Creative Commons งานสร้างสรรค์เสรี เรื่องลิขสิทธิ์ที่นักสร้างสรรค์ควรรู้

Creative Commons งานสร้างสรรค์เสรี เรื่องลิขสิทธิ์ที่นักสร้างสรรค์ควรรู้
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ทุกวันนี้งานออกแบบ งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นเป็นงานสังคมให้ค่าอย่างมาก เพราะกว่าจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้แต่ละชิ้น เจ้าของผลงานต้องใช้ทั้งพลังกายและพลังสมองเป็นอย่างมาก ทำให้เราจะได้เห็นเครื่องหมาย “©” หรือเรียกอีกอย่างว่า Copyright อยู่เป็นประจำ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่เอาแสดงถึง การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ของผลงานสร้างสรรค์ทั้งหลายให้กับผู้เป็นเจ้าของผลงาน ถ้าใครจะเอาไปดัดแปลง ก๊อปปี้ ทำสำเนา เอาไปใช้ต่อ หรือแจกจ่ายให้กับคนอื่น คนนั้นจะต้องมาขออนุญาตเจ้าของผลงานซะก่อน ทำเกิดข้อจำกัดมากมายในการนำผลงานสร้างสรรค์ไปอย่างแพร่หลาย เพื่อแก้ไขข้อจำกัดตรงนี้เลยมีแนวคิดที่จะให้สามารถนำผลงานสร้างสรรค์ไปใช้ได้อย่างแพร่หลายภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง และแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า Creative Commons

Creative Commons งานสร้างสรรค์เสรี เรื่องลิขสิทธิ์ที่นักสร้างสรรค์ควรรู้

รู้จัก Creative Commons

เรียกเป็นภาษาไทยว่า “งานสร้างสรรค์เสรี” มีตัวย่อสั้น ๆ คือ “CC” เป็นสัญญาอนุญาตแบบเปิด จัดว่าเป็นลิขสิทธิ์อย่างหนึ่งที่เปิดโอกาสให้สาธารณะหรือคนทั่วไปสามารถนำผลงานนั้นไปใช้โดยไม่ต้องขออนุญาต แม้การนำไปใช้จะไม่จัดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ก็มีเงื่อนไขที่ผู้ที่นำผลงานไปใช้จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ถูกกำหนดไว้บนผลงาน ผ่าน 4 สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนแต่ละเงื่อนไข เรียกว่า “เงื่อนไขใบอนุญาต” (License Conditions) มาดูกันว่าเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อนั้นมีอะไรกันบ้าง

เงื่อนไขใบอนุญาต (License Conditions)

  1. Attribution (BY)

สัญลักษณ์ที่แสดงว่า เจ้าของผลงานอนุญาตให้นำผลงานไปใช้ได้อย่างเสรี แต่ต้องให้เครดิตที่มาแก่เจ้าของผลงานนั้นด้วย แต่ถ้าอยากนำไปใช้แบบไม่มีชื่อเครดิตเจ้าของ ก็จะต้องทำการติดต่อขออนุญาตกับเจ้าของผลงานนั้น ๆ เสียก่อน

  1. NonCommercial (NC)

สัญลักษณ์บอกว่า เจ้าของผลงานอนุญาตให้นำผลงานไปใช้ต่ออย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่เพื่อการค้าหรือเพื่อการแสวงหาผลกำไร นอกเสียจากว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานเสียก่อน

  1. NoDerivatives (ND)

สัญลักษณ์ที่แสดงว่า เจ้าของผลงานอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย เผยแพร่ต่อได้ แต่ห้ามแก้ไข ดัดแปลงผลงานใด ๆ ก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานเสียก่อน

  1. ShareAlike (SA)

สัญลักษณ์ที่แสดงว่า เจ้าของผลงานอนุญาตให้นำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ ดัดแปลง แจกจ่ายได้ แต่ผลงานที่ถูกดัดแปลงจะต้องอยู่ในเงื่อนไขอนุญาตเดียวกับผลงานเดิมเท่านั้น เช่น ผลงานต้นฉบับได้รับอนุญาตให้นำไปใช้ต่อได้ แต่ห้ามขาย หรือเอาไปใช้ทางการค้า ผลงานที่ถูกดัดแปลงจากต้นฉบับก็จะต้องมีเงื่อนไขเดียวกัน คือ ห้ามขายหรือเอาไปใช้ทางการค้า เช่นเดียวกัน

ประเภทของใบอนุญาต (License Types)

นอกจากเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อแล้ว ยังมีรูปแบบการนำใบอนุญาตไปใช้ 7 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

  1. Attribution (CC BY)หมายถึง สามารถนำผลงานไปใช้ ดัดแปลง ต่อยอดได้ แสวงหาผลกำไรได้ แต่ต้องให้เครดิตเจ้าของผลงานด้วย
  2. Attribution-ShareAlike (CC BY-SA)หมายถึง สามารถนำผลงานไปใช้ ดัดแปลง ต่อยอดได้ แสวงหาผลกำไรหรือขายได้ แต่ต้องให้เครดิตเจ้าของผลงานและต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขแบบเดียวกันกับใบอนุญาต Creative Commons ของต้นฉบับ
  3. Attribution-NoDerives (CC BY-ND)หมายถึง สามารถนำผลงานไปใช้ แสวงหาผลกำไร ต่อยอดได้ แต่ห้ามดัดแปลงโดยเด็ดขาด และต้องให้เครดิตเจ้าของผลงานไว้ด้วย
  4. Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)หมายถึง สามารถนำผลงานไปใช้ ดัดแปลง ต่อยอดได้ แต่ห้ามนำไปใช้ทางการค้าหรือแสวงหาผลกำไรจากผลงาน และต้องให้เครดิตกับเจ้าของผลงานด้วย
  5. Attribution-NonCommercial-ShareAlike (CC BY-NC-SA)หมายถึง สามารถนำผลงานไปใช้ ดัดแปลง ต่อยอดได้ แต่ห้ามนำไปใช้ทางการค้าหรือแสวงหาผลกำไรจากผลงาน และต้องให้เครดิตกับเจ้าของผลงาน โดยที่ผลงานที่เกิดขึ้นมาจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขแบบเดียวกันกับใบอนุญาต Creative Commons ของต้นฉบับ
  6. Attribution-NonCommercial-NoDerives (CC BY-NC-ND)หมายถึง สามารถนำผลงานไปใช้ เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปแก้ไข ดัดแปลง ต่อยอดได้ หรือนำไปใช้ทางการค้าและแสวงหาผลกำไรจากผลงาน และต้องให้เครดิตกับเจ้าของผลงานด้วย ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการใช้ใบอนุญาตที่มีข้อจำกัดมากที่สุด
  7. No Rights Reserved (CC0)หมายถึง สามารถนำผลงานนั้นไปใช้ ดัดแปลง ต่อยอดได้ แสวงหาผลกำไรได้อย่างเสรีโดยที่ไม่ต้องให้เครดิตใด ๆ กับเจ้าของผลงาน

ต่อไปนี้หากเจอผลงานสร้างสรรค์ไหนที่ถูกใช้ อยากนำไปใช้ต่อก็สามารถสังเกตสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดูได้เลยว่ามีติดลิขสิทธิ์หรือไม่ และถ้าหากเจอว่าเป็นงานสร้างสรรค์เสรีขึ้นมา ก็เพียงแค่ดูสัญลักษณ์ให้ดี ศึกษาความหมายและรูปแบบการนำไปใช้ให้เข้าใจ จะได้ไม่ต้องเสี่ยงทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ สำหรับใครที่กำลังมองหางานด้านนี้ หรือกำลังมองหาเพื่อนร่วมทีม สามารถเข้าไปค้นหางานโดนใจและคนที่ใช่สำหรับทีมของเราที่แอปพลิเคชัน JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/pantone-2022-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%87/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-drm/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-graphicdesign/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด