คุณกลัวที่จะฟังฟีดแบ็กจากพนักงานหรือเปล่า

คุณกลัวที่จะฟังฟีดแบ็กจากพนักงานหรือเปล่า
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

การรับฟัง ฟีดแบ็กจากมุมมองของ พนักงาน มีประโยชน์มาก หากคุณเปิดใจรับความคิดเห็นด้วยความยินดี พนักงานก็ยินดีที่จะสะท้อนให้คุณฟังเช่นกัน แต่คนส่วนใหญ่มักไม่อยากฟังคนอื่นพูดถึงสิ่งที่ไม่ดี หรือสิ่งที่เขาไม่พอใจเกี่ยวกับตัวเราอยู่แล้ว ดังนั้น ควรฝึกควบคุมอารมณ์ และรับฟังด้วยความเข้าใจ ก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด

  1. คนที่กลัวการรับฟัง ฟีดแบ็ก จะเกิดการปกป้องตัวเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากไม่สามารถควบคุมความรู้สึกเช่นนั้นได้ล่ะก็ พนักงานก็จะเกิดความไม่มั่นใจว่า การให้ฟีดแบ็กของพวกเราจะได้รับการพิจารณาอย่างยุติธรรม และไม่กล้าที่จะให้ฟีดแบ็กตามความรู้สึกที่แท้จริง
  2. ฝึกที่จะรับฟังด้วยความเข้าใจ รวมถึงการใช้ภาษากาย และการแสดงออกทางสีหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานยินดีที่จะพูดออกมา
  3. เรียนรู้จากมุมมองของพวกเขา เมื่อพนักงานให้ฟีดแบ็กแก่คุณ คุณจะได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ว่าการแสดงออกต่าง ๆ ของคุณถูกพนักงานตีความอย่างไรในมุมมองของพวกเขา
  4. สรุปและสะท้อนสิ่งที่คุณได้ยิน พนักงานจะยินดีมากหากคุณแสดงออกว่าคุณเข้าใจสิ่งที่พวกเขาพูดจริง ๆ
  5. ถามคำถามเพื่อความกระจ่าง หากยังไม่เข้าใจสิ่งที่พนักงานต้องการสื่อสารกับคุณ อย่าลังเลที่จะถามเพื่อความเข้าใจอย่างแท้จริง
  6. ให้พนักงานยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือสถานการณ์ การยกตัวอย่างจากสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้น แล้วทำให้คุณเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่า พนักงานรู้สึกกับคุณในสถานการณ์เหล่านั้นอย่างไร
  7. บางครั้งฟีดแบ็กก็ไม่ได้ถูกเสมอไป พนักงานเห็นสิ่งที่คุณทำและตีความตามการรับรู้และประสบการณ์ชีวิตของเขา ซึ่งไม่ได้หมายความว่ามันจะถูกต้องเสมอไป
  8. ทำตัวให้พนักงานเข้าถึงได้ง่าย พนักงานบางคนกลัวที่จะให้ฟีดแบ็กกับคนที่ขี้หงุดหงิด คุณต้องรู้จักเปิดตัวเอง โดยการแสดงออกด้วยท่าทาง และสีหน้าที่พร้อมจะรับแขกด้วย
  9. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของฟีดแบ็ก หากมีแค่คน ๆ เดียวที่เชื่อฟีดแบ็กในเรื่องนั้น ๆ ที่มีต่อคุณ อาจไม่ได้เป็นปัญหาที่คุณ แต่เป็นที่ตัวเขาเองแล้วล่ะ
  10. มีแค่คุณเท่านั้นที่มีสิทธิ์ เมื่อได้ฟีดแบ็กมาแล้ว คุณเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับฟีดแบ็กเท่านั้น

ทิปส์:

  1. รับฟังมุมมองพนักงาน แสดงความขอบคุณแก่พนักงานที่ให้ฟีดแบ็กแก่คุณ เพื่อกระตุ้นให้เขาอยากที่จะให้ฟีดแบ็กกับคุณอีก
  2. ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวคุณเกิดอาการป้องกันตัวเอง เมื่อได้รับฟีดแบ็ก ให้ฝึกจัดการความเครียด เช่น หายใจลึก ๆ และผ่อนคลายช้า ๆ
  3. พยายามทำความเข้าใจ และควบคุมอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นให้ได้ เช่น ความโกรธ ความเป็นศัตรู เป็นต้น
  4. หากคุณไม่เห็นด้วยกับฟีดแบ็ก และรู้สึกโกรธหรือเสียใจ ไม่ต้องการรับฟังอีก ให้รอจนกว่าคนจะพร้อมและเปิดใจที่จะรับฟังพนักงานได้อีกครั้ง

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วีธีวิเคราะห์สาเหตุปัญหาของพนักงาน

ความแตกต่างระหว่างการเป็น “ผู้นำ” กับ “ผู้จัดการ”

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด