8 หลักการป้องกันการให้สินบนเจ้าพนักงานรัฐ

8 หลักการป้องกันการให้สินบนเจ้าพนักงานรัฐ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share
หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิคของการทำธุรกิจกับรัฐก็คือ ความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันที่มีเหตุมาจากการทุจริตและให้สินบนเจ้าพนักงาน หรือที่เราจะเรียกกันแบบง่าย ๆ ก็คือ “การยัดเงินใต้โต๊ะ” โดยผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการทุจริตในประเทศไทย ประจำปี 2563 จัดทำโดยบริษัท ไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย (PwC Thailand) หรือ ‘PwC’s Thailand Economic Crime and Fraud Survey 2020 พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 33% ของบริษัทในไทยได้รับผลกระทบจากการทุจริตและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ  โดยปัญหา “สินบนและการทุจริต” เป็นหนึ่งในอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ภาคธุรกิจต้องพบเจอมากที่สุด(31%) และการทุจริตผ่านการจัดซื้อจัดจ้าง (33%)

แม้ว่าสินบนและการทุจริตจะมีเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างสูง แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างที่พอจะทำให้เรารู้ว่าปัญหาการติดสินบนได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เพราะผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่พบว่า ค่าดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศ ซึ่งมาจากการที่ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับรัฐต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แก่เจ้าพนักงานและนักการเมืองทุจริตมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 25-35% แต่ในปี 2560 กลับมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5-15% เท่านั้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการร่วมมือกันกำจัดปัญหาคอร์รัปชันในประเทศ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งไปหน่วยงานรัฐที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ได้แนะนำ 8 หลักการป้องกันการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ ซึ่งเป็นอีกตัวช่วยสำคัญสำหรับองค์กรเพื่อควบคุมความเสี่ยง

1. การป้องกันการให้สินบนต้องเป็นนโยบายสำคัญจากระดับบริหารสูงสุด

เพราะผู้บริหารระดับสูงขององค์กรคือผู้มีอำนาจและกำหนดทิศทางในบริษัท ถ้าหากผู้บริหารระดับสูงมีนโยบายที่ชัดเจนให้ต่อต้านการติดสินบนเจ้าพนักงานรัฐ และปฏิบัติตัวให้เป็นตัวอย่างด้วยแล้ว เชื่อได้ว่าคงไม่มีพนักงานคนไหนอยากจะทำผิดนโยบายบริษัทอย่างแน่นอน

2. บริษัทต้องมีการประเมินความเสี่ยงในการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ

บริษัทที่ทำธุรกิจแต่ละประเภทก็มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐต่างกันไป ดังนั้นการประเมินความเสี่ยงในการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อจะได้ทำให้แต่ละนิติบุคคลและบริษัทสร้างมาตรการควบคุมการติดสินบนเจ้าพนักงานได้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง โดยจะต้องเป็นการประเมินทั้งจากปัจจัยภายนอก เช่น เป็นธุรกิจที่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ได้งาน และปัจจัยภายใน เช่น การขาดความรู้จากการอบรมเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบน เป็นต้น

3. มาตรการเกี่ยวกับกรณีมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นการให้สินบนต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน

ทางบริษัท หรือผู้ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรัฐจะต้องมีนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้ของขวัญ ของกำนัลต่าง ๆ รวมไปถึงการเลี้ยงรับรอง และการบริจาค ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นการติดสินบนเจ้าพนักงานอย่างมาก ทางบริษัทจึงต้องมีขั้นตอนการพิจารณางบประมาณเหล่านี้อย่างชัดเจน มีมูลค่าที่เหมาะสม และใช้ในช่วงเวลาที่ถูกต้อง เช่น ไม่อยู่ในช่วงใกล้การเข้าร่วมประมูลโครงการของรัฐ เพื่อเป็นการแสดงถึงเจตนาที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นการใช้จ่ายเพื่อจูงใจเจ้าพนักงานของรัฐ

4. บริษัทต้องนำมาตรการป้องกันการให้สินบนไปปรับใช้กับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัท

ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ตัวแทน หรือบริษัทในเครือ ถ้าใครก็ตามในที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อผลประโยชน์ของบริษัท ตัวบริษัทเองก็จะมีความผิดไปด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรมีการตรวจสอบสถานะ หรืออาจกำหนดเป็นข้อตกลงในสัญญาให้ปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการเรื่องการต่อต้านสินบนไปด้วยเลยก็ได้

5. บริษัทต้องมีระบบบัญชีที่ดี

การบันทึกค่าใช้จ่ายในระบบบัญชีให้ถูกต้อง โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ถือเป็นตัวช่วยที่ดีในการต้านคอร์รัปชัน ที่เกิดจากการปกปิดค่าใช้จ่ายที่ใช้เป็นสินบนเจ้าพนักงานรัฐ

6. บริษัทต้องมีแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้องกับมาตรการป้องกันการให้สินบน

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นธรรม ต่อต้านการให้สินบนในองค์กรหรือบริษัทของตัวเองก็เป็นสิ่งจำเป็น เช่น การเลื่อนตำแหน่งตามความสามารถ การให้เงินเดือนที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการบริหารทรัพยากรบุคคลที่นำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ดีและเสมอภาค และปลูกฝังจิตสำนึกการต่อต้านคอร์รัปชันไปด้วยในตัว

7. บริษัทต้องมีมาตรการในการสนับสนุนให้มีการรายงานการกระทำความผิด หรือกรณีมีเหตุน่าสงสัย

ต้องมีช่องทางให้ร้องเรียนและรายงานความผิด ที่สามารถทำได้โดยง่าย รวมถึงปกปิดสถานะของผู้ร้องเรียนหากเขาเหล่านั้นไม่ต้องการเปิดเผยตัว รวมถึงจะต้องสามารถติดตามผลการดำเนินการได้ด้วย เพื่อความโปร่งใส่ และเป็นธรรม

8. บริษัทต้องตรวจสอบและประเมินผลการใช้มาตรการป้องกันการให้สินบนอย่างเป็นระยะ

เพื่อให้ตามทันเทคนิคและวิธีการติดสินบนเจ้าพนักงานที่อาจจะมีการพัฒนาให้ถูกจับได้ได้ยากขึ้น บริษัทจึงจะต้องมีการทบทวนและประเมินผลของนโยบายหรือมาตรการที่ออกไปแล้วอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

หากเราสามารถควบคุมและกำจัดปัญหาการให้สินบนแก่เจ้าพนักงานรัฐได้แล้ว ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมในการทำธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่สภาพแวดล้อมที่ใคร ๆ ก็มีโอกาสทำธุรกิจกับรัฐได้ หากมีความสามารถที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท และยังเป็นการต้านคอร์รัปชันเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ใครพร้อมแล้วที่จะทำงานในบริษัทที่มีความเป็นธรรม ที่ทุกคนเท่าเทียมและไม่สนับสนุนการคอร์รัปชัน มาค้นหาตำแหน่งงานในบริษัทเหล่านี้ได้เลยที่แอปพลิเคชั่น jobsDB แอปหางานที่จะให้คุณได้งานที่ใช่ในบริษัทที่คุณถูกใจ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด