บริหารความขัดแย้งอย่างไร...ให้มีเชิงสร้างสรรค์

บริหารความขัดแย้งอย่างไร...ให้มีเชิงสร้างสรรค์
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เท่าที่เราทราบกัน โดยทั่วไปแล้วความขัดแย้งสามารถเกิดได้หลายปัจจัย หลายเหตุผลซึ่งอาจจะมาจาก Ego ของมนุษย์ก็เป็นไปได้ โดยเฉพาะคนตะวันออกจะถือความคิดของตัวเองเป็นหลัก ในทางกลับกัน คนตะวันตกเชื่อว่า ไม่มีความจริงใดที่ถูกที่สุด ดังนั้น เมื่อมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน พวกเขาจะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงทำให้พวกเขามีความสุขทั้งด้านสังคม ผู้คนก็มีความสุข ทั้งกายและใจ ดังนั้น เรามาดูลักษณะความขัดแย้งว่ามีอะไรบ้าง

1. ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ควบคู่กับมนุษย์

ลองเปรียบความขัดแย้งให้เหมือนกับเมฆบนท้องฟ้า แบบมาแล้วก็ไปให้เป็นเรื่องปกติ เพราะมันเป็นเรื่องที่เถียงกันไม่มีวันจบสิ้น ทั้งนี้ มนุษย์มีความแตกต่างทางด้านความเชื่อ ด้านการศึกษาก็ทำให้แต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ความขัดแย้งจึงเป็นเรืองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราจะสามารถทำได้ก็คือ มองปัญหาให้เป็นเรื่องที่น่าท้าทาย บางทีการที่เราใช้สมองคิดเรื่องที่เป็นประโยชน์ อาจจะทำให้เรามีพลังในการก้าวต่อไปข้างหน้าก็ได้

2. ความขัดแย้งจะไม่เกิดอันตราย ถ้าไม่ถึงจุดเดือด

มีหลายท่านที่จัดการความขัดแย้งแบบวิธีผิด ๆ ด้วยความหวังว่าจะทำให้สองฝ่ายสามารถปรับความเข้าใจกันได้ แต่นั่นไม่ใช่วิธีที่ดีเลย กลับทำไปเร่งให้ความขัดแย้งถึงจุดเดือดเร็วขึ้น อย่างเช่น เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงด้วยคำพูด เป็นต้น ดังนั้น ถ้าเราต้องการแก้ปัญหาจริง ๆ เราต้องระวังอย่าให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ โดยการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทั้งปวง

3. ต้องใช้เวลาในการแก้

เราต้องเข้าใจว่า ความขัดแย้งนั้นคล้ายกับโรคภัยไข้เจ็บ คือ ต่างต้องใช้เวลาในการก่อตัว กว่าโรคจะปรากฏ และยังต้องใช้เวลาในการเยียวยารักษาอีก ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่ความขัดแย้งเกิดขึ้น เราก็ต้องอาศัยเวลาในการค่อย ๆ ลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เมื่อเราทำเช่นนี้ เราก็จะมีความอดทนมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างสบาย

4. ไม่มีความถูกต้อง

ในกระบวนความขัดแย้งไม่มีใครถูกใครผิด เพราะต่างฝ่ายต่างตัดสินอีกฝ่ายหนึ่งอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเอง และถ้าเราคิดได้เช่นนี้ เราก็จะทำให้เรามองเห็นความจริงตรงตามความจริง

ความขัดแย้งในการทำงาน 5. ที่ใดมีอำนาจ ที่นั่นถูกต้องเสมอ

เป็นเรื่องที่เราจะต้องยอมรับว่า “สัตว์ใหญ่ย่อมกินสัตว์เล็ก” ซึ่งผู้มีอำนาจย่อมจะถูกเสมอ ดังนั้น ทางที่ดีเราไม่ควรสร้างความขัดแย้งกับหัวหน้าของเรา ซึ่งในกลุ่มของผู้บริหารระดับสูงนั้นจะเชื่อหัวหน้าเรา มากกว่าเรา เพราะหัวหน้าใกล้กับเราย่อมจะรู้จักเรามากกว่าระดับบริหาร และหัวหน้าเราสร้างกำไรให้บริษัทมากกว่าเรา

ที่มา : www.thaibizseven.com

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด