Imposter Syndrome โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง รักษาอย่างไรดี

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

           ปัจจุบัน มนุษย์เงินเดือนต้องประสบกับโรคที่มากับการทำงานมากมาย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ความเครียด ความกดดันจากการทำงาน เทคโนโลยีดิจิทัล  JobsDB พาคุณมารู้จักกับ Imposter Syndrome โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง รักษาอย่างไรดี โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ที่มักเกิดกับคนเก่ง

Imposter Syndrome โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง รักษาอย่างไรดี

 Imposter syndrome คืออะไร?

           เป็นอาการและความรู้สึกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา คือรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่มีความสามารถมากพอ ที่เราทำงานหรือเรื่องต่าง ๆ ออกมาสำเร็จได้ เพราะมีคนช่วย หรือมีโชคช่วยแต่เพียงเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากความสามารถของเราเองแต่อย่างใด โดยจากงานวิจัยพบว่า คนทั่วไปกว่า 70% ก็มีอาการที่รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอ อยู่บ่อยครั้งในชีวิต

           คำนี้เกิดขึ้นในปี 1970 โดยนักจิตวิทยา Suzanne Imes และ Pauline Rose Clance ได้กล่าวไว้ว่า หากเมื่อใดก็ตามที่คุณเกิดสงสัยในตัวเอง มีคำถามกับตัวเอง ไม่อาจยินดียินร้ายกับความสำเร็จของตัวเองได้ แสดงว่าคุณมีอาการของโรครู้สึกตัวเองไม่ดีพออยู่

 

ลักษณะอาการของคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ

           คนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ มักมีลักษณะ Perfectionist สูง รวมอยู่ด้วย มักเกิดในคนที่ประสบความสำเร็จในระดับสูง เด็กเรียนเก่ง นักวิชาการ สายงานครีเอทีฟ รวมถึงคนที่เปลี่ยนงานบ่อย มีความลังเลไม่เชื่อในความสามารถของตัวเอง และมักย้ำคิดย้ำทำบ่อย ๆ กดดันตัวเองในทุกเรื่อง แม้จะสร้างผลงานที่ดีแล้ว ก็ยังคิดว่าไม่เพียงพอ ยังดีได้กว่านี้อีก เป็นคนรอบรู้เรื่องราวรอบตัว เรียนรู้ไว และเร็ว และชอบทำอะไรเองตัวคนเดียว ไม่ชอบพึ่งพาใคร เพราะอยากจะพิสูจน์ตัวเอง

 

โรครู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ รักษาได้

           อาการรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เป็นอาการกึ่ง ๆ ทางจิตที่เราสามารถปรับและแก้ไข อย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยตัวเองได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • อย่าเก็บกดความรู้สึกนี้ไว้คนเดียว

           เมื่อมีอาการ ให้มองหาเพื่อนก่อนเลย เพื่อแชร์ความรู้สึกที่เรามี หรือหาคนให้คำปรึกษาแนะนำ อย่าอยู่แต่กับตัวเองมากเกินไป ออกไปพบเจอผู้คนภายนอกบ้าง

 

  • ลดอีโก้ลง

           เพราะคนที่มีอาการ บางคนอาจมีอีโก้สูง และเป็นลักษณะของ One man show ทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ชอบขอความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันก็ไม่ชอบช่วยเหลือใคร ลองแบ่งปันด้วยการให้ความช่วยเหลือ จากนั้นผู้คนจะชื่นชมคุณจากใจจริงของพวกเขา

 

  • ปรับ Mindset ใหม่ ไม่ใช่คนเก่งแต่ก็ทำงานได้

           จงมั่นใจในความสามารถและศักยภาพที่เรามี ว่าเราสามารถทำงานนั้นได้จริง ๆ แล้วจากนั้นค่อย ๆ เรียนรู้และลงมือทำ หากรู้สึกว่าหนักหนาระหว่างกำลังทำงานนั้น ให้ขอความช่วยเหลือ อย่าแบกรับไว้คนเดียว

 

  • ปรึกษาแพทย์

           หากสุดท้ายแล้วไม่สามารถปรับทัศนคติหรือเปลี่ยนความคิดตัวเองและหายจากอาการนี้ได้ อาจต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยหาหนทางแก้ไข ก่อนที่อาการจะแย่ลง แล้วนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าต่อไป

 

           อย่าไปปล่อยให้งาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน กดดันคุณมากจนเกินไป หากไม่สามารถปรับที่คนอื่นหรือปัจจัยแวดล้อมได้ ก็ปรับที่ตัวเราเอง มองหางานใหม่ที่กดดันน้อยลง มีเวลาพักผ่อนของตัวเองมากขึ้นก็จะช่วยให้คุณห่างไกลจากอาการ Imposter syndrome ได้ มองหางานใหม่ที่ตรงใจ โหลดแอปพลิเคชัน JobsDB ไว้เลย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

หนีให้ห่าง 5 โรคใหม่ทำร้ายมนุษย์เงินเดือน

 

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023Imposter Syndrome โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง รักษาอย่างไรดี

อีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังกระแสและเป็นที่น่าจับตามองในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้น SMEs รวมไปถึงบรรดา Startup ทั้งหลาย เพราะปัจจุบัน...
ในยุคนี้นอกจากที่บริษัทจะต้องสร้างกลยุทธ์เพื่อมัดใจลูกค้าให้ยังซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ แล้ว การมัดใจพนักงานคนรุ่นใหม่...
ช่วงนี้มนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานออฟฟิศทั้งหลายเรียกได้ว่าเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลยื่นภาษีกันแล้ว ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธ...

คำค้นหายอดนิยม

Scroll to Top