Pain point อย่าปล่อยไว้! แก้ปัญหาธุรกิจให้ตรงจุด จัดการ Pain point ให้อยู่หมัด

Pain point อย่าปล่อยไว้! แก้ปัญหาธุรกิจให้ตรงจุด จัดการ Pain point ให้อยู่หมัด
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

Pain Point หากแปลคำนี้ตรงตัว คือ จุดที่สร้างความเจ็บปวด ซึ่งในโลกธุรกิจ คำว่า Pain Point หมายถึง ปัญหาหรือจุดอ่อนของตัวธุรกิจ นั่นเอง แต่นอกจากจะเป็นประเด็นต่าง ๆ ซึ่งทำให้เสียเปรียบคู่แข่งเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการทำกำไรและการเติบโตของตลาดแล้ว การเลือกใช้คำว่า Pain Point มาอธิบายปัญหาภายในองค์กร ยังสื่อว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นซ้ำ ๆ และทำให้เกิดความอึดอัดไม่สบายใจต่อผู้ประกอบการหรือรวมไปถึงลูกจ้างพร้อม ๆ กันด้วย

Pain point

Pain point คืออะไร?

ผู้ประกอบการมีหน้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดโดยนำเสนอสินค้าหรือบริการให้ บางธุรกิจเริ่มต้นจากการค้นหา ปัญหาหรือจุดอ่อนของธุรกิจ ที่ส่งผลทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ แล้วผลิตสิ่งที่สามารถแก้ Pain point ของลูกค้าได้ เพื่อที่จะนำสิ่งนี้ไปเสนอขายให้กับลูกค้าที่กำลังประสบกับปัญหาหรือจุดอ่อนของธุรกิจนี้อยู่ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพหรือธุรกิจที่ให้ความสนใจกับเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากความสร้างสรรค์

ขณะที่อีกกลุ่มธุรกิจ จะมีลักษณะเป็นพ่อค้าคนกลาง หรือว่าผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค หรือการบริการซึ่งสินค้ามักมีความคล้ายคลึงกับเจ้าอื่น ได้รับการพัฒนามาแล้ว กลุ่มนี้จะคิดว่าต้องขายสินค้าที่มีอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าสนใจซื้อสินค้า ซึ่งหลักสำคัญในการบริหารสินค้าที่มีอุปสงค์อยู่แล้ว คือควรเข้าใจปัญหาหรือจุดอ่อนของกลุ่มลูกค้า อันเป็นต้นกำเนิดของสินค้า เพื่อนำเสนอสินค้าอย่างตรงจุด และได้รับการยอมรับจากลูกค้า

ปัญหาหรือจุดอ่อนของลูกค้า มักเป็นต้นกำเนิดสินค้า และยังนำไปสู่การพัฒนาระบบการทำงานที่ทางผู้ประกอบการแต่ละเจ้าจะผลิต ดำเนินธุรกิจและการตลาด ร่วมมือกับคู่ค้า กระทั่งส่งออกสินค้ามาสู่มือผู้รับได้ ในการทำงานของผู้ประกอบการนี้เอง ปัญหาหรือจุดอ่อนของผู้ประกอบการก็เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในภาพรวมขององค์กร สามารถวิเคราะห์บนโครงสร้างองค์กรหรือการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ส่วนสำคัญ ทั้งในธุรกิจขนาดใหญ่และรายย่อย คือ บริหารงานบุคคล การตลาด การเงิน และการผลิต

การค้นหาปัญหาหรือจุดอ่อน

เรามักจะมองเห็นปัญหาหรือจุดอ่อนของคนอื่นได้ดีกว่าการมองหาปัญหาหรือจุดอ่อนของของตัวเอง เนื่องจากสายตาที่เรามองไปยังคนอื่นนั้น เป็นสายตาของ "คนนอก" ที่มองเข้าไป และเป็นการมอง "มุมกว้าง" จึงทำให้เราอาจมองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงสามารถมองเห็นรายละเอียดบางอย่างที่คนคนนั้นอาจมองไม่เห็นอีกด้วย การจะค้นหาปัญหาหรือจุดอ่อนของเราให้ครบถ้วน ตรงจุดนั้น วิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือ"การรับฟังความคิดเห็นจากคนอื่น"ไม่ว่าจะเป็นคนทำงาน ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้อง หรือในกรณีของธุรกิจขนาดเล็ก การอ่านความเห็นของลูกค้าก็ทำให้เราตระหนักได้ถึงจุดที่ต้องแก้ไข รวมถึงการที่ผู้ประกอบการเข้าใจกลยุทธ์ธุรกิจของตัวเองด้วย

เมื่อเราเล็งเห็นสัญญาณบางอย่างที่ทำให้การทำงานติดขัด ไม่ราบรื่น และทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ประทับใจ เช่น สินค้าสต็อกไว้ไม่พอส่งให้ลูกค้า หรือทำงานไม่ทันด้วยออร์เดอร์ที่เยอะมาก สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการนับเป็นปัญหาหรือจุดอ่อนด้วย

ขั้นตอนการค้นหาปัญหาหรือจุดอ่อน สามารถแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ด้าน ทั้งบริหารบุคคล การตลาด การเงิน และการผลิต ดังที่กล่าวไปเบื้องต้น โดยสามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์การดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตของตลาดหรือผลิตภัณฑ์ ได้หลัก ๆ 2 เครื่องมือ ดังนี้


  • SWOT Analysis (การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดบกพร่อง โอกาส และอุปสรรค)

เครื่องมือนี้ต้องการอาศัยการเก็บข้อมูลภายในองค์กร โดยการวิเคราะห์ตัวผู้ประกอบการเอง ระบบงาน บุคคลที่ทำงาน และตัวสินค้าหรือบริการที่ขายอยู่ ทำการสรุปประเด็นว่ามีจุดแข็งอย่างไรที่ทำให้งานเป็นไปอย่างราบรื่น เช่น ความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการ การมีพันธมิตรที่เข้มแข็งในการจัดส่งสินค้าหรือประชาสัมพันธ์บริการ แพลตฟอร์มที่ใช้ หรือเครดิตที่ได้รับจากคู่ค้า รวมไปถึงฐานลูกค้าซึ่งเกิดการการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หรือมีพันธมิตรที่ส่งต่อลูกค้ามาให้ จากนั้นก็มองหาปัญหาที่รู้สึกได้ หรือสอบถามทั้งผู้ร่วมงาน และลูกค้า เป็นต้น

ในลำดับต่อไป เป็นการรวบรวมข่าวสารปัจจัยภายนอก ทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการพัฒนาของเทคโนโลยี เพื่อดูถึงโอกาสที่ทำให้เพิ่มยอดขาย หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น มีบางอย่างที่ผู้ประกอบการทำได้ แต่ยังไม่ได้ทำหรือไม่ และสุดท้ายผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ หรือจะสร้างปัญหาให้กับแผนกลยุทธ์หรือภาคปฏิบัติทำให้สูญเสียโอกาส ผลกำไร หรือว่าส่วนแบ่งในตลาดไป

จุดที่ระบุเป็นจุดอ่อน และอุปสรรค สามารถนำไปสรุปเป็นปัญหาหรือจุดอ่อน และหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ ขณะที่อุปสรรค ทางผู้ประกอบการสามารถหาวิธีการเพื่อบริหารความเสี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือจุดอ่อนใหม่เพิ่มขึ้นมา


  • Ansoff Matrix (การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ และตลาด)

ผู้ประกอบการในช่วงเริ่มต้น อาจมีรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำกัดชนิดเดียวหรือน้อยอย่าง แต่ในระยะยาวอาจจะเพิ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือมุ่งเน้นไปที่การขยายตลาด รวมถึงเติบโตโดยอิงกับผลิตภัณฑ์ที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง หรือขายในตลาดที่แตกต่างไป โดยตลาดในที่นี่ ไม่ใช่แค่แบ่งตามภูมิศาสตร์ แต่ว่าหมายถึงกลุ่มลูกค้าอีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น การขายชุดชั้นใน ถ้าเปลี่ยนจากการขายผู้หญิง มาเปิดตลาดใหม่ในการขายกับลูกค้าเพศชายบ้าง การเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเช่นนี้ก็นับว่ามีการทำตลาดใหม่ด้วยเช่นกัน

การวิเคราะห์โดยใช้ Ansoff จะทำให้เราเข้าใจปัญหาหรือจุดอ่อนที่เกิดจากสินค้าที่มีอยู่แล้ว หรือประเด็นทางการตลาดที่มุ่งเป้าไปที่การพัฒนาสินค้าเพื่อขายให้ลูกค้า หรือพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงจุด ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น

ปัญหาหรือจุดอ่อนของธุรกิจ และแนวทางการแก้ไขปัญหา

จากจุดอ่อนหรืออุปสรรคที่พบในการทำธุรกิจ สามารถสรุปแนวทางการแก้ปัญหาใน 4 ส่วนของการทำธุรกิจได้ ดังนี้

  • การบริหารงานบุคคล กรณีเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่มีแพลทฟอร์มออนไลน์ เมื่อเราเริ่มมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น การทำงานคนเดียวอาจจะไม่ไหวอีกต่อไป และการหาคนมาทำงานด้วย ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบางครั้ง การรับคนทำงานเข้ามาใหม่ ผู้ประกอบการต้องใช้เวลาในการสอนงาน ฝึกฝน ลองผิดลองถูกสักระยะหนึ่ง แทนที่จะได้ทุ่มเทกับออเดอร์ของลูกค้าอย่างเต็มที่เช่นเคย นอกจากนี้ยังมีต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนคนทำงานที่รับเข้ามาอีกด้วย การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อาจต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินการในขั้นตอนที่สามารถทดแทนการทำงานของมนุษย์ได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Chat bot รับออเดอร์ การรับเงิน สรุปยอด เป็นต้นหรือการใช้ซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาอย่างเด็ดขาด ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้อีกด้วย
  • การตลาด การตลาดเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มยอดขาย เราจึงต้องมีการทำวิจัยกับกลุ่มลูกค้า ว่าสินค้าที่เรากำลังจะเริ่มการผลิตนั้น มีการออกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแล้วหรือไม่ ทั้งรูปลักษณ์ภายนอก และคุณสมบัติ โดยควรมีการศึกษาเรื่อง Design Thinking เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ด้วย เมื่อสินค้าที่เราผลิตตรงตามความต้องการของตลาด ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับการประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปากมากยิ่งขึ้น โดยควรทำควบคู่ไปกับการสื่อสารอย่างตรงประเด็น ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค โดยเลือกช่องทางที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้เห็นสินค้าหรือบริการบ่อย ๆ
  • การเงิน ควรมีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ ควบคุมต้นทุนได้ดี และมีกระแสเงินสดพอเพียงต่อการหมุนเวียน และใช้จ่ายทำกิจกรรมทั่วไปภายในองค์กร การวางแผนการใช้เงิน มีผู้รับผิดชอบการรับจ่าย และมีการกันเงินสำรองเอาไว้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับการเงินที่พบได้บ่อยในธุรกิจ ได้แก่
      • แหล่งเงินทุนไม่เพียงพอ ควรหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม เช่น เสนอการบริการบางอย่างที่จะทำให้ได้เงินเพิ่มหลังการขายหรือบริการ รวมไปถึงการพึ่งพาสินเชื่อ แต่จะต้องมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสีย หรืออาจพิจารณาลดต้นทุนบางอย่างที่ไม่จำเป็น หรือลดกำลังการผลิตหรือการสต็อกของลงให้เหมาะสม วางแผนการซื้อของเพิ่ม วางแผนการเก็บรักษา และวางแผนกลยุทธ์ในการระบายของออกเพื่อหมุนเงินได้อย่างคุ้มทุน
      • ควบคุมต้นทุนไม่เหมาะสม เนื่องจากต้นทุนเป็นเรื่องของการประเมินราคาของสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน ปัญหานี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่มีการวางแผนควบคุมต้นทุน หรือไม่ได้บวกค่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงไม่ได้เตรียมตัวรับมือหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น แนวทางแก้ไขปัญหานี้ คือการสำรวจตลาดซัพพลายเออร์อยู่เสมอ วางแผนการใช้จ่ายให้รอบคอบ และไม่ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์
      • เงินสดไม่เพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจ สาเหตุนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการลงทุนที่ถี่เกินไป หรือการซื้อของมาสต็อกมากเกินไป รวมไปถึงการสำรองเงินสดที่ไม่เพียงพอ ทางแก้คือ เราควรกำหนดให้แน่ชัดว่า เงินสำรองต้องคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยควรวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เราควรระยะยาวเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และเราควรวางแผนในระยะสั้น เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี เพื่อการบริหารสภาพคล่องที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การผลิต หรือการสต็อกสินค้า และการบริการ สินค้าที่สต็อกไว้มากเกินไปหรือน้อยไปเป็นปัญหาที่ต้องเร่งหาทางแก้ โดยควรกำหนดช่วงเวลาสำรวจสินค้าที่คงเหลือในสต็อก และจำนวนสินค้าคงเหลือขั้นต่ำในสต็อกที่กำหนดไว้ หากใช้ซอฟต์แวร์ร่วมด้วยในการติดตามการแจ้งเตือนเมื่อสินค้าในสต็อกเหลือน้อยจนใกล้เคียงกับปริมาณขั้นต่ำ จะได้สามารถสั่งซื้อเพิ่มมาได้ทันการ เพื่อให้เราสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันในส่วนงานบริการซึ่งไม่มีการสต็อกสินค้า เราก็ควรมุ่งเน้นไปที่การดูแลบุคลากรและเครื่องมือให้บริการให้ได้มาตรฐาน ตรวจสอบความพร้อมของบุคคลและเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ มีมาตรฐานกำหนดให้การบริการมีคุณภาพ มีการสำรวจและทบทวนความคิดเห็นของลูกค้า เพื่อปรับปรุงการให้บริการอยู่เสมอ

ข้อดีของการค้นหา Pain Point

ถ้าเราสามารถระบุปัญหาหรือจุดอ่อนขององค์กรได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว จะช่วยให้เราสามารถดำเนินการสืบค้นหาสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นำสู่ผลประกอบการและกำไรที่ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงช่วยให้ทีมงานหรือคนในสถานประกอบการของเรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่ถูกกดดันเรื่องการทำยอด ไม่จำเป็นต้องทำงานนอกเวลาเกินความจำเป็น หรือไม่ต้องเสียเวลามากมายกับการประชุมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง

นอกจากนี้ การดำเนินงานหลักของผู้ประกอบการ คือการตอบสนองความต้องการของลูกค้า แม้ปัญหาหรือจุดอ่อนที่แก้ไขในบทความนี้จะเป็นการทำภายในองค์กร แต่ย่อมส่งผลถึงระดับคุณภาพสินค้าและบริการที่ส่งไปถึงลูกค้า หรือมีผลต่อความร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้าอื่น เช่น ผู้ขนส่งสินค้า ตัวแทนทางการตลาด หรือผู้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ ได้อีกด้วย

ตัวอย่างธุรกิจที่แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

ธุรกิจที่ให้ความสนใจกับปัญหาหรือจุดอ่อน และแก้ไขปัญหาจนประสบความสำเร็จ ได้แก่ บริษัทระดับโลกอย่าง Apple โดย สตีฟ จ็อบ เคยกล่าวไว้ว่า “คุณไม่ควรมองไปที่คู่แข่งแล้วบอกว่าคุณจะทำให้ดีกว่า แต่คุณควรมองไปที่คู่แข่งแล้วประกาศว่าจะสร้างความแตกต่าง” คำพูดนี้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ Apple ว่า แก่นหลักของธุรกิจไม่ใช่เพียงคุณภาพของสินค้า ซึ่งในตอนนั้นคุณภาพของสินค้าของ Apple ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าคู่แข่ง แต่เราก็ได้เห็นว่าสิ่งที่ทำให้ Apple กลายมาเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน เพราะ Apple เลือกที่จะสร้างความแตกต่าง และการค้นหา Pain Point เจอว่าคุณภาพไม่ใช่ปัญหา ก็เป็นปัจจัยให้ทุกวันนี้เรามีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจาก Apple และอุปกรณ์มากมายที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ IOS นั่นเอง

หากคุณคือคนหนึ่งที่กำลังมองหาเพื่อนร่วมทีมมากความสามารถ มาช่วยกันนำพาบริษัทของคุณไปสู่เป้าหมาย เข้ามาค้นหาคนที่ใช่ได้ที่แอปพลิเคชัน JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/root-cause-analysis/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/help-desk/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/chat-bot-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%88%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/design-thinking/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%9b%e0%b8%93%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a-new-normal/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด