ตอบคำถาม จุดแข็ง จุดอ่อน ในการสัมภาษณ์แบบมืออาชีพ

ตอบคำถาม จุดแข็ง จุดอ่อน ในการสัมภาษณ์แบบมืออาชีพ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ช่วงนี้กระแส “จุดแข็ง-จุดอ่อน” มาแรงเหลือเกิน เรียกได้ว่าเปิดโซเชียลมีเดียมาเมื่อไร เป็นต้องเห็นเพื่อนๆ ของเรา เล่นมุขนี้กันหลายคน แต่ถ้าว่าด้วยเรื่องของการทำงาน เรื่องของ “จุดแข็ง-จุดอ่อน” นั้นถือเป็นประเด็นหลักเลยก็ว่าได้ และถือเป็นอีกหนึ่งคำถามยอดนิยม ที่มักจะถูกตั้งคำถามตอนสัมภาษณ์งานแทบจะทุกครั้ง เพราะคำถามนี้ ถือเป็นสิ่งที่สามารถประเมินทัศนคติ ความคิด และความสามารถของผู้สมัครงานได้เบื้องต้นนั่นเอง

การสัมภาษณ์แบบมืออาชีพ

ทำไม จุดแข็ง จุดอ่อน ถึงเป็นคำถามยอดฮิตตอนสัมภาษณ์งาน

 

ส่วนใหญ่ที่การสัมภาษณ์งานมักให้ผู้สมัครตอบคำถามเรื่อง จุดแข็ง จุดอ่อน เป็นเพราะผู้สัมภาษณ์ต้องการจะรู้จักตัวตนของเรามากขึ้นนั่นเอง เพราะนอกจากจะเป็นการวัดทัศนคติของเรา และดูว่าจุดแข็ง จุดอ่อน ของเราเป็นแบบไหนแล้ว ผู้สัมภาษณ์อาจจะอยากดูว่าเรามีไหวพริบแค่ไหนในการตอบคำถาม พร้อมทั้งการแสดงออกทางภาษากายก็เป็นสิ่งสำคัญ จึงทำให้ผู้สัมภาษณ์สามารถประเมินอะไรได้หลายๆ อย่างจากคำถามนี้

 

วิธีเตรียมตัวตอบคำถาม จุดแข็ง จุดอ่อน ตอนสัมภาษณ์งาน

 

แม้ความจริงแล้ว จุดแข็ง จุดอ่อน ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน รวมไปถึงในแต่ละสายงานก็มีจุดแข็ง จุดอ่อน ที่ต่างกันออกไปอีกด้วย แต่โดยรวมแล้ว การตอบคำถามประเภทนี้ เราต้องรวบรวมสติของเราและคิดก่อนตอบให้มากที่สุด มาดูกันว่าเราจะมีวิธีเตรียมรับมือกับคำถามนี้กันได้อย่างไรบ้าง

 

- พยายามคิดว่าเราอยากให้ผู้สัมภาษณ์รู้เรื่องอะไรของเราบ้าง

- ศึกษาตำแหน่งที่เราสมัคร ว่าต้องการคนที่มีทักษะแบบไหนในการทำงาน

- ควรตอบคำถามด้วยเป็นความจริง เพราะถ้าโกหก แล้วเราไม่สามารถทำในสิ่งที่พูดได้ อาจเกิดปัญหาตามมาทีหลัง

- พยายามทำจิตใจให้สบาย อย่าเครียด มิฉะนั้นความวิตกกังวล อาจแสดงออกมาทางสีหน้าได้

- ตอบคำถามให้กระชับ ตรงประเด็น ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป

- ลองเล่าประสบการณ์จริงของคุณ หรือเรื่องที่เคยเจอมา เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ได้เห็นภาพง่ายขึ้น

 

ตัวอย่างจุดแข็งที่ควรตอบ

 

ลำดับแรกในการพูดถึงจุดแข็งของเราคือการเลือกทักษะของเราให้ตรงกับลักษณะของงาน พร้อมแสดงออกว่าสามารถนำจุดแข็งตรงไหน นำช่วยมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มทักษะอื่นๆ เข้าไปได้ด้วย เช่น

 

- เป็นคนตรงต่อเวลา

- มีความตั้งใจและรับผิดชอบต่อหน้าที่

- เป็นคนซื่อสัตย์

- สามารถทำงานเป็นทีมได้

- มีความคิดสร้างสรรค์

- สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดี

 

ตัวอย่างจุดอ่อนที่ควรตอบ

 

ก่อนอื่นเราต้องคิดว่า การบอกจุดอ่อนให้ผู้สัมภาษณ์รู้ ไม่ได้ส่งผลเสียกับเราเสมอไป เพราะตามธรรมชาติของคนเราทุกคนมักมีจุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราควรต้องพิจารณาให้ดีเช่นกัน ว่าเราจะบอกจุดอ่อนของเราออกมาอย่างไร ไม่ให้ส่งผลเสียต่อการสัมภาษณ์และต่องานที่เรากำลังสมัคร อีกทั้งเมื่อเราบอกจุดอ่อนของเราไปแล้ว เราควรทิ้งท้ายด้วยการเรามีวิธีแก้ไขจุดอ่อนนี้อย่างไร หรือเราพร้อมจะปรับตัวและพัฒนาไปในด้านไหนบ้าง สำหรับหัวข้อจุดอ่อนที่ควรตอบ ได้แก่

 

- ประสบการณ์ในการทำงานยังน้อย

- ขาดทักษะเฉพาะด้าน

- ขาดความมั่นใจในตัวเอง

- เป็นคนโฟกัสกับเรื่องต่างๆ มากไป

- ไม่กล้าแสดงออก

 

ลองเปลี่ยนจุดอ่อนให้กลายเป็นจุดแข็ง

 

แน่นอนว่าการแสดงจุดอ่อนออกมา จริงๆ แล้วก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก ถ้าไม่เช่นนั้นลองศึกษาจุดอ่อนของตัวเองที่มี ว่าเราพอจะสามารถแก้ไขหรือปรับจุดอ่อนนี้ได้มากแค่ไหน แล้วลองเปลี่ยนจุดอ่อนนี้ให้กลายมาเป็นจุดแข็งของเรา แต่ต้องมั่นใจจริงๆ ด้วยนะ ว่าเราสามารถปรับตัวเอง เพราะนอกจากจะช่วยให้การสัมภาษณ์งานเป็นไปอย่างราบรื่น อย่างน้อยการเปลี่ยนจุดอ่อนของตัวเองให้กลายเป็นจุดแข็ง ก็ยังสามารถช่วยให้เราพัฒนาตัวของเราเอง ให้เติบโตไปได้ในทางที่ดีได้อีกด้วย

 

เคล็ดลับเพิ่มเติมในการเสริมจุดแข็ง เมื่อต้องตอบคำถาม

- แนะนำตัวให้ชัดเจน

 

จุดเริ่มต้นของการสัมภาษณ์งานทุกครั้ง คือการแนะนำตัว และนี่ถือเป็น First Impression ที่เราสามารถสร้างให้แก่ผู้สัมภาษณ์ประทับใจเราได้ตั้งแต่แรกเห็น โดยเราสามารถบอกชื่อ นามสกุล ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ได้เลย แต่อย่าลืมใส่ความเป็นกันเองและความเป็นตัวเองลงไปด้วย เพื่อไม่ให้บรรยากาศดูตึงเครียดหรือดูเป็นทางการจนเกินไป หรือควรเปลี่ยนการสัมภาษณ์ให้การกลายเป็นการสนทนาย่อมๆ เราจะได้ไม่ต้องเป็นผู้พูดอยู่ฝ่ายเดียว และอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อได้ 

 

- มีความซื่อสัตย์

 

ว่าด้วยเรื่องความซื่อสัตย์ ทุกคนต้องมีคุณสมบัตินี้กันเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว และยิ่งโดยเฉพาะเรื่องของการทำงาน ยิ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ หากเราเริ่มต้นด้วยการแสดงตัวว่าเรามีความซื่อสัตย์ ตั้งแต่วันที่สัมภาษณ์งาน ยิ่งทำให้มีชัยไปกว่าครึ่ง พยายามตอบคำถามทุกเรื่องด้วยความเป็นจริง แสดงจุดแข็งและจุดอ่อนของเราอย่างตรงไปตรงมา จะทำให้เราได้เปรียบการในสัมภาษณ์งาน

 

- เพิ่มเติมทักษะที่มี สร้างคะแนนบวก

 

จุดต่อมาก็คือการเล่าถึงทักษะของเราหรือความสามารถพิเศษ ที่สามารถนำปรับใช้เข้ากับหน้าที่หรือตำแหน่งที่เราต้องการสมัคร โดยเราสามารถยกประสบการณ์ที่เคยทำ ไม่ว่าจะสมัยเรียน หรือการทำงานที่เก่า เพื่อนำมาเป็นข้อสนับสนุน ว่าเรามีทักษะนั้นจริงๆ แต่ต้องอย่าลืมว่าทักษะหรือความสามารถต่างๆ ที่เรานำเสนอนั้น ต้องเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้จริงๆ เพราะเมื่อถึงเวลาที่ได้ทำงานจริง แล้วเราไม่สามารถทำได้ อาจกลายเป็นปัญหาภายหลังได้

 

- บอกนิสัยในการทำงาน

 

การเล่าถึงนิสัยในการทำงานหรือนิสัยในที่ทำงานของเรา ก็ถือเป็นการบอกจุดแข็งและจุดอ่อนของเราได้ด้วยเช่นกัน เพราะนิสัยส่วนตัวของแต่ละคน สามารถบ่งบอกได้เช่นกัน ว่าเราเหมาะกับตำแหน่งงานนั้นๆ หรือไม่ เช่น หากเป็นคนชอบสื่อสาร ช่างพูด ช่างเจรจา ก็อาจจะเหมาะกับงานที่ต้องติดต่อลูกค้า หรืองานด้านประชาสัมพันธ์ หรือถ้าเป็นเราคนช่างสังเกต ก็อาจะเหมาะกับงานที่ต้องใช้ความละเอียดและความแม่นยำสูง เป็นต้น 

 

อีกทั้งเรายังสามารถบอกได้ว่านิสัยของเราที่เป็นจุดแข็ง สามารถช่วยนำพาให้งานหรือบริษัทก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ แต่อย่าลืมควรพูดถึงนิสัยเราแต่พอดี มิฉะนั้นผู้สัมภาษณ์ อาจมองว่าเราเป็นคนโอ้อวดจนเกินไป

 

- เสริมทัพด้วยแรงบันดาลใจ และ Passion ในการทำงาน

 

คนเราทุกคนมีความฝันและแรงบันดาลใจในการทำอะไรสักอย่างในชีวิต เรื่องราวของการทำงานก็เช่นกัน โดยเราสามารถเล่าถึงแรงบันดาลใจหรือ Passion ต่างๆ ได้ ว่าเคยอยากทำอะไร เคยมีความชอบด้านไหน แล้วเราเคยประสบความสำเร็จแค่ไหนในเส้นทางนี้ ซึ่งจุดนี้จะทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราต่อตำแหน่งงาน ว่าเรามีใจรักในอาชีพและอยากประสบความสำเร็จในเส้นทางสายนี้อย่างจริงจัง

 

- นำเสนอประสบการณ์ และสิ่งที่บริษัทจะได้รับจากเรา

 

ประสบการณ์การทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญและอีกหนึ่งจุดแข็งที่เราต้องพรีเซนต์ การมีประสบการณ์ที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ แบบแท้จริง ก็ทำให้เรามีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ต้องอย่าลืมว่าควรบอกประสบการณ์ที่มีให้พอเหมาะ และควรเป็นประสบการณ์ที่ตรงกับสายงานนั้นจริงๆ ก่อนจะเสริมทัพด้วยสิ่งที่บริษัทจะได้รับจากเรา เมื่อเราได้เข้ามารับตำแหน่งนี้ 

 

- ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรก่อนตอบคำถาม

 

ก่อนจะตอบคำถามหรือแสดงตัวตนออกมา อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือวัฒนธรรมขององค์กร ก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์ เราควรถึงศึกษาถึงวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ ให้ดี ว่าเรานิสัย ทักษะ และประสบการณ์ที่เรามี เหมาะสมกับที่นี่ไหม หรือหากมีบางจุดที่ขัดกับตัวเรา จะสามารถปรับตัวให้เข้าวัฒนธรรมองค์กรนั้นๆ ได้มากแค่ไหน หากเราศึกษาวัฒนธรรมและข้อมูลองค์กรมาเป็นอย่างดี ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า เราทำการบ้านมาพอสมควร เป็นการแสดงถึงความใส่ใจว่าเราอยากทำงานที่บริษัทนี้จริงๆ

 

สรุปการตอบคำถามจุดแข็ง จุดอ่อน เมื่อต้องสัมภาษณ์งาน


การพูดถึงจุดแข็งของเรา ถือเป็นการพรีเซนต์ด้านดีของเราออกมา แต่การพูดถึงจุดอ่อน แท้จริงแล้วมักเป็นดาบสองคม บางครั้งผู้ฟังก็ไม่ได้มองเราในแง่ลบเสมอไป พื้นฐานจริงๆ คือเรื่องของความจริงใจและการพัฒนาตัวเอง ว่าเราสามารถปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้อย่างไร อีกทั้งสิ่งสำคัญในการตอบคำถามทั้ง 2 จุดนี้ คือเราต้องมีสติและคิดก่อนตอบทุกครั้ง แค่นี้ก็จะทำให้การสัมภาษณ์เป็นไปได้อย่างราบรื่น และสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์ได้ไม่ยากเลย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/salary-confirmation-letter/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b9%82%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b8%ab/

 

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5-%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด