Employment Branding : สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ว่าที่ลูกจ้าง

Employment Branding : สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ว่าที่ลูกจ้าง
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

การที่คน ๆ หนึ่งจะตัดสินใจเลือกทำงานกับบริษัทใดนั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือ ภาพลักษณ์ขององค์กร หากองค์กรใดมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ย่อมไม่มีใครอยากร่วมงานด้วย ดังนั้น บริษัทต่างๆ จึงต้องมีการสร้าง Employment Branding เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทให้แก่บุคคลที่เข้าข่ายเป็นว่าที่ลูกจ้างในอนาคตโดยเฉพาะในระดับ Talent ที่หลายบริษัทต่างก็ต้องการตัว ซึ่งบริษัทสามารถทำได้โดยการให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับชีวิตการทำงานกับบริษัทนั้นๆ สู่กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

  • วิสัยทัศน์ธุรกิจ และแบบอย่างของภาวะผู้นำของบริษัท
  • นโยบายและกระบวนการทำงาน
  • ค่านิยมและวัฒนธรรมของบริษัท
  • บุคลิกลักษณะขององค์กร
  • ชื่อเสียงเกียรติประวัติของบริษัทในสายตาลูกค้าภายนอก
  • คุณภาพของสินค้าและบริการ
  • มาตรฐานการคัดเลือกบุคลากร และการปฐมนิเทศพนักงาน
  • หลักการบริหารให้ได้ผลงานของบริษัท
  • การพัฒนาฝึกอบรมพนักงาน
  • สภาพแวดล้อมการทำงานโดยทั่วไป
  • ระบบผลตอบแทน
  • สภาพของพนักงานหลังจากไม่ได้ทำงานกับบริษัทแล้ว

บริษัทที่จะทำ Employment Branding จะต้องชัดเจนในเรื่องของนโยบายและวิสัยทัศน์ ต้องสามารถตอบคำถามได้ว่า เราจะไปทางไหน เราต้องทำอะไร และเราจะได้อะไร ซึ่งผู้บริหาร ฝ่ายการตลาด และ HR จะต้องร่วมกันวางแผน และสื่อสารให้พนักงานเข้าใจตรงกัน เพื่อร่วมกับสร้างภาพลักษณ์ที่ดีออกสู่บุคคลภายนอก

นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วย เช่น เรื่องการทำงานเป็นทีม การมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและงานในหน้าที่ การสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสมในการทำงาน ตลอดจนการมีผู้นำที่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกน้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้นำพร้อมลุย ลูกน้องก็จะมีพลังในการทำงาน ถ้าผู้นำเอาแต่สั่งการ ลูกน้องก็จะเบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจที่ดี

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องให้พนักงานได้มีโอกาสในการฝึกอบรม หรือศึกษาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อพนักงานมีผลงานที่ดี นายจ้างต้องรู้จักยกย่องชมเชย และให้รางวัล นายจ้างที่เอาใจใส่ลูกน้อง ก็จะสามารถมัดใจลูกน้องได้ และได้ความจงรักภักดีตอบแทน

ภาพลักษณ์บริษัท เมื่อบริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี ใครๆ ก็อยากร่วมงานด้วย โอกาสในการสรรหาและคัดเลือกพนักงานคุณภาพเยี่ยมก็มีมากขึ้น ทั้งยังสามารถรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทนานๆ ลดอัตราการลาออกของพนักงานได้ด้วย

อย่างไรก็ตามในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลภายนอก แน่นอนว่าแต่ละบริษัทจะต้องนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ที่ดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่พึงระวังก็คือ อย่าสร้างภาพเกินความเป็นจริง จนกลายเป็นการโกหกหลอกลวง เมื่อพนักงานเข้ามาทำงานแล้วพบว่าข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับเป็นเพียงการสร้างภาพของบริษัทเท่านั้น ก็คงไม่มีพนักงานคนไหนอยากร่วมงานด้วยไปนานๆ หรอกจริงไหมคะ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด