Cognitive Bias ไม่ติดแต่ก็ผิดไปหมด ลำเอียงมากกว่าเหตุผล

Cognitive Bias ไม่ติดแต่ก็ผิดไปหมด ลำเอียงมากกว่าเหตุผล
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share
Cognitive Bias หรือ ความลำเอียง ในการตัดสินใจ คือลักษณะของอาการ ที่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนบนโลกใบนี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ระบบความคิด ของคุณ รวมไปถึงพื้นฐานครอบครัว สภาพความเป็นอยู่ การเลี้ยงดู การศึกษา สังคมการทำงาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ละ จะส่งผลต่อการตัดสินใจของคุณ ไม่ว่าจะเป็น การตัดสินใจ ในเรื่องทั่วไป หรือการตัดสินใจในเรื่องงาน
แน่นอนละ ไม่มีใครตัดสินใจได้ถูกต้อง 100% หรือการตัดสินใจของเราจะถูกใจทุกคน ยิ่งหากคุณเป็น ผู้นำ ด้วยแล้ว การตัดสินใจภายใต้ ความยุติธรรม และความไม่ลำเอียง คือสิ่งที่ลูกน้องทุกคนอยากเห็น

Cognitive Bias ไม่ติดแต่ก็ผิดไปหมด ลำเอียงมากกว่าเหตุผล

ว่ากันตามหลักจิตวิทยาแล้ว เหตุผลของความลำเอียงเ กิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมาก แต่ 10 ข้อต่อไปนี้ ของ Cognitive Bias เป็นความลำเอียงหลัก ๆ ที่มักเกิดขึ้น แล้วมีผลต่อการตัดสินใจในเรื่องงาน ที่หากคุณเลี่ยงได้ก็ควรที่จะเลี่ยง

1. Framing effect ลำเอียงภายใต้กรอบที่กำหนด

อธิบายให้เห็นภาพชัด ก็อย่างเช่น อาหารปริมาณเท่ากันแต่ใส่จานคนละขนาด คนก็จะเข้าใจว่าอาหารที่อยู่ในจานใหญ่มีปริมาณที่น้อยกว่าจานเล็ก หรือการตั้งคำถามแบบมีคำตอบชี้นำแฝงไว้ เพื่อให้คนตอบคำถาม ตอบไปตามกรอบของผู้ถาม หากเป็นแง่ของการทำงานแล้วละก็ หัวหน้างานอาจโยนโปรเจคให้กับทีม แต่กำหนดขอบเขตของไอเดียเอาไว้แล้ว ทำให้งานที่ออกมา ไม่ได้มีอิสระทางความคิด หรือเป็นไอเดียที่เกิดจากคนในทีมอย่างแท้จริง

2. Confirmation bias ลำเอียงภายใต้ความเชื่อของตัวเอง

คือเรื่องอะไรก็ตามที่มีข้อมูลตรงกับชุดความคิดหรือความเชื่อของเรา จะเกิดความลำเอียงว่าเป็นความจริงขึ้นมาทันที Bias นี้เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด เพราะการที่มนุษย์เลือกที่จะเชื่อข้อมูลที่ตรงกับความเชื่อตัวเองขึ้นมา และจะปิดรับความเชื่อหรือข้อมูลอื่นที่ขัดแย้งกับความเชื่อของตัวเองทันที หากเป็นหัวหน้างานแล้ว ก็จะชอบลูกน้องที่คล้อยตามหรือมีความคิดแบบเดียวกัน ซึ่งถือเป็นความลำเอียงอย่างหนึ่ง

3. In-group bias ลำเอียงตามเสียงส่วนใหญ่ในกลุ่ม

ความลำเอียงที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว คือการมีความเห็นโน้มเอียงไปตามกลุ่มที่เราอยู่แบบไม่รู้ตัว เช่น คุณมีแชทกลุ่ม Management Team แล้วเสียงส่วนใหญ่ในกลุ่มอาจขัดแย้งกับกับงาน หรือทีมงานของคุณ แต่คุณก็เลือกที่จะตัดสินใจตามเสียงส่วนใหญ่ในกลุ่มนั้นโดยไม่มีการโต้แย้ง แทนที่จะทำการประเมินงานจากความเป็นจริงหรือประเมินด้วยความคิดเชิงวิเคราะห์

4. Fundamental attribution error ลำเอียงจากความเชื่อเก่า ๆ

คือการที่เราไปตีความ หรือมี ความเข้าใจผิด ที่เกิดจากความเชื่อตั้งแต่โบราณในอดีต เหมือนเป็นความเชื่อต่อ ๆ กันว่า ว่า คนที่ทำชั่ว ต้องเป็นคนชั่วแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว เขาอาจไม่ใช่คนชั่วร้าย แต่ถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องทำเรื่องไม่ดีก็ได้ เมื่อเป็นเรื่องการทำงานแล้ว หากคุณตัดสินคนจากการทำงานผิดพลาดแค่ครั้งเดียว ว่าเขาทำงานไม่เก่ง แล้วไม่มอบหมายงานหรือโปรเจคใหม่ ๆ ให้อีกเลย แบบนี้ถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด

5. Anchoring ลำเอียงเพราะเชื่อเร็วเกินไป

พอรับสารหนึ่งมา แล้วไม่ผ่านการ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ เหตุและผล แต่เลือกที่จะส่งผ่านข้อมูลนั้นต่อไปเลย ถือเป็นความลำเอียงประเภทหนึ่ง เพราะข้อมูลที่ส่งผ่านไปนั้น อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง

6. Halo Effect ลำเอียงเพราะตัดสินจากภายนอก

เป็นความลำเอียงที่เกิดขึ้นได้ง่ายสุดในชีวิตประจำวัน แค่เห็นคนนั้น เป็นคนนิ่ง ๆ ไม่พูด ก็ไปตัดสินแล้วว่า เขาเป็นคนหยิ่ง ขาดมนุษยสัมพันธ์ หรือคนนี้แต่งตัวแย่ ที่บ้านต้องฐานะยากจนแน่เลย ถือว่าผิดตั้งแต่ไปตัดสินเขาจากภายนอกแล้ว ยังไม่นับรวมหากคุณต้องทำงานร่วมกัน คนภายนอกที่อาจดูนิ่ง แต่จริง ๆ อาจเป็นคนน้ำใจงาม ช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมได้ดีก็เป็นได้

7. Self-serving bias ลำเอียงเพราะ เชื่อว่าตัวเองถูก

สิ่งนี้มักเกิดขึ้นกับหัวหน้างาน หรือตำแหน่งซีเนียร์ เพราะคิดว่าตัวเองมีประสบการณ์มากกว่า สิ่งที่ตัวเองคิดจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ เพราะอาบน้ำร้อนมาก่อน คิดแบบนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง และลำเอียง แถมบางคนอาจหนักถึงขั้นไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด หากงานพลาดขึ้นมา ก็จะโทษโน่นโทษนี่

8. Availability heuristic ลำเอียงเพราะฉันรู้ดีที่สุด

อันนี้จะเข้าข่าย หลงตัวเอง หน่อย ๆ มักเกิดกับคนเก่ง ๆ ที่คิดว่าความคิดของตัวเองนั้นเจ๋งสุด และมักหาเหตุผลมาหักล้างความคิดของตัวเอง หนักข้อเข้าก็คือ ไม่ยอมรับความจริง จะเชื่อแต่ความคิดของตัวเอง หากเป็นการทำงานแล้ว คุณคือคนที่ไม่ยอมให้ไอเดียคนอื่นมาหักล้าง ไอเดียของคุณได้ ไม่เปิดรับฟังความเห็นและเหตุผลของไอเดียคนอื่น ๆ เชื่อว่าตัวเองว่าดีที่สุด

9. Sunk Cost Fallacy ลำเอียงแบบทับถมชุดความคิด

เรียกว่าเป็นการต่อยอดของความลำเอียงก็ไม่ผิด รู้ทั้งรู้ว่าที่เราคิดนั้นมันผิด หรือกำลังทำงานผิดทางไปมาก แต่ก็ยังไม่หยุด จะยังคงเดินหน้าทำงานอย่างผิด ๆ ต่อไป เรียกว่าเป็นการทับถม สะสมความเสียหาย จนสุดท้ายก็ยากที่จะแก้ไขได้ หากเป็นการทำงาน ก็เช่นจะเสนอแต่ไอเดียเดิม ๆ ทั้งที่ลูกค้าไม่ซื้อ แต่ก็ยังจะทู่ซี้ขายซ้ำ ๆ ต่อไป สุดท้ายลูกค้าไม่ให้โอกาสแก้ไข กลับเลือกโยนงานชิ้นนี้ให้กับบริษัทอื่นแทน แบบนี้เป็นต้น

10. Belief bias ลำเอียงตามความเชื่อที่เรามี

คุณมีความเชื่อเป็นพื้นฐานอยู่ในใจไว้แล้วจึงแทบจะไม่พิจารณาความจริง หรือข้อโต้แย้งทางความคิดใด ๆ เลย แถมคุณจะยังปกป้องความคิดที่คุณมี หากใครหาทางโต้แย้งอีกด้วย

ถ้ารู้ตัวแล้วว่าเรากำลังจะเข้าข่าย Cognitive Bias กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ให้พยายามปรับใจ เปิดใจ แล้วอย่าเพิ่งไปตั้งการ์ดหรือตั้งแง่กับความคิดเห็นตรงข้าม ให้เลือกรับฟัง แล้วนำมาคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ตกตะกอนเสียก่อน หากผ่านกระบวนการคิดแล้วปรากฏว่าความเห็นเหล่านั้นยังไม่ตรงกับคุณก็ถือว่า คุณลำเอียงน้อยที่สุดแล้วละ

แต่หากอยากหางานแบบไม่ต้องกลัวว่าจะลำเอียง คลิกโหลดแอปพลิเคชัน JobsDB มาไว้เลย อยากคลิกสมัครงานตอนไหนก็ได้ สะดวกทุกที่ ทุกเวลา พร้อมอัปเดตงานใหม่ ๆ ก่อนใคร

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%88/?utm_campaign=jobsdb_employer_newsletter_apr_2015&utm_source=jobsdb&utm_medium=newsletter&utm_content=click_jobsdb_employer_newsletter_apr15_unhappy_employee

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/unfairjob/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%B3introvert/

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด