การคัดเลือกผู้สมัครงานที่มีประสบการณ์ไม่ตรงสายงาน

การคัดเลือกผู้สมัครงานที่มีประสบการณ์ไม่ตรงสายงาน
Jobsdb content teamupdated on 30 May, 2017
Share

การจ้างผู้ที่มีประสบการณ์ในสายงานนั้น ๆ มาทำงานในตำแหน่งที่บริษัทกำลังเปิดรับอยู่ มีโอกาสที่จะได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งบริษัทไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและเวลา ในการสอนงานมากนัก แต่ค่าจ้างอาจสูงเนื่องจากผู้สมัครงานย่อมมีอำนาจในการต่อรองเงินเดือนสูงตามประสบการณ์ ทั้งที่งานบางตำแหน่งอาจไม่จำเป็นต้องจ้างคนที่มีประสบการณ์ตรงเพราะสามารถเรียนรู้งานได้ ตรงกันข้ามการจ้างนักศึกษาจบใหม่หรือคนไม่มีประสบการณ์การทำงานเลยทำให้บริษัทไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสูง อีกทั้งตัวผู้สมัครงานเองยังไฟแรงพร้อมที่จะเรียนรู้งาน แต่บริษัทอาจต้องลงทุนในเรื่องของการฝึกอบรม และตัวผู้ทำงานเองอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการปรับตัวให้เข้าที่เข้าทาง ดังนั้น การจ้างคนที่เคยทำงานมาบ้าง แต่ยังไม่มีประสบการณ์ในตำแหน่งงานนี้มาก่อน อาจเป็นทางเลือกที่ดี เหตุผลคือ

  • ผู้สมัครงานที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานที่ทำจากสายหนึ่งมาทำอีกสายหนึ่งที่ตนสนใจอยู่ มักไม่เรียกเงินเดือนสูงจนเกินไป เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการ คือโอกาสในการเรียนรู้งานเพื่อนำประสบการณ์ไปใช้สร้างความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพของตนเอง
  • ผู้สมัครงานมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้งานหากมีโอกาสได้ทำ เพราะเป็นงานที่ตนเลือกแล้วว่าสนใจ
  • เนื่องจากผู้สมัครงานเคยทำงานมาก่อน เมื่อเปลี่ยนมาทำงานในอีกสายงานหนึ่ง แม้ว่าอาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ทักษะเฉพาะทางอยู่บ้างแต่ก็สามารถปรับตัวได้เร็วในระดับหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อบริษัทตัดสินใจว่าจะจ้างคนที่มีประสบการณ์ไม่ตรงสายงานแล้ว สิ่งที่ควรถามผู้สมัครงานในการ สัมภาษณ์งาน เพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานมากที่สุด มีดังนี้

1. พื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์การทำงานเดิม

ผู้สัมภาษณ์งานควรสอบถามขอบเขตของงานที่ผู้สมัครงานทำมาก่อนหน้านี้ ความรู้ที่ผู้สมัครงานเคยเรียนมา แล้วดูว่าตัวผู้สมัครงานจะสามารถนำมาเชื่อมโยงกับตำแหน่งงานนี้ได้อย่างไร เนื่องจากความรู้หรือหลักการในงานด้านหนึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานอีกด้านหนึ่งได้หากตัวผู้สมัครงานรู้จักประยุกต์ใช้

2. ความสนใจในตำแหน่งงาน และความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน

ผู้สัมภาษณ์งานอาจลองถามผู้สมัครงานเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจ งานอดิเรก ทักษะหรือความสามารถพิเศษ แล้วให้ผู้สมัครงานอธิบายว่า สิ่งที่เขาสนใจ ชอบ หรือถนัดนั้นจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้อย่างไร ทั้งนี้การเลือกผู้สมัครงานที่มีความสนใจ และความรู้ที่เอื้อต่อการทำงานในตำแหน่งงานนั้น ๆ จะทำให้ได้คนทำงานที่ไม่รู้สึกว่าการปรับตัวให้เข้ากับงานเป็นเรื่องยากลำบากและฝืนธรรมชาติ อีกทั้งยังเรียนรู้งานได้เร็วอีกด้วย

3. วิธีการและความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้งานและพัฒนาตนเอง

ผู้สัมภาษณ์งานควรดูว่าที่ผ่านมาผู้สมัครงานมีวิธีการค้นคว้าหาความรู้อย่างไร และหากมีโอกาสได้ทำงานแล้วจะมีแนวทางในการพัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง เนื่องจากผู้เป็นหัวหน้าเองคงไม่มีเวลาที่จะมาสอนงานหรือให้คำแนะนำไปหมดทุกเรื่อง จึงควรแน่ใจว่าหากได้คนมาทำงานแล้วก็ควรเป็นคนที่รู้จักการพัฒนาตนเองโดยไม่ต้องรอให้ใครบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง

4. บุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ และทัศนคติที่ดีในการทำงาน

การที่จะดูว่าผู้สมัครงานมีบุคลิกภาพหรือทัศนคติที่ตรงกับความต้องการของบริษัทหรือไม่ ผู้สัมภาษณ์งานอาจให้ผู้สมัครงานเล่าให้ฟังว่ามีความรู้สึกอย่างไรกับงานที่ทำก่อนหน้า มีวิธีการแก้ปัญหาในการทำงานอย่างไร จุดแข็งจุดอ่อนของตนเองมีอะไรบ้าง มีความรู้สึกอย่างไรต่องานที่มาสมัคร หรือทำไมจึงมาสมัครงานนี้ และหากได้รับเลือกแล้วจะทำอะไรให้บริษัท

จะเห็นได้ว่า แม้ตัวผู้สมัครงานจะมีประสบการณ์ที่ไม่ตรงสายงาน แต่สิ่งที่อาจชี้วัดว่าตัวผู้สมัครงานมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้น ๆ หรือไม่ ก็คือ คุณลักษณะเฉพาะตัวของผู้สมัครงานนั่นเอง

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จับโกหกในการสัมภาษณ์งานสังเกตอย่างไร

คำถามสัมภาษณ์งานแบบไหนเข้าถึงตัวตนผู้สมัครได้ดีที่สุด

More from this category: Job & salary trends

Top search terms

Want to know what people are searching for on Jobsdb? Explore our top search terms to stay across industry trends.

Explore related topics

Choose an area of interest to browse related careers.

Subscribe to Career Advice

Get expert career advice delivered to your inbox.
You can cancel emails at any time. By clicking ‘subscribe’ you agree to Jobsdb’s Privacy Statement.