กฎหมายแรงงาน การใช้แรงงานผู้หญิงและเด็ก

กฎหมายแรงงาน การใช้แรงงานผู้หญิงและเด็ก
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

กฎหมายแรงงานเด็กและสตรี

ปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนวัยไหนหากมีความสามารถ หรือศักยภาพมากพอที่จะทำงานอะไรได้เพื่อนำรายได้มาจุนเจือครอบครับ จับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ นานา แต่ในบางกรณี การทำงานก็ต้องมีขีดจำกัด โดยเฉพาะกับผู้หญิง และเด็ก ดังนั้นผู้ประกอบการหรือนายจ้างนั้น จึงต้องเรียนรู้ และรับทราบ กฎหมายแรงงาน อันเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้ง 2 นี้ด้วยว่ามีความพิเศษอย่างไร โดยข้อกฎหมายดังกล่าวแสดงไว้ดังนี้

การใช้แรงงานหญิง

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้

  • งาน เหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา เว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
  • งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
  • งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
  • งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  • งานเหมืองแร่หรืองาน ก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
  • งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
  • งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
  • งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
  • งานที่ทำในเรือ
  • งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การใช้แรงงานเด็ก

  • ห้ามนายจ้าง จ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง

กรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน ตรวจแรงงาน ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการ จ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด

  • ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น.

เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี

  • ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา
  • ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
  1. งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
  2. สถานที่เล่นการพนัน
  3. สถานที่เต้นรำ รำวง หรือ รองเง็ง
  4. สถาน ที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม อย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกจ้าง หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้าสถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กแก่บุคคลอื่น
  • ห้ามนายจ้างเรียก/ หรือรับ เงินประกันจากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กลูกจ้าง ซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่นซึ่งจัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่อธิบดีเห็นชอบ และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน

จะเห็นได้ว่าการคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน สวัสดิภาพในการดำเนินงาน และสุขภาพนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดตัวบทกฎหมายแรงงานนี้ขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และความยุติธรรมของทั้งผู้ประกอบการ และลูกจ้างด้วย jobsDB หวังให้ผู้ประกอบการทุกท่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวเรากว่าที่คิด แล้วความสุขในการทำงานของลูกจ้าง จะนำพาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปของทั้ง 2 ฝ่าย

ที่มา : เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ประกันสังคมกรณีว่างงาน

สิทธิลูกจ้างกรณีจ่ายค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด