การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร

การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

คนทำงานที่ออกจาก งาน แล้ว จะเกิดข้อสงสัยว่าต้องทำอย่างไรกับ สิทธิประกันสังคม ที่ตนเองมี ต้องส่งเงินเข้ากองทุนต่อหรือไม่ แล้วเราจะได้ใช้สิทธิอะไรบ้างเมื่อ ลาออก จากงาน ต้องยอมรับว่าคนทำงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบ ประกันสังคม เพราะอยู่ในสถานะลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ๆ แต่มีน้อยคนที่จะรู้และเข้าใจอย่างจริงจังว่า เราสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้างจากประกันสังคม เมื่อเราลาออกจากงานแล้ว

คนทำงานที่ลาออกจากงานแล้ว ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่อไป เพียงแต่ต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนในมาตรา 33 (คนทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป) มาเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) โดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากลาออกจากงาน

ผู้ประกันตนต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อรักษาสิทธิของการเป็นผู้ประกันตนให้คงอยู่ และทำให้เราสามารถใช้สิทธิในการรักษาอยู่ต่อไป แม้ว่าเราจะลาออกจากงานที่ทำอยู่ก็ตาม ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงไม่ต้องกังวลใจว่าจะต้องทิ้งสิทธิประกันสังคมของตนเองไป เพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอนให้เรียบร้อย แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำงานอยู่ในบริษัทใดแล้วก็ตาม เราก็จะยังคงรักษาสิทธิที่เรามีไว้ได้ โดยอยู่ในฐานะของผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) แทน

ประกันสังคมมาตรา 39 มีขั้นตอนการสมัครอย่างไร

คนทำงานที่เพิ่งลาออกจากงาน และต้องการสมัครใช้สิทธิประกันสังคมต่อ ให้ผู้ประกันตนสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  • คุณสมบัติ - ผู้สมัครต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน โดยนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ
  • หลักฐานการสมัคร
    • แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
    • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา
  • ยื่นใบสมัคร - ผู้ประกันตนต้องยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเอง โดยสามารถยื่นใบสมัครได้ที่
    • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง (กทม) และสำนักงานประกันสังคมจังหวัด
    • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา (ภูมิภาค)

เงื่อนไขการส่งเงินสมทบกองทุน

ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนต่อสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาท ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองต่อเนื่องจาการประกันตนในมาตรา 33 โดยจะได้รับความคุ้มครองใน 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39สิทธิประกันสังคมหลังลาออก

ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวที่สำนักงานประกันสังคมต้องรู้ เช่น การเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล ควรแจ้งการเปลี่ยงแปลงล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน พร้อมแนบสำเนาหลักฐานด้วย

ส่วนในกรณีที่ผู้ประกันตนต้องการลาออก หรือกลับเข้าทำงาน และมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นลายลักษณ์อักษรทันที แต่ถ้าได้ทำงานในสถานประกอบการใหม่ ให้นายจ้างใหม่แจ้งขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องแจ้งลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 แต่อย่างใด

ภาพประกอบโดย imagerymajestic เว็บไซต์ freedigitalphotos.net

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

jobsDB Mobile App

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สิทธิประกันสังคมสำหรับคนที่ออกจากงาน

สิทธิประกันสังคมน่ารู้ เงื่อนเวลาที่ไม่ควรพลาด

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด