ปฏิเสธไม่ได้ว่าปี 2022 เป็นยุคแห่งความหลากหลายและเท่าเทียมอย่างแท้จริง ถึงแม้บางเรื่องจะยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่เห็นได้ว่าชุดความคิดของคนในสมัยนี้ เริ่มถูก Develop ไปในทางที่ดีมากขึ้น ความชัดเจนเรื่องการมองทุกคนเท่ากัน เคารพเรื่องความแตกต่างที่หลากหลาย โดยไม่มีเรื่องของเพศ วัย สัญชาติหรืออะไรอื่น ๆ มาล้อมกรอบ ทุกคนเป็นคนเหมือนกัน ในฐานะ Global Citizen เป็นคนของประชาคมโลก
เมื่อ Movement ของสังคมกำลัง Drive ไปในทิศทางนั้น ในฐานะบริษัทจำเป็นต้องปรับความคิดและการบริหารให้เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายในองค์กรเองซึ่งเป็นแหล่งรวมความหลากหลายแห่งใหญ่ การบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร (Diversity Management) จึงจำเป็นต้องทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากคุณเลือกที่จะละเลย ท้ายสุดแล้วจากเรื่องเล็ก ๆ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขนาดใหญ่ภายในได้ เป็นหนึ่งในความท้าทายและเป็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรนั่นเอง
ความต่างของ Gen คือความหลากหลาย
จริงอยู่ในเรื่องของความเท่าเทียม “เพศและวัย” ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่นำมาตัดสินใคร หรือทำให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลเหล่านั้นถูกลดทอนลง แต่คงต้องยอมรับว่า การเติบโตมาด้วยสภาพแวดล้อม ช่วงเวลาที่ต่างกัน รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ณ ขณะนั้น ย่อมส่งผลต่อความคิด ทัศนคติและความเชื่อที่แตกต่างกัน
“ต่าง Gen ต่างความคิด” ดังนั้น การจะวางกลยุทธ์จัดการความหลากหลายในองค์กรได้นั้น คุณต้องเข้าใจความต่างเรื่องนี้ให้ได้ก่อนเป็นอย่างแรก เข้าใจเพื่อที่จะได้หาทางให้ความไม่เหมือนกันเหล่านั้น อยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพมากที่สุด
- Gen Z – ช่วงอายุ 18-23 ปี สนใจในเรื่องการพัฒนาทักษะ และเพิ่มพูนความรู้เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กร 5.9% และสภาวะแวดล้อมในการทำงาน 4%
- Gen Y – ช่วงอายุ 24-34 ปี กลุ่มคนมีไฟแรง กำลังเติบโตในหน้าที่การงาน เป็นนักคิดและนักสงสัยในเวลาเดียวกัน ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กร 5.3% และสภาวะแวดล้อมในการทำงาน 2.7%
- Gen X – ช่วงอายุ 35-54 ปี สนใจเรื่องค่าตอบแทนและความมั่นคงในงานเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กร 6.0% และสภาวะแวดล้อมในการทำงาน 1.9%
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า แต่ละช่วงวัยก็ให้ความสำคัญแต่ละเรื่องต่างกัน แน่นอนว่าทุกองค์กรย่อมเผชิญกับความหลากหลายเช่นนี้อย่างแน่นอน กลยุทธ์ Diversity Management จึงเป็นสิ่งสำคัญ เปรียบเสมือนจุดร่วมของความแตกต่าง ทำอย่างไรให้ความหลากหลายเหล่านี้อยู่ร่วมกันได้ ตอบโจทย์ความต้องการของคนทำงานทุก Generation ได้
อย่างไรก็ตาม “ความต่าง” ทั้งหมดนั้น เรื่อง Gen เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังคงมีความต่างเรื่องเพศ เชื้อชาติ สถาบันการศึกษา สายงานต่าง ๆ ที่เป็นความหลากหลายที่องค์กรเองต้องบริหารความต่างนั้นให้ขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กันได้
3 กลยุทธ์ Diversity Management ให้องค์กรอยู่รอดในความต่าง
เข้าใจความต่างที่หลากหลายกันไปแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าในความไม่เหมือนกันนั้น กลยุทธ์หรือชุดความคิดแบบไหน ที่จะนำพาความต่างเหล่านั้นให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมปัจจุบัน
1. เปิดกว้างเรื่องตำแหน่ง เน้นการวัดผลจากงาน
เข้าใจว่าข้อนี้เหมือนจะง่ายในทางทฤษฎีแต่พอปฏิบัติจริง อาจจะต้องลำบากใจกันพอสมควร อันนี้พูดในแง่ของการทำงานในระบบไทยจ๋า ที่เน้นความ Senior เรื่องลำดับอายุเป็นสำคัญ เลื่อนขั้นเลื่อนเงินเดือนตามอายุงาน มากกว่าวัดที่ผลงาน ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้เด็ก ๆ ที่ตั้งใจทำงาน หมดไฟไปอย่างง่ายดาย
หากในองค์กรของคุณมีความหลากหลายเรื่องนี้สูง จำต้องชี้แจงและอธิบายการเลื่อนลำดับขั้นหรือการเปิดกว้างเรื่องตำแหน่งที่ชัดเจน ยกเอาอายุงานและอายุจริงออกไป หากใครในองค์กรมีคุณสมบัติได้ ก็สามารถทำในตำแหน่งนั้นโดยไม่มีข้อแม้ วัดที่เนื้องานเป็นหลัก
ทั้งนี้การรับพนักงานช่วงอายุที่ไล่เลี่ยกัน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีปิดช่องว่างระหว่างอายุที่ห่างกันมากเกินไป จะได้วัดผลกันที่ตัวงานจริง ๆ โดยไม่มีปัจจัยอื่นมาข้องเกี่ยว นอกจากนี้องค์กรยังต้องเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็มีสิทธิ์ทำงานหรือเลื่อนตำแหน่งอย่างไม่มีข้อแม้ เพื่อให้ทุกเพศได้มีโอกาสแสดงศักยภาพเต็มที่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
2. มอบหมายงานที่ชัดเจน
สิ่งที่ตามมาของการวัดผลจากตัวงานนั้น คือการมอบหมายงานที่ชัดเจน การที่คุณจะประเมินใครโดยเน้นที่ผลลัพธ์ การสร้างรากฐานและจุดเริ่มต้นที่แข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากต้นทางไม่ชัดเจน การวัดผลปลายทางจะได้ประสิทธิภาพอย่างไร ดังนั้น การแบ่งแยกงานที่ชัดเจนจะช่วยดึงศักยภาพความของแต่ละคนออกมาได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังลดปัญหาการเกิดการก้าวก่ายงานหรือทำงานซ้ำซ้อนของอีกฝ่ายด้วย
3. แสดงความเชื่อมั่นและมีวิสัยทัศน์ที่หลากหลาย
สองข้อแรกเป็นเรื่องของการปฏิบัติไปแล้ว ข้อสุดท้ายเป็นเรื่องของการปรับมายเซ็ตและทัศนคติล้วน ๆ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้น เป็นสิ่งที่องค์กรควรทำควบคู่กันไปในการวางกลยุทธ์ Diversity Management
เริ่มจากตัวผู้นำเองควรสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานเพื่อให้เกิดความผูกพันภายในองค์กร เน้นสร้างความเท่าเทียมและความยุติธรรม รวมถึงรับฟังและเคารพความคิดเห็นของทุกฝ่ายเสมอ เพื่อทำให้พนักงานเชื่อว่าความคิดของเขามีคุณค่า ต่อให้จะเป็นความเห็นที่แตกต่างก็เป็นประโยชน์เสมอ นอกจากนี้การจัดกิจกรรมภายในองค์กร ให้พนักงานแต่ละทีม แต่ละช่วงวัยใช้เวลาร่วมกัน ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ ทั้งการอบรม การออกทริปของบริษัท ฯลฯ
หากองค์กรนั้นเปลี่ยนความหลากหลายให้เป็นเรื่องปกติได้ ย่อมส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม พนักงานทำงานอย่างมีความสุข คนลาออกน้อย คุณเองก็ไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาบุคลากรซ้ำไปซ้ำมา ในฐานะบริษัทมีแต่ได้มากกว่าเสีย
หาคนตรงงาน เติมเต็มองค์กรของคุณให้สมบูรณ์มากขึ้น ลงประกาศรับสมัครงานกับเราได้ที่ JobsDB แพลตฟอร์มหางานอันดับหนึ่งในไทย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
พิชิตวิกฤตเศรษฐกิจด้วย 5 กลยุทธ์ บริหารธุรกิจ ที่ควรรู้
กลยุทธ์ดึงดูดพนักงาน Gen Z ด้วยการปรับธุรกิจเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคม
ค้นหาคนเก่ง กับ 8 กลยุทธ์สุดยอดวิธีหาคนที่ใช่