คอมมิชชั่น หรือ เงินเดือนเลือกอะไรดีกว่ากัน

คอมมิชชั่น หรือ เงินเดือนเลือกอะไรดีกว่ากัน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ทำไมถึงต้องมีการเลือกระหว่างค่าเงินเดือนและค่าคอมมิชชั่น

ในการทำอาชีพด้านการขายหลาย ๆ บริษัทมักจะสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน สร้างยอดขายให้กับสินค้าหรือบริการของบริษัท นอกจากนี้สวัสดิการที่ดีแล้ว หลาย ๆ บริษัทมักจะให้เงินเดือนที่สูงหรือ ค่าคอมมิชชันในการขายสินค้าที่สูง เพื่อให้พนักงานออกไปขายสินค้าและปิดการขายให้ได้มากที่สุด

คอมมิชชั่น หรือ เงินเดือน

โดยส่วนใหญ่แล้วนับตั้งแต่ตอนเข้าสัมภาษณ์ หากผ่านบริษัทจะให้เราเลือกว่าจะเอาฐานเงินเดือนที่สูง แต่ได้ค่าคอมมิชชั่นจากการขายสินค้าที่น้อย หรือฐานเงินเดือนที่น้อยแต่ให้ค่าคอมมิชชั่นที่สูงเป็นค่าตอบแทนในแต่ละเดือน

ทำให้พนักงานหรือบุคคลที่ได้รับตำแหน่งนี้ ต้องใช้ความสามารถและทักษณะอย่างเต็มที่ในการขาย โดยมีเงินคอมมิชชั่นเป็นรางวัลสำหรับความพยายาม ซึ่งส่วนมากจะจ่ายในลักษณะของเปอร์เซ็นต์ ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้

นอกจากนี้บางที่อาจจะเพิ่มแรงจูงใจขึ้นไปอีกด้วยการจ่าย incentive ที่หากเราทำยอดได้ถึงตัวเลขที่กำหนดไว้ก็จะได้รับเงินตอบแทนยิ่งขึ้นไปอีก เช่น หากสามารถทำยอดขายสะสมได้ถึง 10 ล้านบาทจะได้ Incentive อีก 10,000 บาทเป็นต้น

อย่างไรก็ตามในบางบริษัทอาจจะให้ฐานเงินเดือนที่สูงและค่าคอมมิชชั่นที่สูง แต่ว่าสินค้าและบริการนั้นเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าสูงและต้องใช้ทักษะรวมถึงระยะเวลาที่ยาวนานในการที่จะขายออกได้สักหนึ่งชิ้น ซึ่งเรื่องของเงินเดือนและค่าคอมมิชชั่นจะไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในแต่ละบริษัท

ค่าคอมมิชชั่นจ่ายยังไง

เนื่องจากแต่ละบริษัทจะมีสินค้าไม่เหมือนกัน ทำให้รูปแบบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นจะแตกต่างกันด้วย เช่นบางบริษัทอาจจะจ่ายพร้อมกับค่าจ้างในแต่ละเดือน บางแห่งอาจจะจ่ายในรูปแบบไตรมาส (ทุก ๆ สามเดือน) เป็นต้น

คำแนะนำในการเลือกค่าคอมมิชชั่นและเงินเดือนให้เหมาะกับตัวเรา

ในส่วนของหัวข้อนี้เรามีคำถามให้ผู้อ่านได้คิดก่อนที่จะอ่านต่อ

  • ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรามีเท่าไหร่
  • เราเข้าใจในตัวสินค้าหรือบริการมากแค่ไหน
  • ในกรณีที่แย่ที่สุด หากเดือนนั้นเราไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการได้เลย เราจะอยู่ได้ไหม

การที่เลือกเงินเดือนหรือว่าคอมมิชชั่นนั้นไม่มีวิธีที่ตายตัว แต่สำหรับคำแนะนำของเราให้ดูเรื่องต่อไปนี้

ฐานเงินเดือนที่ผู้จ้างให้เราสมเหตุ สมผลหรือไม่

ประการแรกก่อนที่เราจะรับงาน เราควรจะมีฐานเงินเดือนในใจก่อนว่า ความสามารถของเรา วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ของเราเหมาะสมกับเงินที่ได้รับหรือไม่ โดยหากมันไม่สมเหตุสมผล เราสามารถที่จะต่อรองในการเพิ่มเงินเดือน รวมถึงสัดส่วนของเงินเดือนกับค่าคอมมิชชั่นว่าเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม

เพราะในบางครั้งแม้จะให้ค่าคอมมิชชันที่สูง แต่ว่าเงินเดือนน้อยมาก เมื่อเทียบความสามารถของเรา ก็คงไม่คุ้มค่าที่รับทำงานที่นี่ เพราะว่าเราจะต้องขายสินค้าหรือบริการให้เยอะมาก ๆ ถึงจะมีรายได้ที่ตรงกับความต้องการของเรา หรือหากเงินเดือนสูงแต่คอมมิชชั่นน้อยก็ไม่คุ้มค่าที่จะออกไปขาย เพราะว่าคอมมิชชั่นที่ได้เป็นจำนวนเงินที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินเดินเป็นต้น

สินค้าหรือบริการนั้นมีความยากหรือง่ายในการขายแค่ไหน

หลังจากที่เราได้ฐานเงินเดือนที่เหมาะสมแล้ว เราก็มาคิดถึงค่าคอมมิชชั่นว่าเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้อยู่กับชนิดของสินค้าและบริการ เช่นสินค้าที่มีความต้องการสูงอยู่แล้ว สามารถขายได้ง่ายก็อาจจะได้ค่าคอมมิชชั่นที่ไม่สูงนัก แต่หากเป็นสินค้าหรือบริการที่ต้องใช้เวลาในการขายที่นาน เช่นการขายในลักษณะของการให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจ (Consulting) หรือสินค้าที่มูลค่าสูงมาก ๆ หลักร้อยล้าน อาจจะได้ค่าคอมมิชชั่นที่สูงก็ได้

ต้องหาลูกค้าเองหรือมีลูกค้าให้แล้ว

อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องคุยกันให้ชัดเจน นับตั้งแต่ตอนสัมภาษณ์คือการที่เราจะต้องออกไปหาลูกค้าเอง หรือว่าทางบริษัทมีลูกค้าให้แล้ว แต่เราจะต้องทำหน้าที่ในการปิดการขายให้ได้ ซึ่งในส่วนนี้สามารถนำไปคิดในเรื่องของค่าคอมมิชชั่นได้เช่นกันว่าเหมาะสมหรือไม่

ระยะเวลาในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น

สำหรับประเด็นนี้ก็มีส่วนในการเลือกคอมมิชชันหรือเงินเดือนเป็นอย่างมาก เพราะการจ่ายค่าคอมของสินค้าและบริการของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน บางบริษัทจ่ายพร้อมกับเงินเดือน อาจจะทำให้เงินเดือนไม่สูงนักเพราะได้ค่าคอมมิชชั่นทุกเดือนอยู่แล้ว แต่หากมีการจ่ายคอมมิชชั่นในแบบไตรมาส หรือรายโปรเจกต์ อาจจะให้เงินเดือนที่สูงเป็นต้น

เงินเดือนสูงคอมมิชชั่นน้อยดียังไง

ในส่วนของเงินเดือนสูงคอมมิชชั่นน้อยดียังไง คำตอบก็คือว่าช่วยให้เรามีแรงกดดันการขายที่น้อยลง ในกรณีที่บางเดือนเราไม่สามารถหาลูกค้าได้เลย ก็ยังมีเงินเดือนที่พอจะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตในเดือนต่อ ๆ ไปได้

เงินเดือนน้อยคอมมิชชั่นสูงดียังไง

ในส่วนของเงินเดือนน้อยแต่คอมมิชชั่นสูงจะเป็นในด้านตรงข้ามกับหัวข้อที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ โดยการที่มีค่าคอมมิชชั่นทำให้หากเราสามารถขายสินค้าหรือบริการได้เก่ง รายได้ในแต่ละเดือนของเราจะสูงมากกว่าการได้เงินเดือนที่สูง เพราะรายได้หลักของเรามาจากการขาย แต่ในขณะเดียวกันหากเดือน ๆ นั้น เราไม่สามารถที่จะหาลูกค้าได้เลย รายได้ในแต่ละเดือนเราอาจจะได้น้อยกว่าการเลือกเงินเดือนที่สูง

สรุป

สรุปการเลือกเงินเดือนหรือว่าค่าคอมมิชชั่นอะไรดีกว่ากันนั้น ไม่มีตัวเลือกที่ตายตัว อยู่ที่เราว่าจะเลือกแบบไหน รวมไปถึงตัวสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ว่าน่าสนใจหรือไม่ มีความต้องการสูงหรือเปล่า นำมาพิจารณาประกอบกัน ว่ารูปแบบไหนเหมาะสมกับเรา

เกล็ดน่ารู้เกี่ยวกับค่าคอมมิชชั่น

รายได้จากค่าคอมมิชชั่นนั้นจะต้องมีการเสียภาษี โดยถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ที่ผู้รับเงินจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%82%e0%b8%ad-%e0%b8%82%e0%b8%b6%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/6-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b2/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด