด่วน! Easy E-Receipt 2567 คืออะไร เงื่อนไขแบบไหน ช้อปอะไรได้บ้าง
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 19 January, 2024
Share

เปิดปี 2567 ต้อนรับปีใหม่ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล กับโครงการเด็ดเอาใจขาช้อป ซึ่งในปีก่อนๆ มาในชื่อ “ช้อปดีมีคืน” จนกลายมาเป็นโครงการ “Easy Easy E-Receipt” ในปัจจุบัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการบริโภคและใช้จ่ายในประเทศ พร้อมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย

โครงการ Easy E-Receipt 2567 คืออะไร

Easy E-Receipt คือ โครงการที่เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในการสนับสนุนช่วยเหลือประชาชน และร้านค้าที่เข้าร่วมออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) โดยประชาชนสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ตามเงื่อนไขที่ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ก็จะสามารถนำใบกำกับภาษีที่ร้านค้าออกให้ มาใช้ในการยื่นลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2567

Easy E-Receipt 2567 เริ่มเมื่อไร สิ้นสุดวันไหน

โครงการ Easy E-Receipt เริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ไปจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 รวมระยะเวลา 60 วัน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นสิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่สรรพากรกำหนด หากมีการใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ร่วมโครงการนอกเหนือจากช่วงเหลือดังกล่าว จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนได้ โดยการลดหย่อนนี้จะใช้สำหรับการยื่นภาษีของปี 2567 (เริ่มการยื่นแบบต้นปี 2568)

เงื่อนไขของผู้ที่สามารถเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2567

- เป็นบุคคลธรรมดาที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ประเภทบุคคลธรรมดา ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

- ทำการซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือผู้ประกอบการทั่วไป

- มีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่ออกผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร

สินค้าและบริการที่เข้าร่วม Easy E-Receipt 2567

สำหรับการใช้สิทธิ Easy E-Receipt ในการลดหย่อนภาษีนั้น จะต้องเป็นสินค้าหรือบริการในประเทศไทยเท่านั้น โดยสินค้าและบริการที่ร่วมโครงการ มีดังนี้

- สินค้าและบริการทั่วไป ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

- หนังสือ, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร, E-book, หนังสือเรียน

- สินค้าท้องถิ่น OTOP ที่มีการขึ้นทะเบียนถูกต้อง

- ร้านค้าทั่วไปหรือร้านค้าออนไลน์ ที่สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ

- ค่าที่พักโรงแรม และค่าอาหารโรงแรม (ต้องเป็นการเข้าพักหรือใช้บริการตามระยะเวลาของโครงการ Easy E-Receipt)

- ทองคำรูปพรรณ (สามารถนำมาลดหย่อนได้เฉพาะค่ากำเหน็จ)

- ค่าซ่อมรถ เข้าศูนย์ เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนยางรถยนต์ หรืออุปกรณ์แต่งรถ

สินค้าและบริการที่ไม่เข้าโครงการ Easy E-Receipt 2567

นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกหลายประเภทที่มีการยกเว้นและไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ มีดังนี้

- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ หรือไวน์

- ยาสูบ

- ยานพาหนะต่างๆ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเรือ

- ค่าน้ำมัน หรือค่าก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ

- ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการอินเทอร์เน็ต

- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

- ค่าเบี้ยประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ

- ทองคำแท่ง

- อาหารสุนัข อาหารแมว หรืออาหารสัตว์ทุกประเภท

- ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าทำศัลยกรรม

- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาว ซึ่งมีระยะเวลาเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 ก.พ. 2567

เช็กยังไง? ร้านไหนที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2567

หากซื้อสินค้าที่เข้าร่วมโครงการแล้วให้ทางร้านค้าออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ให้สังเกตเอกสารที่ร้านค้านั้นๆ ออกให้ จะต้องมีคำว่า “เอกสารนี้ได้จัดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”


หรือหากกำลังแพลนว่าจะไปช้อปปิ้งแล้วสงสัยว่าร้านที่กำลังจะไปซื้อสินค้าหรือบริการ เข้าร่วมโครงการไหม ก็สามารถตรวจสอบได้จากรายชื่อผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email โดยสามารถค้นหาประเภทกิจการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และชื่อสถานประกอบการหรือชื่อผู้ประกอบการได้จากเว็บไซต์ E-TAX

โครงการ Easy E-Receipt 2567 ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

การคำนวณภาษีลดหย่อนนั้นขึ้นอยู่กับฐานการเสียภาษีและรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งหลายคนก็อาจสงสัยว่า หากตนเองใช้จ่ายตามสิทธิครบ 50,000 บาทแล้ว จะได้ประหยัดภาษีไปได้เท่าไร เราลองสรุปยอดการใช้จ่ายของแต่ละฐานรายได้ต่อปีมาให้แบบคร่าวๆ แล้ว ซึ่งหากกรณีที่ใช้จ่ายไม่ถึง 50,000 บาท ก็จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนด้สูงสุดตามยอดที่ได้ใช้จ่ายจริงเท่านั้น ดังนี้  


เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท/ปี

หากมีรายได้รวมต่อปีไม่เกินจำนวนนี้ ถือว่าไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นไม่ว่าจะใช้จ่ายเท่าไร ก็ถือว่าไม่ได้ช่วยในการประหยัดภาษี

เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท/ปี

- อัตราการเสียภาษี 5%

- ใช้จ่าย 50,000 บาท ประหยัดภาษี 2,500 บาท

- ใช้จ่าย 10,000 บาท ประหยัดภาษี 500 บาท

เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท/ปี

- อัตราการเสียภาษี 10%

- ใช้จ่าย 50,000 บาท ประหยัดภาษี 5,000 บาท

- ใช้จ่าย 10,000 บาท ประหยัดภาษี 1,000 บาท

เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท/ปี

- อัตราการเสียภาษี 20%

- ใช้จ่าย 50,000 บาท ประหยัดภาษี 10,000 บาท

- ใช้จ่าย 10,000 บาท ประหยัดภาษี 2,000 บาท

เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท/ปี

- อัตราการเสียภาษี 25%

- ใช้จ่าย 50,000 บาท ประหยัดภาษี 12,500 บาท

- ใช้จ่าย 10,000 บาท ประหยัดภาษี 2,500 บาท

เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000 บาท/ปี

- อัตราการเสียภาษี 30%

- ใช้จ่าย 50,000 บาท ประหยัดภาษี 15,000 บาท

- ใช้จ่าย 10,000 บาท ประหยัดภาษี 3,000 บาท

เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป

- อัตราการเสียภาษี 35%

- ใช้จ่าย 50,000 บาท ประหยัดภาษี 17,500 บาท

- ใช้จ่าย 10,000 บาท ประหยัดภาษี 3,500 บาท

สรุปเรื่องราวโครงการ Easy E-Receipt 2567

Easy E-Receipt ถือเป็นโครงการดีๆ จากรัฐบาลที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยให้ผู้มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 50,000 บาท เพียงแค่ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือผู้ประกอบการทั่วไป และใช้หลักฐานในการยื่นลดหย่อนเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่ออกผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร ใครที่แพลนจะช้อปรับต้นปีอยู่แล้ว บอกเลยว่าต้องรีบจัดด่วน โอกาสแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยๆ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด