6 Jars Money Management เทคนิคบริหารเงินพาธุรกิจฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ

6 Jars Money Management เทคนิคบริหารเงินพาธุรกิจฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ในยุคที่ข้าวยากหมากแพง เงินทองหายาก เรื่องออมเงินหรือการมีเงินเก็บสักก้อน แทบจะเป็นเรื่องที่ใครหลายคนได้แต่คิดฝัน เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาของเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของกิจการที่มีภาระเป็นการหาเงินทุนเพื่อมาใช้ในธุรกิจของตัวเอง จริงอยู่ที่การเป็นเจ้าของกิจการมีโอกาสได้เงินมากกว่าพนักงานประจำที่ได้เงินเดือน เพราะหาเงินมาได้เท่าไหร่ก็เป็นของตัวเองเท่านั้น แต่ความไม่แน่นอนของรายได้ บางเดือนมาก บางเดือนน้อย ถ้าไม่รู้จักเก็บออม และวางแผนการเงินให้ดี ก็อาจจะทำให้ลำบากได้ง่าย ๆ ในวันที่ธุรกิจเจอวิกฤตเศรษฐกิจแบบไม่คาดฝัน JobsDB เลยอยากชวนเจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจร้านค้าทั้งหลาย มาบริหารรายได้ให้กลายเป็นเงินเก็บ สร้างความมั่นคงมั่งคั่ง ด้วยเทคนิคบริหารเงิน 6 Jars Money Management

6 Jars Money Management เทคนิคบริหารเงินพาธุรกิจฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ

ทฤษฎี 6 Jarsหรือ6 Jars Money Managementเป็นทฤษฎีบริหารเงินด้วยการแบ่งเงินหรือรายได้ออกเป็น 6 กระปุก โดยมีสัดส่วนตามหัวข้อและความสำคัญของแต่ละเรื่องใหญ่ ๆ ในชีวิต ซึ่งทฤษฎีนี้คิดค้นขึ้นโดยที ฮาร์ฟ เอคเคอร์ (T. Harv Eker) นักธุรกิจมหาเศรษฐีที่เริ่มต้นชีวิตจากการเป็นคนธรรมดา ผู้เขียนหนังสือ“ถอดรหัสลับ สมองเงินล้าน” (Secrets of the Millionaire Mind)และเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก โดยวิธีที่เขาแนะนำที่สามารถเอามาปรับใช้กับเงินได้ของธุรกิจคือ ให้แบ่งรายได้ที่ได้รับมาออกเป็น 6 กระปุก ตามนี้

  1. กระปุกรายจ่ายประจำ (55%)

กระปุกนี้เป็นเงินที่จะไว้ใช้ไปกับค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ต้องจ่ายประจำ เช่น ค่าใช่จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ค่าสาธารณูปโภค ค่าอินเตอร์เน็ต ค่างวดเงินผ่อน ค่างวดเงินกู้ ค่าต้นทุนธุรกิจที่จะต้องใช้ในแต่ละเดือน ค่าเงินเดือนพนักงาน

  1. กระปุกการลงทุน (10%)

ลองหักเงินสัก 10% ไปลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการทำธุรกิจ และเพื่อให้เงินทำงานแทนคุณ เช่น การลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ซื้อกองทุน ทองคำ หรือพันธบัตร แต่ต้องให้แน่ใจว่าเงินจากกระปุกนี้จะเป็นเงินเก็บในรูปแบบของเงินลงทุนที่มีสภาพคล่องค่อนข้างสูง คุณสามารถดึงเงินส่วนนี้ออกมาใช้ได้เมื่อธุรกิจมีปัญหา

  1. กระปุกการศึกษา (10%)

เดี๋ยวนี้โลกหมุนเร็วมาก ความรู้ที่คุณมีวันนี้อาจจะกลายเป็นความรู้ที่ล้าหลังในอีก 3-4 ปีข้างหน้าก็ได้ ถ้าคุณยังอยากอยู่รอดในโลกธุรกิจอยู่ ต้องไม่ลืมที่จะพัฒนาความรู้ต่อยอดอยู่เรื่อย ๆ กันเงินรายได้ไว้สัก 10% เพื่อใช้ลงเรียนในคอร์สที่คุณสนใจ สัมมนาอบรม หรือลงเรียน workshop ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณ หรือจะเอาเงินส่วนนี้ไว้ใช้ซื้อหนังสือ หรือเดินทางไปดูงานต่างที่เพื่อเปิดมุมมองโลกธุรกิจของคุณก็ได้

  1. กระปุกการออมเงินระยะยาว (10%)

ตั้งเป้าหมายให้กับธุรกิจของคุณ เช่น คุณจะซื้อเครื่องจักรใหม่ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือจะขยายสาขาในอีก 3 ปีข้างหน้า แล้วกันเงินแต่ครั้งที่คุณได้รับมาสัก 10% เพื่อมาไว้ใช้จ่ายในรายจ่ายก้อนใหญ่ที่คุณได้ตั้งเป้าไว้ พอถึงเวลา 3 ปี 5 ปี ตามที่คุณตั้งใจไว้ จะได้สามารถซื้อเครื่องจักร ขยายสาขาได้โดยไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพิ่มภาระหนี้ในแต่ละเดือนให้กับธุรกิจของคุณ

  1. กระปุกให้รางวัลคนทำงาน (10%)

สำหรับกระปุกนี้ถ้าเป็นการบริหารเงินส่วนตัวสำหรับพนักงานออฟฟิศก็จะเรียกว่าเป็นกระปุกให้รางวัลตัวเอง แต่ถ้าเอามาปรับใช้กับการเก็บเงินสำหรับธุรกิจแล้วล่ะก็ เราขอปรับเป็น“กระปุกให้รางวัลคนทำงาน”แล้วกัน ลองกันเงินสำหรับเป็นรางวัลโบนัสให้กับพนักงานของคุณเองรวมถึงตัวคุณด้วย โดยเงินส่วนนี้ไม่ต้องสนใจว่าจะต้องเอาไปต่อยอดหรือทำประโยชน์อะไรให้กับธุรกิจ เอาเป็นว่าเป็นเงินกระปุกนี้เอาไว้ซื้อความสุขล้วน ๆ เช่น อาจจะเอาไว้เลี้ยงบริษัทตอนสิ้นเดือน หรือเป็นกองทุนเอาไว้พาบริษัทไปเที่ยวพักผ่อนประจำปี หรือเป็นโบนัสเพิ่มเติมประจำปีสำหรับพนักงานทุกคน เพื่อตอบแทนความทุ่มเทตั้งใจทำงาน และสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไป

  1. กระปุกแบ่งปันคืนสู่สังคม (5%)

คุณเอคเคอร์ ผู้คิดค้นทฤษฎีนี้เชื่อว่า คนเราจะมีความสุขได้ นอกจากเป็นผู้รับแล้วยังต้องรู้จักเป็นผู้ให้ให้เป็นด้วย เขาจึงแนะนำให้แบ่งเงินที่ได้ไว้ 5% สำหรับการทำบุญบริจาค ไม่ว่าจะบริจาคเป็นให้คนยากไร้ บริจาคให้มูลนิธิต่าง ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือ ทุนการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส บริจาคเป็นค่าอาหารสุนัขและแมวจรจัด หรือทำบุญกับวัดก็ได้ ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจหรือบริษัทขนาดเล็ก ก็ให้ถือว่าเงินส่วนนี้ใช้ทำ CSR ให้กับบริษัทของคุณไปในตัวได้เลย

ปริมาณสัดส่วนในการแบ่งเงินเข้ากระปุกต่าง ๆ ไม่ได้มีกฎบังคับตายตัว คุณสามารถเลือกเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับรายได้ รายจ่าย ความจำเป็นและขนาดธุรกิจของคุณได้ เช่น ถ้าเดือนนี้รายได้เข้ามามาก คุณอาจเพิ่มเปอร์เซ็นต์ให้กับกระปุกการลงทุนและเงินออมระยะยาว โดยตัดออกมาจากกระปุกรายจ่ายประจำก็ได้ ลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และขนาดธุรกิจของคุณดู เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และมีเงินทุนสำรองเพียงพอเพื่อให้สามารถผ่านทุกวิกฤตเศรษฐกิจไปได้อย่างสวยงาม

หากคุณกำลังมองหาพนักงานที่มีความสามารถและประสบการณ์รอบด้าน มาลงประกาศรับสมัครได้ที่แอปพลิเคชันหางาน JobsDB แหล่งรวมแรงงานคุณภาพสูง บัณฑิตจบใหม่ และพนักงานที่มากประสบการณ์ แอปหางานที่คนไทยนิยมเข้ามาค้นหาตำแหน่งงานสูงสุด

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a9%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e-provident-fund-vs/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด